Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยเรื่องหลากมุมกับ ภก.ปราโมทย์
•
ติดตาม
28 ก.ย. 2023 เวลา 22:23 • สุขภาพ
Tamiflu ขาด ใช้ Favi รักษาแทนได้ไหม?
ในช่วงหน้าฝนแบบนี้ คลินิก ARI ทุกที่คงจะหัวกะไดไม่แห้ง เคสทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ประเดประดังเข้ามาไม่ขาดสาย
แต่สิ่งที่น่ากลัวกว่าเคสเยอะ คือยาทางเลือกแรกในการรักษาไข้หวัดใหญ่อย่าง Oseltamivir หรือที่รู้จักกันในชื่อ Tamiflu ขาดตลาดและมีราคาสูงในช่วงนี้ ทำให้มีความพยายามในการหายาอื่นมาใช้แทน
ยา Oseltamivir เป็นยาในกลุ่ม nuraminidase inhibitors (NA) ยาจะไปแทรกซึมในกระบวนการสร้างไวรัส ที่จะสร้างชิ้นส่วนในเซลล์ก่อนที่จะประกอบร่างออกมา ทำให้ไวรัสตัวใหม่มีสภาพไม่สมบูรณ์ และตายไปในที่สุด
ทั้งนี้หากไม่มียา Oseltamivir ยาอื่นๆในกลุ่ม nuraminidase inhibitors (NA) มักมีปัญหาเกี่ยวกับการดูดซึมที่ไม่ดี ถูกกำจัดไว นอกจากนี้ การให้ยาในกลุ่ม nuraminidase inhibitors (NA) สามารถพัฒนาการดื้อยา mutation ได้ โดยการเปลี่ยนลำดับเบสในสาย DNA โดยมีรายงานว่าไวรัส H1H1 seasonal ตำแหน่งที่กลายพันธ์คือ NA H274Y พบรายงานครั้งแรกปี คศ. 2007-2008 ทำให้แม้แต่ Oseltamivir ก็อาจไม่ได้ผลในบางราย
จากเหตุดังกล่าว ทำให้มีการตีพิมพ์การศึกษา ล่าสุดในวาสาร Jounal Antimicrobial chemotherapy 2023 ฉบับเดือน พฤษภาคม โดยใช้ยาทั้ง 6 ตัว ศึกษาการตอบสนองต่อไวรัสที่มีไวรัส mutation ทั้ง 3 ตัว pA /I38x กับ NA -R512k พบว่า Favipiravir ใช้ได้ผลดี เมื่อเทียบกับยาในกลุ่ม nuraminidase inhibitors (NA) โดยการศึกษาในญี่ปุ่นพบว่า Favipiravir เหนือกว่า Oseltamivir ในหนูทดลอง ส่วนในอเมริกาพบว่า Favipiravir มีอาการดีขึ้นหลังได้ยา 14.4 ชม. เทียบกับกลุ่มควบคุม และลดปริมาณไวรัสได้มากกว่า
ส่วนในจีนมีการศึกษาการใช้ Favipiravir ร่วมกับ Oseltamivir ในการรักษาไข้หวัดใหญ่ พบว่า ไม่ได้ช่วยลดไวรัสเมื่อเทียบกับ oseltamivir เดี่ยวๆและ ไม่ใช่ป้องกันการเพิ่มขึ้นของยีนที่กลายพันธุ์
ขนาดยาที่ใช้ (Favipiravir 200 mg tab)
การศึกษาในญี่ปุ่น:
Day 1: 1,600 mg(8 เม็ด) วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น (3,200mg/day)
Day2-5: 600mg(3 เม็ด) วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น (1,200mg/day)
การศึกษาในสหรัฐอเมริกา:
Day 1: 1,800 mg(9 เม็ด) วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น (3,600mg/day)
Day2-5: 800mg(4 เม็ด) วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น (1,600mg/day)
ข้อควรระวัง
- Favipiravir อาจเพิ่มระดับกรดยูริคในเลือด
- ไม่แนะนำในหญิงตั้งครรภ์ (teratogenic effect)
อ้างอิง
https://academic.oup.com/jid/article/226/10/1790/6568151
การแพทย์
ความรู้รอบตัว
ข่าวรอบโลก
บันทึก
7
6
6
7
6
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย