Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Thairath Online - ไทยรัฐออนไลน์
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
18 ต.ค. 2023 เวลา 09:00 • ข่าว
อย่างพลาดชม ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ร่องรอยของ "ดาวหางฮัลเลย์" คืน 21 ต.ค. นี้
ชวนคนรู้ใจแหงนมองฟ้า รับชม "ฝนดาวตกโอไรออนิดส์" ร่องรอยของ "ดาวหางฮัลเลย์" ตั้งแต่คืน 21 ต.ค. จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 22 ต.ค. 66
วันที่ 18 ตุลาคม 2566 เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า คืน 21 - รุ่งเช้า 22 ตุลาคมนี้ มีฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ร่องรอยของดาวหางฮัลเลย์ เมื่อครั้งเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ เริ่มสังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 22.30 น. ของวันที่ 21 ตุลาคม เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 22 ตุลาคม บริเวณกลุ่มดาวนายพราน (Orion) อัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวง/ชั่วโมง หากฟ้าใสไร้ฝน ลุ้นชมความสวยงามได้ทั่วประเทศ
ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ เกิดจากโลกเคลื่อนที่ตัดผ่านเส้นทางการโคจร ของดาวหางฮัลเลย์ (1P/Halley) ที่หลงเหลือเศษฝุ่น และวัตถุขนาดเล็กจำนวนมาก ทิ้งไว้ในวงโคจร ขณะเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ เมื่อปี พ.ศ. 2529 แรงโน้มถ่วงของโลก จึงดึงดูดเศษฝุ่น และวัตถุดังกล่าวเข้ามาเสียดสีกับชั้นบรรยากาศโลก เกิดการลุกไหม้ เห็นเป็นแสงวาบคล้ายลูกไฟพุ่งกระจายตัวออกมา บริเวณกลุ่มดาวนายพราน มีสีเหลืองและเขียว สวยงามพาดผ่านท้องฟ้า
สำหรับฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ปี 2566 ในคืนดังกล่าว ดวงจันทร์จะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 23.30 น. หลังจากนั้นจะไร้แสงจันทร์รบกวน จนถึงรุ่งเช้าของวันถัดไป อีกทั้งยังตรงกับคืนเสาร์-อาทิตย์พอดี จึงเป็นโอกาสดีที่จะชมฝนดาวตก วิธีการสังเกตที่ดีที่สุด คือมองด้วยตาเปล่า เลือกสถานที่ที่ปราศจากแสงรบกวน หรือห่างจากแสงเมืองให้มากที่สุด จะทำให้เห็นดาวตกได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
แม้ว่าฝนดาวตกโอไรออนิดส์ จะมีอัตราการตกสูงสุดเฉลี่ย เพียงประมาณ 20 ดวง/ชั่วโมง แต่ก็เป็นฝนดาวตกที่อยู่บริเวณกลุ่มดาวนายพราน ซึ่งเป็นกลุ่มดาวที่สังเกตได้ง่าย และมีดาวฤกษ์ที่สว่างเด่นอีกหลายดวง ให้ชม อาทิ ดาวบีเทลจุส (สีส้มแดง) ดาวไรเจล (สีฟ้าขาว) รวมถึง ดาวซิริอุส ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้าในกลุ่มดาวหมาใหญ่ใกล้ๆ กัน นอกจากนี้ หากบันทึกภาพปรากฏการณ์ฝนดาวตกในคืนดังกล่าว อาจได้ภาพของดาวตก ที่เคียงคู่ดวงดาวที่สวยงามอันดับต้นๆ ของท้องฟ้าก็เป็นได้
ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ เป็นปรากฏการณ์ที่สังเกตได้ในช่วงวันที่ 2 ตุลาคม - 7 พฤศจิกายน ของทุกปี เพราะฉะนั้นเราสามารถรอชมความสวยงามได้ทุกปี แต่หากเป็น ดาวหางฮัลเลย์ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของฝนดาวตกนี้ จากการคำนวณคาดว่าดาวหางจะโคจรเฉียดดวงอาทิตย์อีกครั้งในช่วงกลางปี พ.ศ. 2604 ดังนั้น เราน่าจะได้เห็นดาวหางกันอีกครั้งในอีก 38 ปีข้างหน้า
ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
อ่านเพิ่มเติม
thairath.co.th
อย่างพลาดชม ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ร่องรอยของ ”ดาวหางฮัลเลย์” คืน 21 ต.ค. นี้
ชวนคนรู้ใจแหงนมองฟ้า รับชม ”ฝนดาวตกโอไรออนิดส์” ร่องรอยของ ”ดาวหางฮัลเลย์” ตั้งแต่คืน 21 ต.ค. จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 22 ต.ค. 66
บันทึก
4
2
4
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย