27 พ.ย. 2023 เวลา 14:18 • หนังสือ

เมื่อเราอยากทราบวัฒนธรรม​การอ่าน​ของ​ที่อื่น ​ใน​ยุค​ที่​หนังสือ​นอกเวลา​ค่อย​ๆ​หายไป(Part 1)

อยากทราบวัฒนธรรม​การอ่านของที่อื่นๆบ้างครับ?
.
รู้มาว่านักเรียนในต่างประเทศ​เค้าอ่านกันเยอะมากๆ อ่านวรรณกรรม​กันก็เยอะ แล้ววรรณกรรม​ที่อ่านกันส่วนใหญ่​ก็เป็นวรรณกรรมระดับโลกทั้งนััน ทั้ง 1984, To Kill a Mockingbird, Lord of the Flies, The Catcher in the Rye และอื่นๆอีกเยอะ
.
ในไทยก็มีคลาสเรียนเรื่องวรรณกรรม​ ในระดับมหาวิทยาลัยก็มีวิชาวรรณกรรม​อังกฤษ​และอเมริกัน แต่ระดับมัธยมผมไม่ทราบจริงๆ ถ้าที่อื่นมีก็เล่าได้นะครับ เพราะโรงเรียน​ผมไม่มีเลย
ผมยังเห็นบทความของวรรณกรรม​ที่ต้องอ่านก่อนเรียนจบ หรือต้องอ่านก่อนเข้ามหาวิทยาลัย โดยส่วนใหญ่​ก็เป็นวรรณกรรมระดับโลกทั้งนั้น
.
เลยอยากรู้เรื่องของการอ่านของที่อื่นๆ ทั้งในวิชาเรียนวรรณกรรม​ วงของนักเรียน-นักศึกษา​ ที่อ่านหนังสือหรืออ่านวรรณกรรม​กัน
.
แชร์ประสบการณ์​กันได้นะครับ ผมกำลังรออ่าน...​
.
ผมโพสต์ไปอย่างนั้นในกลุ่มเฟซบุ๊ก "สมา​คม​ป้า​ยยา​หนังสือ"
และคำตอบที่น่าประทับใจทั้งหลายก็หลั่งไหลมา
.
ท่านที่ 1--
ของเรามีอ่านตอนม.ปลายค่ะ
Cold mountain, daddy long legs, Rebecca , Little Lady
อ่านเล่มเต็ม Daddy long leg ภาษาเก่าอ่านจบเหนื่อยเอาเรื่องอยู่ อันอื่นเป็นเล่มย่อ อาทิตย์นึงเขาให้นั่งอ่านแล้วก็มีคำถามท้ายชม.ตามบทที่ให้อ่าน 5 ข้อได้ค่ะ ถ้าจำไม่ผิด อันนี้เป็นหนึ่งในคาบเรียนอังกฤษ อ่านอาทิตย์ละ 3 คาบได้(ไม่แน่ใจมันมีอังกฤษที่เป็นแกรมม่า เตรียมสอบ กิจกรรมอีก คาบอังกฤษเยอะจัด) นั่งเงียบๆอ่านเล่มใครเล่มมันบางคาบมีคุยกันว่าคิดว่าบทต่อไปจะเป็นไงคิดว่าที่ตัวละครทำแบบนั้นแบบนี้ดีไหม
ภาษาไทยจำได้ว่าให้อ่านเรื่องปริศนา ก็คือ ไม่ค่อยอินเท่าไหร่ สงสัยเราจะเกิดช้าไป…
ตอนมหาลัยก็มีลงเรียน เกี่ยวกับวรรณและการแพทย์ อันนี้ได้อ่าน Tuesday with Morrie และดูหนังด้วยร้องไห้หนักมากเพราะมีครูที่ให้ความรู้สึกแบบนั้นเลย
แล้วก็อ่าน Colourful ที่เป็นต้นแบบเรื่อง homestay ที่ตอนนั้นในไทยทำหนังอยู่ ชอบหนังสือมาก ตอนสอบเป็นข้อเขียนเราเอาเรื่องนี้เขียนส่งเลยจำได้ (เขาให้ลิสมาว่าให้เลือกอ่านจากในลิสจะมีหัวข้อให้เขียนวิเคราะห์ตอนสอบ) แล้วก็มีเรื่อง ชุดประดาน้ำและผีเสื้อ เรียนไปร้องไห้ไปทุกคาบ
.
ท่านที่ 2--
เป็น รร.เอกชน
Daddy long legs และ Robinson Crusoe อ่านตั้งแต่ ม.1 Love story อ่าน ม.2 Rebecca อ่าน ม.3
แต่ระหว่างนั้น จะมี หนังสือแบบที่เป็นแผ่น A5 ให้อ่านจับใจความและตอบคำถาม ทราบมาว่า ครูหมวดภาษาอังกฤษ สั่งซื้อจาก Oxford มาให้ นร.ม.ต้น มันมี 30-50 เรื่องเลย แล้วก็กระจายกันทำ 3 ชั้นปี
มีวรรณกรรมเยาวชนอื่นๆ อย่าง ไฮดี้ กระท่อมน้อยของลุงทอม ทอม ซอว์เยอร์ การผจญภัยของ ฮัคเคอร์เบอร์รี่ ฟิน ให้เลือกอ่าน
แต่ต้องฉบับภาษาอังกฤษเท่านั้น ( ก็มีแอบไปหาฉบับแปลมาอ่านบ้าง 5555)​
.
ท่านที่ 3--
เราไปเรียนแลกเปลี่ยนที่อเมริกาตอนม. 6 เมื่อปี 2005
มีวิชาบังคับคือวิชา literature เท่าที่จำได้หนังสือที่อ่านมี
Of mice and men, The adventure of Tom sawyer + Huckleberry Finn, Nevermore (กลอนของ Edgar Allen Poe), Macbeth
จริงๆปีนึงน่าจะมีประมาณ 15 เรื่อง แต่เราจำได้แค่นี้
เวลาเรียนจะแบ่งเป็น 3 ส่วน
1.ส่วนที่ทุกคนนั่งอ่านในคลาสด้วยกัน
2. ส่วนที่ครูสอนศัพท์ เป็นคำศัพท์วรรณกรรมจากเรื่อง เช่นคำปกติใช้คำว่า hostile แต่ในเรื่องใช้คำว่า belligerent
3. วิเคราะห์เนื้อเรื่อง เป็นคำถามให้เอากลับบ้านไปตอบ เพราะอาจต้องมีทวนซ้ำ คำถามเป็นเชิงวิเคราะห์อย่างเช่น เรเวนในกลอน Nevermore สื่อถึงใคร/อะไร
สนุกค่ะ ชอบมากกกกก เป็นคลาสที่ชอบที่สุด แต่เพื่อนๆไม่อิน
.
ขอขอบพระคุณทุกท่านที่มาแสดงความคิดเห็นมา ณ ที่นี้ด้วย
(มีต่อ)
โฆษณา