27 พ.ย. 2023 เวลา 14:25 • หนังสือ

เมื่อเราอยากทราบวัฒนธรรม​การอ่าน​ของ​ที่อื่น ​ใน​ยุค​ที่​หนังสือ​นอกเวลา​ค่อย​ๆ​หายไป(Part 2)

คำตอบของนักอ่านท่านอื่นๆ
ท่านที่ 4--
ตอนเรียนมัธยมปลายที่ไทยไม่ได้เรียนหรือรู้จักหนังสือที่กล่าวมาเลยค่ะ จำได้แค่รามเกียรติ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนช่วงม. 5 ค่ะ ส่วนม.ปลายที่สวีเดนเราเดาว่าแล้วแต่ครูผู้สอนด้วยค่ะ แต่ตอนเราเรียนคือเป็นคลาสม.ปลายวิชาภาษาสวีดิชสำหรับผู้ใหญ่ เรียนเกี่ยวกับวรรณกรรมล้วน ๆ ตอนเทียบนะดับม.5 อาจจะไม่ต้องถึงขั้นอ่านค่ะแต่มีการพูดถึงสั้น ๆ ทั้งตัวนักเขียนและนิยายบางเรื่องที่ใช้บ่อยมากคือ:
• Shakespeare: Hamlet, a midsummer night’s dream
• Brontë sister หลัก ๆ คือเรื่อง Wuthering hights
• Mary Shelley : frankenstein
• Daniel Defoe: Robinson Crusoe
ประมาณนี้ค่ะเราก็จำไม่ค่อยได้ คือมันมีการกล่าวถึงแต่ละช่วงยุคของยุโรปและนักเขียนของแต่ละยุค แต่เชคสเปียร์เป็นคนที่ถูกกล่าวถึงบ่อยมากค่ะ
.
ท่านที่ 5--
ตอนมัธยมปลายจำได้ว่ามีหนังสืออ่านนอกเวลา ภาษาไทย ก็เช่น ซอยเดียวกัน อยู่กับก๋ง ลูกอีสาน นิยายแปล เช่น เอมิลยอดนักสืบ อ่านเป็น simplify English ในวิชาภาษาอังกฤษ เช่น The lost world, The murder of Roger Ackroyd, Pride and prejudice, Dr.Jackal and Mr.Hyde, Rebecca, Jurassic Park
ส่วนใหญ่จะเน้นเป็นเรื่องสั้น หรือนิยายที่เอามาย่อให้สั้นลงมากกว่า
The Murder of Roger Ackroyd
.
ท่านที่ 6--
ตอนม.ต้น ม.ปลาย อ่านเยอะมากค่ะ จะมีลิสต์มาเยอะๆ ให้เลือกอ่านเอา เทอมละเล่ม​
วิชาภาษาไทยก็
ฉันอยู่นี่ศัตรูที่รัก
อยู่กับก๋ง
เอมิลล์ยอดนักสืบ
แมงมุมเพื่อนรัก หรือชาร์ล็อตต์ เว็บบ
ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด
ความสุขของกะทิ
ภาษาอังกฤษบังคับอ่าน
เชอร์ล็อค โฮล์มส์
About a boy
Phantom of the opera
The Christmas Carol
ฉบับย่อยง่าย ของสนพ.ทีเป็นโลโก้เพนกวิ้น
.
ขอขอบพระคุณทุกท่านที่มาแสดง​ความคิดเห็นมา ณ ที่นี้ด้วย
บทความก่อนหน้า
โฆษณา