14 ธ.ค. 2023 เวลา 16:37 • ไอที & แก็ดเจ็ต

AuSelect RAM ผสมแรม ต่างขนาด ต่างยี่ห้อ ผสมยังไงให้รอด!

หลายคนอาจพบเจอปัญหาอยากอัพเกรดแรมคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊ค เดิมจากที่มี RAM ตัวจะซื้อเพิ่มอีกตัวมาใส่คู่กัน ก็มักจะเกิดปัญหาจอฟ้า ทำงานไม่ได้ ทำให้ต้องจบที่ซื้อแรมรุ่นเดียวกันขนาดเท่ากันมาใส่ แต่ถ้ามันถึงจุดที่แรมยี่ห้อนั้นรุ่นนั้นไม่มีขายแล้วหละ เราจะทำเช่นไร ถ้าเรายังไม่อยากทิ้งวันนี้ Au จะมา Select แรมต่างรุ่นต่างขนาดกันให้ดูว่าเลือกยังไงให้มีโอกาสรอดมากที่สุด
ที่บอกว่ามีโอกาสรอดมาที่สุด ก็เพราะว่าทางที่ดีที่สุดก็คือเราควรจะซื้อแรมที่เป็นยี่ห้อและรุ่นเดียวกัน ขนาดเท่ากัน มาใส่เป็นคู่ๆ เพื่อให้เครื่องสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะโดยธรรมชาติของแรมแล้วต้องมีคู่ (Dual Channel) จะไม่ชอบอยู่เป็นโสด แต่ถามว่าอยู่ได้ไหมก็อยู่ได้แต่ไม่ชอบ (Single Channel) โดยมักจะให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าประมาณ 15% แต่ถ้าจะใช้เป็น Dual channel ใส่แรมเป็นคู่แล้ว แรมก็ที่จะมาเป็นคู่กันก็ต้องมี Spec ที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมากที่สุดจะได้ทำงานด้วยกันได้ ไปกันรอด
1. SODIMM หรือ DIMM
SO-DIMM เป็นแรมตัวเล็กใช้สำหรับใส่ Slot ของ Mainboard Notebook หรือ Laptop
ส่วน DIMM เป็นแรมขนาดตัวใหญ่ใส่ใน Slot ของ Mainboard Desktop หรือ PC
เลือกให้ถูกซื้อแรม SO-DIMM มา Desktop ไม่ได้นะยัดไม่เข้ารู
2. DDR อะไร
DDR เป็น Gen ของแรมยิ่งเลขสูงๆ ยิ่งดี ปัจจุบันก็เป็น DDR5 แต่ที่ใช้กันอยู่ในท้องตลาดกันเยอะก็จะเป็น DDR3 และ DDR4 โดยถ้าคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊ค ใช้ DDR รุ่นไหนก็ให้เลือกรุ่นนั้นอย่าผิดรุ่นผิดเจนเนอเรชั่น
3. Maximum Ram
เครื่องเรารองรับแรมสูงเท่าไหร่ สามารถตรวจสอบได้จากคู่มือเครื่อง ดังนั้นอย่าใส่แรมจนขนาดแรมรวมเกินค่าสูงสุด
4. Bus
Bus คิดซะว่าเป็นเหมือนขนาดถนนในการที่รถขนส่งข้อมูลจะวิ่งได้ ยิ่งได้ค่าสูงๆ ยิ่งดี ถนนกว้าง รองรับการส่งถ่ายข้อมูลได้เยอะ
RAM ที่มีในท้องตลาดจะมี Bus ที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่น 2133 MHz 2666 MHz 3200 MHz ดังนั้นเลือกให้ Bus ตรงกัน ถ้าคู่ไหนไม่เท่ากัน แรมตัวที่ Bus มากกว่าก็จะปรับตัวเองลงมาให้เท่ากับ Bus ตัวที่น้อยกว่า หรือบางครั้งก็อาจจะใช้ด้วยกันไม่ได้ เพราะเราเข้ากันไม่ได้
5. CL Latency
ค่าความเร็วในการรับส่งข้อมูล ก็เหมือนความเร็วของรถขนส่งข้อมูล ยิ่งได้ค่าน้อยยิ่งดี ยิ่งแสดงว่าไม่มีดีเลย์เลย รับส่งไว้ไม่อี่ดอ่อด
การเขียน CL จะเขียนต่อท้ายด้วยค่าความหน่วงเวลา 3 ตัวได้แก่ tRCD tRP tRAS เช่นกันเราก็ควรจะเลือกแรมที่มีคงามหน่วงต่ำๆ จะได้ไม่ช้า แต่ก็ควรจะเลือกให้เหมือนกันคู่ที่จะใส่คู่กัน หากค่าต่างกันมากอาจจะทำงานไม่ได้
รูปแบบการเขียน CL จะเป็นลักษณะ Cl-tRCD-tRP-tRAS เช่น 22-22-22-52
CL on Ram Label
6. CPU ที่ใช้รองรับไหม
หากเป็น CPU Generation ใหม่จะยิ่งหายห่วง เช่น Intel Gen 10 จะมีการระบุไว้ในคู่มือเลยการใส่แรมต่างขนาดกันก็ยังคงสามารถใช้งานได้ในระบบ Flex Memory Technology Mode Operation
ตัวอย่างการอัพเกรดเป็นแรมโน๊ตบุ๊คจาก 8 GB เป็น 24 GB ด้วย
  • 1.
    Nanya technology ขนาด 8 GB ตัวเก่าติดเครื่องมา
  • 2.
    G Skill ขนาด 16 GB ตัวใหม่ที่จะนำมาเพิ่ม
RAM Spec
จะเห็นว่านอกจากยี่ห้อและขนาดแล้วทุกอยากก็เลือกให้เหมือน และพอใส่แรมเข้าไปก็จะได้ผลรวมเป็น 24 GB และทำงานแบบ Dual channel
Ram Mixing Result
อย่างไรก็ตาม ในทุกผู้ผลิตแรม ก็มักจะเตือนว่าอย่าผสมแรมนอกเหนือจากแรมรุ่นเดียวกันยี่ห้อเดียวกัน ดังนั้นก็อยากจะให้เพื่อนๆ เผื่อใจเอาไว้เล็กน้อยว่ามันไม่ได้ 100% ที่จะประสบผลสำเร็จ
1
โฆษณา