6 ต.ค. 2023 เวลา 06:44 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

ขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ ! ดาวพุธ หดตัว เนื่องจากความร้อนภายใน

แม้ในวงการวิทยาศาสตร์จะรับรู้ว่า “ดาวพุธ” ดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ หดตัวมาเป็นเวลาหลายพันล้านปีแล้ว แต่นักวิทยาศาสตร์ได้หลักฐานใหม่ว่า “ดาวพุธ” กำลังหดตัวเรื่อย ๆ ทำให้ดาวเล็กลง ๆ เนื่องจากได้รับความร้อนจาก “ดาวฤกษ์” มากจนทำให้สูญเสียความร้อนภายในดาวตัวเองสู่อวกาศ ส่งผลให้ หิน (และโลหะภายใน) ในดาวจะมีปริมาตรหดตัวตามไปด้วย รวมถึงทำให้เกิด “Scarp” (สการ์ป) หรือรอยบนผิวดาว
6
ทั้งนี้ “ภารกิจ Mariner 10” โดย “ยาน Mariner 10” ขององค์การนาซา (NASA) ได้ค้นพบหลักฐานแรกของการหดตัวของ “ดาวพุธ” ในปี 2517 (ปี ค.ศ. 1974) ว่า เกิดจากการที่แกนในของ “ดาวพุธ” เย็นตัวลง ส่งผลให้สิ่งต่าง ๆ หดตัวและมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ โดยลองนึกภาพ “ผิวเปลือกโลก” ซึ่งคลุมแกนโลกด้านใน เมื่อแกนด้านในเล็กลง สิ่งที่คลุมก็มีพื้นที่ให้คลุมน้อยลง จึงหดตัวลงตามแกนใน อันส่งผลให้พื้นผิวเกิดรอยย่น ที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า “สการ์ป” (เหมือนรอยย่นบนผิวแอปเปิลที่แห้งและเหี่ยว)
1
ศาสตราจารย์ David Rothery จาก Open University สหราชอาณาจักร ได้อธิบายว่ารู้ได้อย่างไรว่า “ดาวพุธ” หดลง ก็คือ “ดิน” ที่ตกลงมาระหว่างรอยเลื่อน 2 จุด เมื่อเปลือกโลกของ “ดาวพุธ” ถูกดันจากทั้ง 2 ข้าง จะทำให้รอยย่นมีความสูงมากขึ้น อันจะส่งผลให้ดินที่อยู่ตามแนวกลิ้งตกลงมานั่นเอง
2
มองให้เห็นภาพด้วยการจินตนาการถึง “แอปเปิล” ที่แห้งและเหี่ยว เมื่อเปลือกหดไปตามแกนโลกด้านในที่เล็กลง รอยย่นจะถูกดันมากขึ้นจากทั้งสองด้าน คล้ายกับผ้าปูโต๊ะที่ถูกดันทั้งสองด้าน รอยย่นจะโป่งพองออกมา (นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า “Grabens” หรือกราเบนส์) ซึ่งสิ่งนี้กำลังเกิดกับ “ดาวพุธ”
เพื่อไขความกระจ่างเรื่องนี้ให้มากยิ่งขึ้น “องค์การอวกาศยุโรป” (European Space Agency: ESA) ได้วางแผนเตรียมส่งยาน BepiColombo ไปสำรวจ “ดาวพุธ” ในปี 2025 เพื่อหาคำตอบว่า ณ ตอนนี้ ดาวพุธ มีขนาดเล็กเพียงใด
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : https://shorturl.at/egu56, https://shorturl.at/dCEI2
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci And Tech
.
โฆษณา