12 พ.ย. 2023 เวลา 12:37 • ข่าวรอบโลก

เครื่องบินจะตกแล้วยังไม่พูด

หนึ่งในปัญหาของระบบราชการไทย คือ การเชื่อฟังผู้บังคับบัญชา และไม่โต้แย้ง นั่นเป็นเพราะโครงสร้างดังกล่าวไม่มีการให้รางวัล และการปกป้องผู้ที่ทำถูก แต่สามารถที่จะถูกลงโทษ ย้าย แขวนได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายบริหารงานบุคคล ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (ถึงแม้​ ผู้เสียหายอาจจะร้องขอให้ศาลปกครองวินิจฉัยก็ตาม)
9
โครงสร้างแบบนี้ จึงไม่แตกต่างกับโครงสร้างการบริหารงานแบบทหารที่ความคิด และความรู้ของคนผู้น้อยไม่ได้มีความสำคัญ​ เพราะถ้าธงมันออกมาแล้วจากผู้บังคับบัญชา หน้าที่ของลูกน้อง คือ การสนองนโยบายเท่านั้น
2
การบริหารงานแบบนี้มีปัญหาอย่างมาก เพราะนอกจากคนใต้บังคับบัญชาจะไม่มีโอกาสได้คิดเองแล้ว ยังทำให้คนเหล่านี้ไม่สามารถที่จะปฏิบัติงานได้อย่างเต็มศักยภาพ เพราะไม่ใช่ความคิดของตัวเอง แถมยังก่อให้เกิดโอกาสในการทุจริตอีกด้วย และที่เลวร้ายที่สุด
2
ในเกือบๆ ทุกๆ สถานการณ์ ผู้นำไม่ใช่คนที่อยู่หน้างาน ไม่ได้เห็นรายละเอียดของเรื่องต่างๆ แท้จริง หลายๆ ครั้งจึงตัดสินใจไปตามอำเภอใจ หรือตัดสินใจตามสัญชาติญาณของตนมากกว่า
2
การตัดสินใจโดยไม่ได้รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นจึงมักจะนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดเสมอ ๆ ตัวอย่างที่ดีที่สุด คือ ปัญหาเครื่องบินตกของสายการบินเกาหลี เนื่องจากสถาพสังคมที่เรียกว่า high power distance cultures
5
สังคมที่เกรงผู้มีอำนาจ (high power distance cultures) เป็นสภาพสังคมที่พบเห็นได้ในประเทศเกาหลีได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นลูกน้องที่กลัว และเชื่อฟังหัวหน้า ภรรยาที่เชื่อฟัง และเกรงกลัวสามี ความเกรงกลัวเหล่านี้ทำให้ลูกน้องมักจะไม่มีปากมีเสียง หรือกล้าที่จะเถียง หรือไม่เห็นด้วยกับหัวหน้า ยิ่งในสังคมทหาร ซึ่งเป็นนักบินส่วนใหญ่ของเกาหลีในเวลานั้น การปฏิบัติในลักษณะนี้กลับยิ่งทวีความเข้มข้นมากกว่าสังคมทั่วไปของเกาหลีเสียอีก
3
Korean Air Flight 801 (KAL801) ออกเดินทางในวันที่ 5 สิงหาคม 1997 จาก Seoul-Kimpo International Airport ไปยัง Antonio B. Won Pat International Airport, Guam ระหว่างทาง สภาพอากาศค่อนข้างเลวร้าย มีฝนตกหนักมาก จนแทบมองไม่เห็น แถมอุปกรณ์นำร่องลงจอด ILS สำหรับ Runway 6L ยังไม่ทำงานอีกด้วย แต่กัปตันกลับคิดว่า อุปกรณ์ดังกล่าวทำงานได้ตามปกติ พออุปกรณ์ได้รับสัญญาณ
2
กัปตันจึงนึกว่าเป็นสัญญาณที่มาจากสนามบิน แต่พอวิศวกรตรวจสอบ ก็พบว่าไม่ใช่ จึงได้เตือน แต่กัปตันก็ไม่สนใจ ส่วนนักบินผู้ช่วยก็ได้แต่บอกแค่ว่า ไม่เห็นสนามบิน และให้ บินออกไปใหม่ (Missed Approach) และพยายามลงจอดอยู่ดี ในจังหวะสุดท้าย เครื่องบินเตือนว่า อยู่เหนือจากพื้นดินน้อยเกินไป ในจังหวะสุดท้าย กัปตันพยายามเชิดหัวเครื่องขึ้น
6
แต่ก็ไม่ทัน เครื่องบินชนเข้ากับยอดเขา Bijia ซึ่งไม่ไกลนักจากเครื่องส่งสัญญาณ​ NIMITZ VOR ที่ความสูงประมาณ 200 เมตร และห่างจากสนามบินไปประมาณ 5.6 กิโลเมตร ทำให้มีผู้เสียชีวิต 229 คนจาก 254 คนที่อยู่บนเครื่องทั้งหมด
2
ทางการเกาหลี สรุปว่า อุบัติเหตุเกิดขึ้นจากสภาพอากาศที่เลวร้าย แต่เมื่อ NTSB เข้าตรวจสอบ ก็พบกับความประหลาดใจว่าทำไมนักบินผู้ช่วย ถึงไม่เตือน ทั้งๆ ที่ก็รู้ปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างดี พอลงไปศึกษาเพิ่มเติม ก็พบว่า ในระหว่างปี 1970 ถึงปี 1999 Korean Air มีอุบัติเหตุเครื่องบินทั้งหมดมากถึง 16 ครั้ง
2
และมีผู้เสียชีวิตรวมเกือบ 700 คน แย่กว่าค่าเฉลี่ยของสายการบินประเทศอื่นมาก และได้สรุปว่า สังคมที่เกรงผู้มีอำนาจนี้มีส่วนทำให้ไม่มีการตรวจสอบ และถ่วงดุลกัปตันที่ดี ซึ่งสาเหตุของการที่ต้องให้มีนักบินอย่างน้อยสองคน ก็เพื่อที่จะได้ช่วยเหลือ และให้ความเห็นในกรณีฉุกเฉินอย่างนี้นี่เอง
2
ในที่สุด โครงการอบรม Crew Resource Management จึงถูกออกแบบมาเพื่อให้แก้ไขในเรื่องดังกล่าว และแนะนำให้นักบิน และวิศวกร รวมไปถึงเจ้าหน้าที่บนเครื่องบินพร้อมที่จะกล้าคิด กล้าแสดงความคิดเห็น มีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน
5
และอุบัติเหตุดังกล่าว และอีกหลายๆ อุบัติเหตุในลักษณะเดียวกัน เช่น Avianca Flight 052 ที่บินจนน้ำมันหมด เพราะไม่กล้าแย้งเจ้าหน้าที่วิทยุการบิน จึงถูกใช้เป็นกรณีศึกษาในการสอนนักบินมาจนถึงทุกวันนี้
3
มาถึงตรงนี้ ผมจึงอยากแอบตั้งคำถามว่า แล้วคุณล่ะครับ ถ้ารู้ว่าเครื่องบินรอบนี้กำลังจะขึ้น แต่กัปตันจะดึงเครื่องขึ้นอีก แล้วคุณรู้ว่าจะทำให้เครื่อง stall ละตกลงได้ คุณจะทำอย่างไร?
1
อ้างอิง :
โฆษณา