Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Timeless History (ประวัติศาสตร์ไร้กาลเวลา)
•
ติดตาม
10 ธ.ค. 2023 เวลา 05:01 • ประวัติศาสตร์
“ปฏิบัติการ Blue Peacock (Operation Blue Peacock)” โครงการนิวเคลียร์หลุดโลกแห่งช่วงสงครามเย็น
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง และโลกเข้าสู่ยุคสงครามเย็น (Cold War) ประเทศต่างๆ ก็ขบคิดว่าจะทำอย่างไรหากความขัดแย้งนี้พัฒนาจากสงครามเย็นกลายเป็นสงครามจริงๆ
และในขณะที่ชาติมหาอำนาจต่างเร่งสะสมอาวุธ ทางฝั่งอังกฤษก็ได้เกิดโครงการหนึ่งขึ้นมา โครงการที่จะใช้ป้องกันไม่ให้ฝ่ายสหภาพโซเวียตเข้าโจมตี
แผนการก็คือ จะมีการวางกับระเบิดนิวเคลียร์ไว้ทั่วเยอรมนีตะวันตก และเมื่อฝ่ายโซเวียตเข้ารุกราน ก็จะถูกกับระเบิดนิวเคลียร์นี้
แต่ปัญหาก็คือ สภาพอากาศที่หนาวเย็นอาจจะทำให้กับระเบิดไม่ทำงาน แต่พวกเขาก็มีวิธีแก้ปัญหา
วิธีแก้ปัญหาก็คือ ฝังไก่เป็นๆ ลงไปพร้อมกับกับระเบิด
1
อาจจะฟังดูหลุดโลก แต่เรื่องราวนี้เป็นอย่างไร ลองมาดูกันครับ
สงครามโลกครั้งที่ 2 จบลงในปีค.ศ.1945 (พ.ศ.2488) หากแต่ความขัดแย้งบนโลกยังไม่หมด และคราวนี้ เป็นสงครามที่มีอาวุธนิวเคลียร์เข้ามาเกี่ยวข้อง
ในยุค 50 (พ.ศ.2493-2502) เยอรมนีถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน และเยอรมนีก็กลายเป็นชาติที่สำคัญในยุคสงครามเย็น และสถานการณ์ก็มีแต่จะตึงเครียด
1
อังกฤษเองก็เตรียมพร้อมสำหรับความขัดแย้งนี้ และกองทัพอังกฤษก็เกิดปิ๊งไอเดียหลุดโลกขึ้นมา
นั่นคือ “ปฏิบัติการ Blue Peacock (Operation Blue Peacock)”
กองทัพอังกฤษได้ทำการศึกษาและหาสารพัดวิธีในการขัดขวางการรุกรานของฝ่ายโซเวียต โดยจะสกัดฝ่ายโซเวียตด้วยอาวุธนิวเคลียร์ และอาวุธที่จะใช้ นั่นก็คือ “กับระเบิดปรมาณู”
มีการเสนอให้ฝังกับระเบิดในบริเวณที่ราบภาคเหนือของเยอรมนี หากกองทัพโซเวียตบุกเข้ามาทางตะวันตก ฝ่ายอังกฤษก็แค่รอให้ฝ่ายโซเวียตเข้ามาตั้งค่าย ก่อนจะกดระเบิดซึ่งฝังอยู่ใต้ดิน
2
กับระเบิดที่ฝังนั้นก็ไม่ได้มีขนาดเล็กเลย โดยมีขนาดถึง 10 กิโลตัน และมีความรุนแรงประมาณครึ่งหนึ่งของระเบิดปรมาณูที่ปล่อยใส่นางาซากิในปีค.ศ.1945 (พ.ศ.2488)
2
และหลังจากการระเบิด พื้นที่กว้างใหญ่ในยุโรปก็จะปกคลุมด้วยกัมมันตภาพรังสี
อังกฤษตั้งใจจะใช้กับระเบิดนิวเคลียร์นี้ทำลายกองทัพโซเวียตที่คิดจะบุกเข้ามา และกัมมันตภาพรังสีที่ลอยอยู่ในอากาศก็น่าจะทำให้กองทัพโซเวียตที่เหลือต้องถอยออกไป
แต่ถึงแม้ว่าปฏิบัติการ Blue Peacock จะดูเข้าท่า แต่ก็ยังมีจุดที่เป็นอุปสรรคและต้องรับการแก้ไขก่อน
ข้อแรกก็คือจะกดให้กับระเบิดทำงานได้อย่างไร?
หนึ่งในทางเลือกก็คือฝังกับระเบิดโดยตั้งเวลาแปดวันก่อนจะระเบิด หรืออีกทางหนึ่ง ก็คือดัดแปลงระเบิดให้ทำงานภายใน 10 วินาทีเมื่อมีการรบกวน
อุปสรรคข้อต่อไป ก็คือเรื่องของ “อากาศ”
ในฤดูหนาว บริเวณภาคเหนือของเยอรมนีนั้นมีอากาศหนาวเย็น อากาศติดลบ ซึ่งหากอากาศหนาวเกินไป ก็มีความเป็นไปได้ที่ระเบิดจะไม่ทำงาน
วิศวกรเสนอให้ห่อระเบิดหนักเจ็ดตันแต่ละลูกด้วยหมอนไฟเบอร์กลาสเพื่อให้ระเบิดนั้นมีอุณหภูมิอบอุ่น
แต่พวกเขาก็นึกไอเดียดีๆ อีกอย่างหนึ่งออก นั่นก็คือ “ไก่”
มีการเสนอให้เอาไก่เป็นๆ ใส่เข้าไปในห่อระเบิดแต่ละลูก โดยในนั้นจะใส่อาหารให้ไก่กินเป็นเวลาแปดวัน และอุณหภูมิจากตัวไก่ก็จะทำให้ระเบิดนั้นไม่เย็นจนเกินไป และระเบิดได้ตามเวลา ส่วนไก่ก็จะตายตามระเบิดไป
2
อาจจะฟังดูหลุดโลก แต่วิศวกรก็ได้ทำการออกแบบต้นแบบระเบิดออกมาสองแบบ และในปีค.ศ.1957 (พ.ศ.2500) กองทัพอังกฤษก็ได้สั่งระเบิดจำนวน 10 ลูก
1
แต่ระเบิดนี้ดูเหมือนจะไม่ได้นำไปใช้จริง
กองทัพอังกฤษเสียเวลากับปฏิบัติการนี้เป็นเวลาหลายปีก่อนจะสั่งยกเลิก โดยในปีค.ศ.1958 (พ.ศ.2501) กระทรวงกลาโหมได้สั่งยกเลิกปฏิบัติการนี้ เนื่องจากเป็นห่วงเรื่องของกัมมันตภาพรังสี
แต่ถึงแม้ปฏิบัติการ Blue Peacock จะถูกยกเลิก แต่ปฏิบัติการนี้ก็ถูกเก็บเป็นความลับเป็นเวลานานนับ 10 ปี กว่าจะเปิดเผยก็คือในปีค.ศ.2004 (พ.ศ.2547)
เรื่องราวของปฏิบัติการนี้ถูกเปิดเผยในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ.2004 (พ.ศ.2547) ซึ่งตรงกับวันโกหกหรือ “เอพริลฟูล (April Fool)” ทำให้หลายคนคิดว่าเรื่องนี้อาจจะเป็นเพียงเรื่องโกหกเท่านั้น
แต่ถึงอย่างนั้น ทางการก็ยืนยันว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง และเรื่องราวของปฏิบัติการนี้ก็ถูกเปิดเผยในที่สุด
References:
https://allthatsinteresting.com/blue-peacock
https://www.businessinsider.com/uk-developed-chicken-warmed-nuclear-landmines-2016-11
https://www.slashgear.com/1407500/britain-giant-nuclear-land-mine-chickens/
https://www.popularmechanics.com/military/weapons/a25645798/blue-peacock-land-mine/
ประวัติศาสตร์
6 บันทึก
22
3
6
22
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย