25 ก.ย. 2023 เวลา 09:04 • หุ้น & เศรษฐกิจ

📌Decrypto: “รัฐบาลดิจิทัล”

🔹การเปลี่ยนแปลง หรือ Transformation เป็นการเปลี่ยนแปลงองค์กรจากสิ่งเดิม ๆ ไปสู่สิ่งใหม่ เช่น Digital Transformation คือ กระบวนการเปลี่ยนผ่านจากระบบการทำงานรูปแบบเดิมสู่การทำงานผ่านระบบดิจิทัล ซึ่งไม่เพียงเป็นแนวคิดการทำธุรกิจเท่านั้น
1
🔹แต่ยังถูกปรับใช้กับการบริการราชการอีกด้วย เช่น พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาลในปัจจุบัน มีนโยบาย รัฐบาลดิจิทัลเพื่อประชาชน เพิ่มความโปร่งใส และประสิทธิภาพของภาครัฐ มีแนวทางหลัก คือ รัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) สำหรับการบริการภาครัฐ ลดดุลพินิจของเจ้าหน้าที่โดยใช้เทคโนโลยี เช่น การใช้ Smart Contract รวมถึงสนับสนุน Central Bank Digital Currency (CBDC) เป็นต้น
1
🔹รัฐบาลดิจิทัล คือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการหรือให้บริการประชาชนผ่านเทคโนโลยีต่างที่เป็นที่แพร่หลายในปัจจุบันประกอบรวมเข้าเป็นเครื่องมือของรัฐในการบริหารรัฐกิจต่าง ๆ เช่น
🔹อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things : IoTs) เป็นเครือข่ายที่เปิดใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ โดยเชื่อมกันผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานของรัฐได้แทบทุกขั้นตอน เช่น ระบบบริหารเงินการคลังภาครัฐรูปแบบอเล็กทรอนิกส์ ของกระทรวงการคลัง ที่ได้เริ่มใช้งานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2547
2
🔹การประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud Computing) ซึ่งเป็นฐานบริการในการจัดเก็บ จัดการและประมวลผลข้อมูล เพื่อให้รัฐสามารถใช้งานเครือข่ายต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งหรือดูแลระบบเอง ซึ่งมีตัวอย่างในการใช้คือ หมอชนะ และไทยชนะ ที่ได้ถูกใช้งานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ที่ผ่านมา
🔹ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อการวิเคราะห์และการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ให้ง่ายต่อการนำไปใช้เพื่อให้รัฐสามารถวางแผนเชิงยุทธศาสตร์และกำหนดแนวนโยบายได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที่ และตอบสนองต่อความต้องการข้อประชาชนได้อย่างทั่วถึงและเหมาะสม
2
🔹ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เป็นการใช้เครื่องจักรในการจัดการปัญหาและสถานการณ์ต่าง ๆ รวมถึงการส่งและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างของเครื่องจักรเพื่อความสะดวกในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่น การบริหารจัดการการหางาน การศึกษา สวัสดิการสังคม ของประชาชน เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดผ่านกระบวนการทำงานเพื่อแก้ปัญหาที่ถูกกำหนดไว้ตามระดับหรือประเภทของข้อมูลที่มีอยู่
🔹ความปลอดภัยทางเทคโนโลยี (Security) เพื่อป้องกันการคุกคามทางเทคโนโลยีหรือการตรวจจับพฤติกรรมต่าง ๆ ที่น่าสงสัย รับมือและลดความเสี่ยงจากภัยทางไซเบอร์ที่อาจกระทบต่อความมั่นและเรียบร้อยของของประเทศ เช่น การเข้าระบบโดยใช้บริหารยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัล (National Digital ID: NDID) เพื่อรักษาความมปลอดภัยและความถูกต้องในการเข้าถึงข้อมูลและการใช้บริการของประชาชน
🔹บล็อกเชน (Blockchain) เป็นเทคโนโลยีสำหรับจัดเก็บและส่งข้อมูลโดยไม่มีตัวกลาง โดยข้อมูลเหล่านั้นไม่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้ โดยหากเป็นฐานข้อมูลสาธารณะทุกคนสามารถเข้าถึงและตรวจสอบได้โดยไม่ต้องมีหน่วยงานกลางเข้ามาทำหน้าที่ควบคุม
🔹โทรศัพท์มือถือและสื่อสังคมออนไลน์ (Mobile Technologies and Social Media) ที่ใช้เป็นสื่อกลางในการติดต่อ หรือประชาสัมพันธ์กับประชาชนผู้รับบริการ เช่น Facebook หรือ Line หน่วยงานของรัฐสามารถให้ข้อมูลติดต่อ เตือนภัย รับแจ้งข้อร้องเรียนต่าง ๆ จากประชาชนได้โดยตรง เช่น DLT Smart Queue ของกรมการขนส่งทางบก ที่ช่วยประชาชนในการจองคิวการทำใบขับขี่ การต่ออายุใบขับขี่ การชำระภาษี พร้อมทั้งสามารถเลือกวัน เวลาและสถานเข้ารับบริการได้ ลดความยุ่งยากของขั้นตอนการรับบริการ
1
🔹จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้นั้นเป็นเทคโนโลยีที่แพร่หลายและเป็นที่รู้จักการอยู่แล้วเพียงแต่ผู้กำหนดนโยบายหรือรัฐบาลนั้นจะมีแผนการปรับเปลี่ยนองค์กรหรือแนวการให้บริการประชาชนแบบไหนอย่างไร ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าองค์กรภาครัฐทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศชั้นนำของโลก เช่น จีน สิงคโปร์ หรือ เกาหลีใต้ เป็นต้น ต่าง Transform โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือหลักในการบริหารและบูรณาการข้อมูลภาครัฐและการทำงานให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกัน
1
🔹ประเทศไทยภายใต้รัฐบาลใหม่สามารถนำแนวทางจากประเทศอื่น ๆ มาประยุกต์ใช้กับการบริหารของประเทศเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของประชาชน เท่าทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วตามยุคสมัย และที่สำคัญคือการสร้างความมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โปร่งใส ตรวจสอบได้ อีกด้วย
🔹นายปรุงศักดิ์ เชาวน์ชาติ ทนายความหุ้นส่วนบริหาร กลุ่มสำนักงานกฎหมายอเบอร์
🔹อนุญาโตตุลาการผู้เชี่ยวชาญด้านสินทรัพย์ดิจิทัล ประจำสถาบันอนุญาโตตุลาการ (THAC)
#BigData #Decrypto #คลาวด์ #ปัญญาประดิษฐ์ #ระบบดิจิทัล #รัฐบาลดิจิทัล #อินเทอร์เน็ต #บล็อกเชน #Blockchain #อินโฟเควสท์ #infoquestnews
โฆษณา