Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
p
peace maker
•
ติดตาม
17 ธ.ค. 2023 เวลา 06:49 • ข่าวรอบโลก
สถานการณ์ภายในเมียนมายังมีความเปราะบางแม้ว่าจีนจะเป็นตัวกลางในการแก้ไขปัญหา
การเจรจาสันติภาพที่จีนจัดขึ้นเพื่อหารือปัญหาความขัดแย้งในรัฐฉานเหนือเมื่อต้นธันวาคม ๒๕๖๖ ไม่น่าจะนำมาสู่ความสงบในเมียนมาเร็ววัน เนื่องจากยังมีสัญญาณของความไม่ไว้วางงใจกันอยู่ในระดับสูงของสองฝ่าย ประเด็น คือ ผลประโยชน์ของแต่ละฝ่ายเป็นสิ่งที่ยังตกลงกันไม่ได้ และใช้เวลาในการพูดคุย และแลกเปลี่ยน
ขณะที่รัฐบาลกองทัพเมียนมาคงต้องหาแนวทางที่จะแก้เกมทางการเมืองซึ่งเกิดขึ้นจากแนวความคิดด้านภูมิรัฐศาสตร์ของจีนที่ต้องการควบคุมและต้องการเข้ามาควบคุมพื้นที่ผ่านชนกลุ่มน้อยที่จีนควบคุมเพื่อให้ช่วยในการดูแลพื้นที่โครงการของจีนในด้านBRIและCMEC
การที่กลุ่มAA สามารถยึดครองพื้นที่ในรัฐยะไข่ โดยรายงานของฝ่ายต่อต้านได้ระบุว่านับตั้งแต่การเปิดปฏิบัติการ1027 AA สามาถยึดฐานทหาร ฐานของBGF รวมทั้ง สถานนีตำรวจ ประมาณ ๑๙ แห่ง ในรัฐยะไข่ และกรณีที่ศูนย์กลางการค้105 ตกอยู่กับฝ่ายพันธมิตรทางเหนือนำโดยTNLA เป็นสัญญาณว่าการเจรจาน่าจะล้มเหลวในอนาคต
แม้ว่าจะมีการหยุดยิงในเดือนธันวามคม ๒๕๖๖ เพราะพื้นที่ดังกล่าวเป็นเส้นเลือดการค้าชายแดนเมียนมากับจีน มีสัดส่วน ร้อยละ ๒๐ ของมูลค่าการค้าของเมียนมา ซึ่งจะสร้างความยากลำบากให้รัฐบาลกองทัพเมียนมามากขึ้นหลังจากระบบเศรษฐกิจภายในตกต่ำจากการ sanctionของตะวันตก รวมทั้งเป็นแรงกดดันภายในประเทศอีกด้วยหากรัฐบาลกองทัพเมียนมารับมือไม่ได้ในเรื่องการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ จะเกิดการต่อต้านภายในและจะเป็นแรงเหวี่ยงที่จะเกิดการปฏิวัติภายในขึ้นได้
ขณะที่ชนกลุ่มน้อยอื่นๆได้ใช้โอกาสนี้ ในการขยับขยายพื้นที่ยึดครองให้เป็นของตนเองอย่างต่อเนื่องเพราะมองว่าเป็นช่วงที่กองทัพเมียนมากำลังอ่อนแอ ไม่เฉพาะกับกลุ่มต่อต้านNUGแต่ยังรวมถึงชนกลุ่มน้อยอื่นๆ อาทิ กลุ่มABSDF RSO กำลังกลับมาactiveอีกครั้ง เพื่อครอบครองพื้นที่ให้ได้มากที่สุด
สถานการณ์ในตอนนี้ รัฐบาลกองทัพเมียนมาดูเหมือนจะตกอยู่สภาวะที่ลำบากในครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองและความมั่นคง เนื่องจากภาพข่าว สาระของการสื่อสาร ของฝ่ายตรงข้าม ได้ชี้ถึงทิศทางที่รัฐบาลกองทัพเมียนมา จะพ่ายแพ้ รวมทั้งปัญหาภายในกองทัพเมียนมาเอง ที่ผ่านมา ผู้นำรัฐบาลNUG ได้ประกาศว่าจะโจมตีกรุงเนปียดอ ในอนาคต และเป็นไปในแนวทางการต่อต้าน ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่รอบๆกรุงเนปียดอ
ดังนั้น จึงมีโอกาสสูงที่กกลุ่มต่อต้านจะโจมตีเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมหากพื้นที่อื่นๆตกอยู่ในการควบคุมของฝ่ายตรงข้าม ซึ่งที่ผ่านมานายทหารของกองทัพเมียนมาได้ประเมินว่ามี ๖ พื้นที่ที่NUG คือ คะยา สะกาย คะฉิ่น กะเหรี่ยง ฉาน และอื่น ๆ ซึ่งมีจำนวน กองกำลัง ๓๐,๐๐๐ คน ทั้ง๖ พื้นที่ค่อนข้างตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ
หากมาพิจารณาการต่อสู้ตามพื้นที่ทั้ง ๑๔ รัฐและภูมิภาค มีประเด็นที่ต้องพิจารณารายพื้นที่ดังนี้
๑)พื้นที่สู้รบอย่างหนัก คือ ๑)ฉานเหนือ เนื่องจากจีนอยู่เบื้องหลัง ๒)สะกาย และมะกวย กลุ่มPDFมีความเข้มแข็งมากขึ้นและขยายความร่วมมือกับชนกลุ่มน้อย ๓)ยะไข่ กลุ่มAA มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นเมื่อได้รับอาวุธจากกลุ่มว้า และเป็นหนึ่งในพันธมิตรทางเหนือ ๔)มัณฑะเลย์ เป็นเมืองหน้าด้านที่จะมีผลต่อการโจมตีกรุงเนปียดอของฝ่ายต่อต้าน ๕) คะยา กะเหรี่ยง มอญ ตะนาวศรี กลุ่มต่อต้านมีความสัมพันธ์ที่ดีกับNUGและPDF ที่ได้รับการสนับสนุนจากตะวันตก
๒)พื้นที่ไม่มีการสู้รบ คือ ๑)คะฉิ่น อยู่ใต้การควบคุมของKIA มีความสัมพันธ์ที่ดีกับNUG ๒)พะโคและอิระวดี กลุ่มPDF อยู่ระหว่างการสร้างกองกำลัง และจะมีผลต่อกรุงเนปียดอ ๓)กรุงย่างกุ้ง เป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจซึ่งกองทัพเมียนมายังมีความได้เปรียบเชิงพื้นที่
๔) ส่วนกรุงเนปียดอ กองทัพเมียนมา ถือว่าเป็นยุทธศาสตร์สำคัญจึงต้องจัดกำลังดูแลความปลอดภัยระดับสูง ส่งผลให้กองทัพเมียนมาไม่สามารถจัดกำลังขึ้นไปต่อสู้ในทางภาคเหนือ ตะวันออกและตะวันตกได้อย่างเต็มที่ ยกเว้นการโจมตีทางอากาศ คาดว่าจะมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เมื่อกองทัพเมียนมาได้รับเครื่องบินรบจากรัสเซียมาเพิ่มอีก
การเกิดเหตุการณ์ 1027 เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งของการกระตุ้นให้การต่อสู้มีความรุนแรงขึ้น และทำให้กองทัพเมียนมาเผชิญกับการต่อต้านอย่างรอบด้าน ทั้งกลุ่มNUGและPDFที่มีตะวันตกสนับสนุน ชนกลุ่มน้อยที่เป็นตัวแทนของจีนในการขยายอิทธิพลในพื้นที่ยุทธศาสตร์ของจีนในโครงการBRIและCMEC
ขณะที่ชนกลุ่มน้อยที่เป็นมือเป็นไม้ของกองทัพเมียนมาอ่อนกำลังลง และกำลังถูกกวาดล้าง อาทิ กลุ่มของหม่องชิตตู่ เป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลแสวงหาผลประโยชน์ตามชายแดนไทย กลุ่มโกกั้งสายBGFที่ใกล้ชิดกับกองทัพเมียนมา และ ได้รับผลประโยชน์จากทุนจีนสีเทา ซึ่งเป็นต้นเหตุของสงครามสั่งสอนกองทัพเมียนมานับตั้งแต่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๖
เมื่อเป็นเช่นนี้ สถานการณ์ภายในเมียนมา ไทยต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะมีผลกระทบต่อความมั่นคงตามแนวชายแดน โดยเฉพาะagendaของกลุ่มต่างๆ แผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนในแต่ละกลุ่ม ซึ่งมีผลต่อความเป็นไปของสถานการณ์ภายในทั้งสิ้น
ส่วนเรื่องอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบแน่นอนและไทยไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้คือยาเสพติด ยิ่งไทยเปิดโอกาสให้ร้านอาหารปิดตีสี่ จะกลายเป็นโอกาสอันดีให้ยาเสพติดต่างๆจากเมียนมาเข้ามายังไทยได้อีกมากเพราะโอกาสเอื้ออำนวยและหากควบคุมพื้นที่ตามแนวชายแดนไม่ดีพอ โดยยาเสพติดในเมียนมาที่ผลิตโดยกลุ่มSSPP และกลุ่มว้า หลังจากสองกลุ่มร่วมมือกันขับไล่ RCSS ออกจากพื้นที่รัฐฉานเหนือ ได้ตั้งโรงงานผลิตขึ้นมาใหม่
โดยมีกำลังการผลิตจำนวนมากและรอการส่งต่อมายังไทย เพื่อนำเงินมาเป็นทุนในการทำสงคราม ยังไม่รวมถึงการผลิตฝิ่นในเมียนมาที่กลายเป็นแหล่งผลิตสำคัญของโลกจากการประเมินของUN
ดังนั้น ปัญหาภายในเมียนมาไทยควรให้ความสำคัญ และวางแนวทางให้เกิดเอกภาพและมีความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน ว่าไทย จีน อินเดีย ตะวันตกเป็นตัวแปรที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาภายในเมียนมา การดำเนินนโยบายของไทยต่อเมียนมา ไม่ได้มีผลต่อการต่อสู้ภายในเมียนมาแต่ยังรวมถึงอาเซียน ประเทศมหาอำนาจที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังจะเห็นจากการที่จีนจัดเวทีการพูดคุยรหว่างกองทัพเมียนมาและกลุ่มพันธมิตรทางเหนือ เป็นการสะท้อนการมีอิทธิพลของจีนในเมียนมาและการวางเกมของจีนได้เป็นอย่างดี
................................................................
ข่าวรอบโลก
ข่าว
การเมือง
1 บันทึก
7
1
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย