9 พ.ย. 2023 เวลา 10:50 • ประวัติศาสตร์

How to เลือกหมอนไว้ตีหัวผัว ฉบับหมอนจีนโบราณ | โบราณคดีจีน x Tutustory

สามีไม่กลับบ้าน สามีทำผิด อย่าไปเอาไม้ตีนะ มันรุนแรงเกินไป เพจเราไม่ขอส่งเสริมความรุนแรงในครอบครัว!
รักกันไว้เลือกหมอนไปตีหัวน่าปลอดภัยกว่า (เหรอ?) แล้วถ้าเอาหมอนจีนโบราณสมัยต่างๆ มาฟาดเล่นด้วยความรัก ชิ้นไหนจะอ่อนโยนหรือจะดุดันกว่ากัน มาลองดูไปด้วยกันเลย
## เลือกหมอนยังไง
จะเลือกหมอนดีๆ มาดูแลสามีสุดที่รักเราก็ต้องพิถีพิถันกันสักหน่อย หมอนจีนโบราณมีหลายประเภทถ้าจะให้แบ่งตามความแข็ง ขอแบ่งง่ายๆ เป็นแค่
- หมอนนิ่ม (软枕 | Ruǎnzhěn) ถึงจะบอกว่านิ่มก็ยังแน่นกว่าปัจจุบันอยู่นะ ลองจินตนาการถึงหมอนแข็งๆ ยุปัจจุบันละกัน
- หมอนแข็ง (硬枕 | Yìngzhěn) แข็งสมคำจริงๆ แหละครับ แข็งชนิดที่บางทีก็สงสัยว่านอนแล้วไม่เจ็บหัวกันบ้างรึไงนะ
ยังมีเรื่องรูปทรง และ วัสดุที่ใช้สร้างอีกนะ เลยจะกำหนดความอันตรายให้ตามนี้
- 1 เบาๆ แสดงความรักแหละ
- 2 หน่วงๆ มึนนิดหน่อย พอหมั่นไส้
- 3 เจ็บๆ คันๆ เริ่มเจ็บตามแรงโกรธแล้ว
- 4 โกรธกันหนักแหละ เลือดออกเป็นทาง
- 5 เอาให้ไม่ได้เกิด ชาตินี้ไม่ต้องเผาผีกัน!
เดี๋ยวไปให้ดูตามทีรูปกันดีกว่า ว่าอันไหนจะเหมาะขนาดไหน
📌 ตีหัวด้วยหมอนหยก: หรูหรา แต่หมอนอาจจะแตกก่อนแถมอาจมีวิญญาณติดตาม
แรกสัมผัสอาจจะเย็นเพราะทำจากหยก แต่หลังจากนั้นความดุดันจะเริ่มเข้ามาให้เลือดไหลออกเป็นทาง หมอนน่าจะแตกหลังตีได้ครั้งเดียว แล้วน่าจะมีวิญญาณตามคิดเพราะจริงๆ แล้วเขาเอาไว้ใส่อยู่ในหลุมศพ
👻 ระดับความอันตราย: 4 โกรธกันหนักแหละ เลือดออกเป็นทาง แถมยังอยากดูว่าชีวิตจะมีผีตามด้วยไหม
ยุค: ก่อนประวัติศาสตร์
วัสดุ: หิน หรือ หยก
ประเภท: 硬枕 หมอนแข็ง
รูปทรง: วงรีแบบตกแต่ง รูปหงส์ (หรือนกเฟิ่ง) 凤鸟形
สถานที่พบ: แหล่งโบราณคดีในวัฒนธรรมหงซาน มณฑลเหลียวหนิง
#tutustory #图图是道 #ประวัติศาสตร์จีน #โบราณวัตถุ
📌 ตีด้วยหมอนสำริดทรงระนาด: ดุดันไม่เกรงใจใครอย่าได้เจอกันอีก แต่โอบรับอย่างอ่อนโยนด้วยมุมโค้งมน
โกรธขั้นสุด อย่าได้เจอกันอีกเลย เลือกรูปกระทิงประดับบ่งบอกถึงความดุดันต้องสื่อออกไปให้สุด เลือดจะไหลเป็นทางอย่าได้เจอกันอีก หลังจากตีเสร็จก็เอารองหัวให้เขาจะได้โอบรับสรีระ
🚨 ระดับความอันตราย: 5 เอาให้ไม่ได้เกิด ชาตินี้ไม่ต้องเผาผีกัน!
ยุค: 西汉 ฮั่นตะวันตก
วัสดุ: สำริด
ประเภท: 硬枕 หมอนแข็ง
รูปทรง: ทรงระนาด
สถานที่พบ: สุสานลี่เจียซาน มณฑลยูนนาน
📌 ตีด้วยหมอนปักรูปไก่: อ่อนโยนรับอรุณ ไว้ปลุกยามเช้าแบบหมั่นเขี้ยว
สามีไม่ตื่น หนีไปไหนกลับบ้านมาดึกๆ แล้วตอนเช้าก็มาตื่นสายอีก จับหูหมอนแล้วฟาดไปจังๆ ไม่เจ็บหรอก แค่หน่วงๆ มึนนิดหน่อย ก็แบบรักแหละ
🥴 ระดับความอันตราย: 2 หน่วงๆ มึนนิดหน่อย พอหมั่นไส้
ยุค: 汉 ฮั่น
วัสดุ: ผ้า
ประเภท: 软枕 หมอนนิ่ม
รูปทรง: รูปไก่ (เขาว่างั้น)
ระดับความอันตราย: 2 หน่วงๆ มึนนิดหน่อย พอหมั่นไส้
สถานที่พบ: หลุมฝังศพหมายเลข 431 แหล่งโบราณคดีหนีหยาหมายเลข 1 อำเภอเฟิงเสี้ยน เขตปกครองตนเองซินเจียง
📌 ตีด้วยหมอนรูปพระตำหนัก: ตีทั้งทียกย่องให้เกียรติสามี เอาแบบอลังการไปเลย
หมอนเคลือบขาว ฐานทรงตำหนัก ชิ้นนี้แสดงถึงความหรูหราสมฐานะเชิดชูเกียรติวงศ์ตระกูล เป็นคุณชายคุณหนูผู้สูงศักดิ์ทั้งที วัสดุกระเบื้องเคลือบพอเอาไปตีให้หัวแตกแล้ว ยังเอาเศษไปโยนต่อได้อีกเพราะหมอนก็แตกไปตามหัวด้วย 😆
😱 ระดับความอันตราย: 4 โกรธกันหนักแหละ เลือดออกเป็นทาง
ยุค: 五代 ห้าราชวงศ์
วัสดุ: กระเบื้องเคลือบ / เครื่องเคลือบ
ประเภท: 硬枕 หมอนแข็ง
รูปทรง: แกะสลัก หรือ ขึ้นทรงพิเศษ (สถานที่)
สถานที่พบ: จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้
📌 ตีด้วยหมอนกลีบดอกไม้: อ่อนหวานดั่งกุลสตรี เหวี่ยงเป็นจานบินก็น่าจะได้
อยากแสดงความเป็นกุลสตรีอ่อนหวานก็ใช้หมอนใบนี้ ทำท่าเขินอายสักหน่อยเหวี่ยงออกไปเป็นจานร่อนให้โดนหัวเพื่อเตือนสติ เลือดอาจจะออกเล็กน้อยเป็นเส้นโค้งแนวโปรเจกไทน์ให้ดูแล้วสวยงามอ่อนหวาน แต่หลังจากนั้นหมอนน่าจะกระเด็นไปแตกที่ไหนก็ไม่รู้แหละ
😱 ระดับความอันตราย: 4 โกรธกันหนักแหละ เลือดออกเป็นทาง
ยุค: 宋 ซ่ง
วัสดุ: กระเบื้องเคลือบ / เครื่องเคลือบ
ประเภท: 硬枕 หมอนแข็ง
รูปทรง: ทรงกลีบดอกไม้ มีฐาน
สถานที่พบ: เตาสือโจว
📌 ตีด้วยหมอนธรรมดา: ด้วยความรักและห่วงใย เพื่อสวัสดิภาพของคุณสามี!
ฟาดเบาๆ ด้วยความรักความห่วงใย หมั่นไส้นักก็ฟาดไปอีกสัก 30 ที จนกว่าจะยอมแพ้ จับถนัดมือปลอดภัยเป้นตัวเลือกที่ดีที่สุดแหละ
🥰 ระดับความอันตราย: 1 เบาๆ แสดงความรักแหละ
ยุค: ปัจจุบัน
วัสดุ: ผ้า
ประเภท: 软枕 หมอนนิ่ม
รูปทรง: สีเหลี่ยมผืนผ้า
สถานที่พบ: ตามห้องนอนทั่วไป
📌 ยังมีหมอนจีนโบราณอีกเยอะ ตามไปดูต่อได้ที่เพจโบราณคดีจีนเลย
😏 How to เลือกหมอนไว้ตีหัวผัว ฉบับหมอนจีนโบราณ | โบราณคดีจีน x Tutustory
ไร้สาระกันมาตั้งนาน ต้องขอบคุณเพจโบราณคดีจีนที่ช่วยให้ข้อมูลและรูปภาพหมอนจีนโบราณสวยๆ อยากอ่านเรื่องเกี่ยวกับหมอนจีนโบราณพร้อมภาพอีกมหาศาล ไปติดตามได้ที่เพจโบราณคดีจีนกันเลย
ทางไปเพจโบราณคดีจีน: https://www.facebook.com/ChineseArchaeology.Thai
โฆษณา