10 พ.ย. 2023 เวลา 03:13 • การศึกษา

หนังสือเล่มเเรกที่วัยรุ่นทุกคนควรอ่านเพื่อไม่ให้หลงทางไปตลอดชีวิต

ถ้าผมย้อนกลับไปอดีตในวัยมัธยมเเล้วสามารถมอบหนังสือได้เเค่เล่มเดียว ผมคงให้หนังสือเล่มนี้กับตัวเอง
ผมยังจำความรู้สึกเเรกได้ดีตอนเลือกคณะเเละสาขาของมหาลัยต่างๆตอนสอบเข้า เลือกถูกเเล้วป่าววะ? ถ้าเลือกผิดเเล้วจะเสียใจมั้ย? ทุกวันนี้ผมก็ไม่ได้เสียใจกับสิ่งที่ผมเลือกเเต่ผมรู้เเน่ๆว่ามันมีคณะที่ใช่กว่า หลังจากอ่านหนังสือSkill before Passion ก็ช่วยมอบความเชื่อใหม่ๆที่ทำให้ผมเข้าใจว่าสุดท้ายเเล้วเราจะหางานที่รักเเละมีความสุขกับมันได้ยังไง
โดยมีกฏสี่ข้อที่วันนี้ผมจะมาสรุปให้ฟัง
กฎข้อที่1:อย่าทำในสิ่งที่รัก
“ทําในสิ่งที่ตัวเองมีเเพชชั่น แล้วชีวิตจะมีความสุข” คำกล่าวยอดฮิตที่ได้ยินทุกที่
ปัญหาคือคนส่วนใหญ่ไม่ได้มีสิ่งที่ตัวเองหลงใหลตั้งเเต่เเรกอยู่เเล้ว การตามหาสิ่งที่ตัวเองหลงใหลจะทำให้ตัวเราไม่เก่งสักอย่างเลยเพราะว่าตัวเราคอยเเต่ตามหาสิ่งที่ตัวเองะมีเเพชชั่นทำให้ไม่ได้ใช้เวลานานมากพอที่จะทำให้เก่งสิ่งนั้น
จากงานวิจัยยังพบว่าคนที่ลงเอยรักงานที่ตัวเองทำส่วนนึงมาจากการที่คนๆนั้นมีศักยภาพในการทำงานนั้นๆ
กฎข้อที่2:เก่งจนใครไม่กล้าเมิน
ในเมื่อ”ทำในสิ่งที่รัก” ไม่ใช่คำเเนะนำที่ดีเเล้วอะไรคือสิ่งที่เราควรทำ
จากทฤษฎีอุปสงค์-อุปทานกล่าวว่าการที่จะหางานที่มีองค์ประกอบที่ยอดเยี่ยม(ใช้ความคิดสร้างสรรค์,การสร้างผลกระทบ, อำนาจในการควบคุม)จะต้องเเลกกับมต้นทุนทางอาชีพซึ่งก็คือความสามารถของอาชีพนั้นๆเเต่การที่จะมีต้นทุนทางอาชีพที่สูงก็ต้องมีกรอบคิดเเบบช่างฝีมือซึ่งให้ความสำคัญในการพัฒนาตนเองทำให้ตัวเราเก่งจนใครก็ไม่กล้าเมิน
สิ่งเหล่านี้จะไม่ได้ผลหากงานที่เลือกเป็นงานที่ไม่ใช่ทักษะที่หายาก,มีคุณค่าเเละไม่สามารถต่อยอกทักษะได้
กฎข้อที่3:ปฏิเสธการเลื่อนตำเเหน่ง
ในเมื่อคุณมีต้นทุนทางอาชีพที่มากพอเเล้ว เเล้วคุณควรนำไปลงทุนกับอะไร
ปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้คนรักในงานที่ตัวเองทำคือการมีอำนาจในการควบคุม การมีอำนาจในการควบคุมทำให้ตัวเรามีสิทธิในการต่อรองกับเจ้านายมากขึ้นในการทำให้มีอิสระในการทำงาน กลับกันถ้าเราเลือกขึ้นตำเเหน่ง อิสระในตัวเราอาจจะน้อยลงเเละไม่สามารถที่จะปฏิเสธงานได้
สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือการต่อต้านจากเจ้านาย เจ้านายจะพยายามต่อต้านเพราะไม่เป็นผลดีต่อกำไรบริษัทเเต่ว่าต้องระวังว่ามาจากการที่ตัวเรามีต้นทุนทางอาชีพที่มากหรือ เพราะว่ามีต้นทุนทางอาชีพไม่มากพอ
วิธีการเเยกง่ายๆคือสิ่งที่ตัวเราทำคนอื่นเต็มใจจ่ายเงินให้มั้ย
กฎข้อที่4:คิดเล็ก ทำใหญ่
ยังมีองค์ประกอบของงานที่ยอดเยี่ยมอีกอย่างนึงที่ขาดไปไม่ได้คือภารกิจ
ภารกิจเปรียบเหมือนงานที่ยิ่งใหญ่ที่สร้างผลกระทบให้กับคนในวงกว้าง เเต่ต้องเเลกด้วยการมีต้นทุนทางอาชีพที่มากเพียงพอเเละการที่จะเห็นปลายทางที่ยิ่งใหญ่ได้ตัวเราก็ต้องเริ่มต้นจากการเดิมพันเล็กๆในการลองผิดลองถูกเพื่อหาว่าอะไรจะมีโอกาสเป็นภารกิจของเรา
เเละการที่จะทำให้ภารกิจมีโอกาสสำเร็จมากยิ่งขึ้นจะต้องใช้เทคนิคทางการตลาดโดยการทำให้ผู้คนสนใจเเละเผยเเพร่ภารกิจในช่องทางที่ผู้คนพูดถึงได้
สำหรับผมภารกิจเปรียบเหมือนสิ่งที่ทำให้รู้ว่าเราตื่นมาพรุ่งนี้ทำไม
โฆษณา