Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ที่โปรด
•
ติดตาม
27 พ.ย. 2023 เวลา 12:00 • ท่องเที่ยว
คริสจักรตรัง: ทับเที่ยงกับเรื่องราวชาวโปรเตสแตนต์กลุ่มแรก
ถ้าพูดถึงชาวคริสต์ที่เดินทางมาเผยแพร่ศาสนาในไทย เราอาจจะนึกไปถึงชาวคาทอลิกหรือไม่ก็ชาวเยซูอิต แต่อย่างไรก็ตาม ในขณะที่โปรเตสแตนต์นั้นได้ถือกำเนิดขึ้นมาในภายหลัง แต่ก็ใช้เวลาพอสมควรกว่าจะเดินทางมาเผยแพร่ศาสนาในดินแดนไทย
โดยปรากฏการเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ครั้งแรกราวปี พ.ศ. 2371 โดยมิชชั่นนารีชาวลอนดอนอย่างจาคอบ ทอมลิน ผู้เผยแพร่ศาสนาในราชวงศ์ชิง และมิชชั่นนารีชาวเยอรมันนาม คาร์ล กุสลาฟ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งมิชชั่นนารีคนสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ไทย ก่อนที่จะมีคณะมิชชั่นนารีอื่น ๆ เริ่มเดินทางเข้ามายังประเทศไทย
อย่างคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน ซึ่งได้ร่วมกันจัดตั้งคริสตจักรโปรเตสแตนต์แห่งแรกในไทยที่สำเหร่ กรุงเทพมหานคร และแผ่ขยายไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ โดยในภาคใต้มีศูนย์มิชชั่นนารีที่นครศรีธรรมราช และตรังตามลำดับ
การเผยแผ่ศาสนาในตรังนั้นนับว่าเป็นอะไรที่ง่ายดายมากเพราะเนื่องด้วยเจ้าเมืองตรังในขณะนั้นอย่างพระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ก็ได้เอื้อเฟื้อ อีกทั้งยังบริจาคเงินให้กับทางมิชชั่นนารีจัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นมา และอนุญาตให้เผยแผ่ศาสนาได้อย่างเสรี
โดยมีโรงพยาบาลทับเที่ยงเป็นศูนย์กลางในการประกาศพระศาสนา ก่อนที่ในปีพ.ศ. 2456 จะได้ซื้อที่ดินเพื่อสร้างโบสถ์และสุสานขึ้นมา โดยเป็นเรือนไม้ไผ่ชื่อว่า “โรงสวดทับเที่ยง” ก่อนที่จะมีการก่ออิฐถือปูนกลายเป็น “วิหารทับเที่ยง” ในภายหลัง
วิหารทับเที่ยงเป็นอาคารขนาดเล็กชั้นเดียว มีประตูด้านหน้า 1 ประตู และประตูด้านหลัง 2 ประตู มีหอระฆังที่โดดเด่นสูง 3 ชั้น ตัวตึกสีเหลืองสวยงามคลาสสิค ซึ่งมีการบูรณะปฏิสังขรณ์เรื่อยมา
กระทั่งในปี 2552 วิหารทับเที่ยงนี้ก็ได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น และเป็นเสมือนกับหลักฐานที่บ่งชี้ถึงคุณค่าของคริสตจักรจากชาวโปรเตสแตนต์กลุ่มแรก ๆ ในไทยผ่านสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นของย่านเมืองเก่าทับเที่ยง
#ที่โปรด #ผู้กำกับน้อย #ตรัง #ท่องเที่ยว
อ้างอิง
https://www.finearts.go.th/fad11/view/26264-วิหารคริสตจักรตรัง-ตำบลทับเที่ยง-อำเภอเมืองตรัง-จังหวัดตรัง
ประวัติศาสตร์
ท่องเที่ยว
ท่องเที่ยวไทย
1 บันทึก
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย