6 ธ.ค. 2023 เวลา 06:00 • ประวัติศาสตร์

‘จารึกวัดพระเชตุพน’ แผ่นบันทึกภูมิปัญญาสมัยพระนั่งเกล้าฯ ที่ UNESCO ต้องยกย่อง

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นยุคที่สยามพบเจอกับความเปลี่ยนแปลงที่กระทบกับสังคมในยุคจารีตอย่างใหญ่หลวง จากการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและกระบวนการทางสังคมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น จนเรียกได้ว่าอาจเกิดความแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่างสิ่งที่มีในสยามและสิ่งที่จะต้องตามให้ทันซึ่งได้หลั่งไหลเข้ามา เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีการเปิดพื้นที่ใหม่ขึ้นอีกพื้นที่หนึ่งในการรองรับการเปลี่ยนแปลงและทุเลาผลกระทบที่อาจจะรุนแรงขึ้นด้วยการศึกษา
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญกับความรู้หนังสือโดยพระราชโอรสพระราชธิดาจะต้องรู้หนังสือ ดังนั้นเมื่อทรงทราบว่าพระองค์เจ้าจินดาพระราชโอรสไม่รู้หนังสือ พระองค์จึงกริ้วและเป็นที่เกรงกันโดยทั่วไป พระบรมราโชบายในการส่งเสริมการศึกษาของพระองค์นั้นทรงได้โปรดเกล้าให้ตั้งโรงเรียนสอนหนังสือที่โรงทานเป็นครั้งแรก โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้กล่าวว่า
“ที่มีเด็กสวดตามศาลารายในวัดพระแก้ว หม่อมฉันสันนิษฐานว่าเพิ่งจัดขึ้นในรัชกาลที่ 3 ด้วยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงตั้งโรงเรียนสอนหนังสือไทยขึ้นเป็นปฐมที่โรงทานจ้างประตูต้นสนถึงเทศกาลที่ขุนทินชุนทานสวดมหาชาติคำหลวงที่โบสถ์วัดพระแก้ว
จึงได้โปรดใหจัดเด็กนักเรียนที่โรงทานมาสวด ‘โอ้เอ้วิหารราย’ [เป็นการฝึกอ่านของเด็กไปในตัว] อย่างโบราณที่ศาลาราย เลยเป็นธรรมเนียมมาจนถึงรัชกาลที่ 4 และที่ 5 หม่อมฉันเคยเห็นสวดอยู่ตามศาลารายด้านเหนือในทางเสด็จพระราชดำเนินถือว่าสวดถวายตัว เป็นเช่นนั้นมาจนตั้งกรมศึกษาธิการ เมื่อเลิกโรงเรียนที่โรงทาน หม่อมฉันจึงได้สั่งให้โรงเรียนชั้นประถมของหลวงที่ตั้งขึ้น ณ ที่ต่างๆ ให้จัดเด็กมาสวดโอ้เอ้วิหารรายแทนเด็กโรงทาน โรงเรียนละศาลาจึงมีเด็กสวดทุกศาลารอบพระอุโบสถมาแต่นั้น”
จากการที่พระองค์ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษานี้ทำให้มีแบบเรียนมากมายเกิดขึ้น เช่น ทศมูลเสือโค ประถม ก กา จนต่อมาพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงวงษาธิราชสนิทแต่งแบบเรียนจินดามณีขึ้นโดยมีพระราชประสงค์ให้ใช้เป็นตำราในการแต่งคำประพันธ์ ในยุคสมัยนี้จึงเรียกได้ว่าเกิดการตื่นตัวทางวิชาความรู้ขึ้น และการตื่นตัวนี้ได้ยกระดับไปอีกขั้นโดยการยกฐานะของ “วัด” ให้เปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยเปิด
วัดที่เปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยเปิดนี้มีลักษณะอย่างไร ที่มาที่ไปคืออะไร ติดตามใน https://www.luehistory.com/?p=22383
เลือกติดตามช่องทางอื่น ๆ ของ Lue History ได้ที่นี่
#LueHistory #วัดพระเชตุพน
โฆษณา