2 พ.ย. 2023 เวลา 14:37 • ไลฟ์สไตล์
กรุงเทพมหานคร

AI ถูกใช้ฆ่ามนุษย์ถ้าไอแซค อาซิมอฟ ยังอยู่คงร้องไห้

😭ไอแซค อาซิมอฟ เป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงมากเขาเป็นคนรัสเซียที่อพยพมาปักหลักจนกลายเป็นประชากรของสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่นู้น.ปี 1923
ระหว่างที่ใช้ชีวิตในสหรัฐอเมริกา เขาเขียนนิยายวิทยาศาสตร์มากมาย(หลายร้อยเล่ม)
📚หนังสือที่ยิ่งใหญ่และเป็นตำนาน เป็นต้นแบบของนิยายวิทยาศาสตร์อื่น ๆ ก็คือ เรื่อง "Foundation" หรือชื่อไทยว่า "สถาบันสถาปนา"
(มีแปลไทย ขายดีมาก คนอ่านเยอะมากแน่นอนที่บ้านป้ามีหลายปก)
นิยายวิทยาศาสตร์ เรื่อง “Foundation”เป็นหนังสือเล่มแรกในนิยายชุดชื่อเดียวกัน แต่ตอนอื่นๆ มีชื่ออื่น(อ้างอิงด้านท้ายบทความ)
อธิบายอีกที คือ สถาบันสถาปนา เป็นการตีพิมพ์รวมเรื่องสั้นที่มีเนื้อหาต่อเนื่องกันจำนวน 5 เรื่อง
ตีพิมพ์ครั้งแรก ค.ศ. 1951 นั่นคือ 70+ ปีที่แล้ว
📚ดีหรือดังอย่างไร
ก็ต้องไปดูซีรีส์ไซไฟ เรื่อง Foundation ใน Apple TV+ ที่ออกฉายช่วง 2 ปีก่อน ราวกันยายน 2021
เป็นหนังที่กล่าวขวัญถึงกันอย่างมากเป็นปรากฏการณ์กันล่ะค่ะ
วันนี้ขอเล่าเรื่องที่ติดใจ จุดสำคัญเดียวก่อนคือ”กฏของ AI ซึ่งมีอยู่สามบวก1 ข้อค่ะ
🪄กฎ 3 ข้อของหุ่นยนต์ (Asimov’s Three Laws of Robotics)
คนที่เคยดูหนัง อ่านนิยายไซไฟเกี่ยวกับหุ่นยนต์ หรือปัญญาประดิษฐ์ หลาย ๆ คนน่าจะเคยได้ยินเรื่องกฎของหุ่นยนต์มาบ้าง เข้น ห้ามฆ่าคน ห้ามทำร้ายมนุษย์..รู้มั้ยคะว่า จริง ๆ แล้ว กฏนี้มาจากไอเดียของ"อาซิมอฟ" นั่นเอง
1
👉อาซิมอฟคิดกฎ 3 ข้อขึ้นเพื่อใช้ในผลงานของตนในปี 1950 ในหัวข้อชื่อ "I, Robot"
โดยเขาใส่ไว้ครั้งแรกในเรื่องสั้นชื่อ "Runaround"
กฏสำคัญนั้น มีใจความดังนี้
1.หุ่นยนต์ไม่อาจกระทำอันตรายต่อมนุษย์ หรือนิ่งเฉยปล่อยให้ผู้ที่เป็นมนุษย์ตกอยู่ในอันตราย
2.หุ่นยนต์ต้องเชื่อฟังคำสั่งจากมนุษย์ เว้นแต่คำสั่งนั้นขัดแย้งกับกฎข้อแรก
3.หุ่นยนต์ต้องปกป้องสถานะความมีตัวตนของตนไว้ ตราบเท่าที่การกระทำนั้นไม่ขัดแย้งต่อกฎข้อแรกหรือกฎข้อที่สอง
และ อาซิมอฟ ได้เพิ่มกฎอีกข้อในภายหลัง นั่นคือ
กฎข้อ 0 หุ่นยนต์มิอาจกระทำอันตรายต่อมนุษยชาติ หรือนิ่งเฉยปล่อยให้มนุษยชาติตกอยู่ในอันตรายได้ (โดยทั้งกฎข้อ 1-3 จะต้องไม่ขัดกับกฎข้อ 0)
หันมาดูข่าวสงครามยุคนี้แล้วเศร้า
มีแต่พาดหัวว่าแต่ละฝ่ายต่างถล่มกันด้วย “โดรน”
🦾🦿โดรน ก็คือ หลาน เหลน หรือ โหลน ของหุ่นยนต์ที่ บิดาแห่งหุ่นยนต์หรือ ไอแซค อาซิมอฟ นั่นเอง เป็นคนจินตนาการมันขึ้นมาคนแรก ๆ
1
หั่นยนต์ หรือ AI ถูกนำมาใช้ฆ่าและทำลายมวลมนุษยชาติ คงเป็นไปตามเรื่องที่เขาเขียนว่า
..นับจากนี้ไป โลก(หรือมนุษยชาติ)ก็จะล่มสลาย
1
.. ต้องรอปรากฏการณ์ หรือกลุ่มคนเหล็ก/ The Terminator, ชาวสตาร์วอรส์ เจได..มากอบกู้โลก
1
..
ถ้า..ไอแซค อาซิมอฟ ยังอยู่ เขาคงร้องไห้แน่ๆ
ป้าแน่ใจ
ถ้า ไอแซค ผู้ให้กำเนิด หุ่นยนต์ยังอยู่ เขาคงร้องไห้ ป้าแน่ใจ Credit Picture : Isac Asimov, 1969 ภาพจาก Boston Public Library
ขอขอบคุณภาพ
1. ภาพปก ไอแซค อาซิมอฟ (Isaac Asimov) ปี1985 โดย Yousuf Karsh
2. ภาพ Isac Asimov ปี1969 ภาพจาก Boston Public Library
อ้างอิง-เรื่องสั้นในเล่ม และรายชื่อเรื่องสั้นทั้ง 5 เรื่อง จากวิกิพีเดีย
The Psychohistorians
The Encyclopedists
The Mayors
The Traders
The Merchant Princes
สถาบันสถาปนาฉบับภาษาไทยแปลโดยบรรยงก์ ได้รับการตีพิมพ์ 5 ครั้งจากสำนักพิมพ์ต่าง ๆ ตามนี้..
สำนักพิมพ์คอลเลจบุ๊ค (พ.ศ. 2518) ในชื่อ "Spectrum 4:สถาบันสถาปนา"
สำนักพิมพ์ออบิท (พ.ศ. 2525) ในชื่อ "โลกอนาคต:สถาบันสถาปนา"
สำนักพิมพ์ไต้ฝุ่น (พ.ศ. 2532) ในชื่อ "โลกอนาคต:สถาบันสถาปนา"
สำนักพิมพ์สร้างสรรค์-วิชาการ (พ.ศ. 2539) ในชื่อ "โลกอนาคต:สถาบันสถาปนา"
สำนักพิมพ์โปรวิชั่น (พ.ศ. 2545) ในชื่อ "โลกอนาคต:สถาบันสถาปนา"
โฆษณา