Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ผืนป่า และ ผองเพื่อน
•
ติดตาม
4 พ.ย. 2023 เวลา 11:18 • หนังสือ
อิทธิบาท ข้อที่ 4 : วิมังสา
วิมังสา ก็คือการพิจารณา ค้นคว้า พิสูจน์ ทดลอง เป็นภาษาวิทยาศาสตร์
สมัยนี้ก็พูดว่าค้นคว้าพิสูจน์ทดลอง ที่เรียกว่าวิจัย อะไรกันนี่ ซึ่งหมายความถึงวิมังสาในที่นี้
การค้นมาแล้วก็พิสูจน์พบแล้วก็ทดลองนี่เรื่องทางฝ่ายวัตถุ เป็นปัญญาทางฝ่ายวัตถุ เหมือนที่ใช้กันอยู่ในวงการวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน.
แต่ที่เป็นเรื่องของพุทธศาสนา ก็ใช้หลักอันนั้นแหละ ค้นคว้า เอามาพิสูจน์ แล้วก็ทดลอง แต่วัตถุที่ถูกกระทำนั้นไม่ใช่วัตถุ เป็นเรื่องของนามธรรม เป็นเรื่องเกี่ยวกับกิเลสและโพธิ ไม่ใช่วัตถุที่จะสร้างจรวดหรือสร้างปรมาณู มันเป็นเรื่องทางนามธรรมแล้วยังเป็นเรื่องทางสติปัญญาไม่ใช่เรื่องสมาธิ
สมาธิเป็นเพียงกำลังงานไม่เกี่ยวกับความรู้ ส่วนวิมังสานี้ เป็นเรื่องของความรู้ แล้วมันก็เลยเป็นกำลังขึ้นมาอีกชนิดหนึ่งคือเป็นกำลังปัญญา
วิมังสาที่เป็นเรื่องทิฏฐิที่ถูกต้อง คือเป็นสติปัญญา , เป็นปัญญา ถ้าไม่อย่างนั้น ไม่เรียกว่าวิมังสาของอิทธิบาทแม้ว่าจะพิจารณาจะสอดส่องอยู่อย่างไร , แต่ถ้ามันผิดแล้วก็ใช้ไม่ได้ มันยังไม่เป็นวิมังสาขึ้นมา
➡️ วิมังสาแปลว่า ความสอดส่องจริง และเป็นการสอดส่องที่ถูกต้อง จึงจะเรียกว่า วิมังสา
ถ้ากำลังโง่ กำลังผิดอยู่ด้วยความคิด ความเห็นแล้ว มันก็ไม่ใช่วิมังสา จะเรียกว่าวิมังสาไม่ได้ ต้องเรียกว่ามิจฉาวิมังสาไปเลย แล้วมันก็เป็นไปไม่ได้ เพราะคำว่าวิมังสานี้เขาสงวนไว้ใช้แต่ในทางถูกต้อง
ฉะนั้นต้องเป็นเรื่องของปัญญา ปัญญาจริงมันผิดไม่ได้ เราจึงไม่มีคำพูดว่ามิจฉาปัญญา แต่เรามีคำพูดว่ามิจฉาทิฏฐิ - มีความเห็นผิด
ถ้ามีปัญญาแล้ว มันผิดไม่ได้แล้วไม่ต้องพูดถึงว่ามีปัญญาผิด
วิมังสานี้เหมือนกัน ความถูกต้องทางทิฐิและปัญญาเรียกว่าวิมังสา จะได้มาอย่างไร : มันก็ต้องได้มาด้วยการพยายาม ทำการสอดส่องพิจารณาด้วยปัญญาอยู่เสมอ
ฉะนั้นวิมังสา จึงหมายถึงการพิจารณาสอดส่องอยู่เสมอ นั่นแหละ คือการใช้กำลังปัญญา
จะเอาอะไรมาสอดส่องปัญญา.. ก็ต้องเอาปัญญา
เพราะฉะนั้น มันก็ต้องมีปัญญาที่จะใช้เป็นกำลังปัญญา ถ้าเรามีการใช้กำลังปัญญา อยู่อย่างถูกต้องเสมอ มันก็เป็นอันดับสุดท้ายของความสำเร็จของอิทธิบาท
#โพธิปักขิยธรรม
📖 หนังสือชุด: พุทธทาสบรรณาลัย
#ท่านพุทธทาสภิกขุ
#สวนโมกขพลาราม
#หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ
#ดุลยพากย์อนุสรณ์ อันดับที่ ๖๐
#ธรรมโฆษณ์
ข้อคิด
หนังสือ
สวนโมกข์
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย