20 ธ.ค. 2023 เวลา 04:43 • ข่าว

อัพเดท ไทยพบเคสแรกของโควิดที่เกิดจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่ JN.1

1) องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้ไวรัสสายพันธุ์ย่อย (Subvariant) JN.1 เป็นไวรัสอยู่ในกลุ่มที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ (VOI)
3
2) ขณะนี้มีหลากหลายประเทศที่พบไวรัสสายพันธุ์ JN.1 เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ทั้งสหรัฐอเมริกา แคนาดา จีน ออสเตรเลีย และประเทศในยุโรปได้แก่ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สเปน เบลเยียม เป็นต้น
3) ในสหรัฐอเมริกา พบผู้ป่วยโควิดที่ต้องนอนโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น 51% เมื่อเทียบกับสองสามเดือนก่อน ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นพร้อมกับไข้หวัดใหญ่
4) ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ JN.1 เป็นสายพันธุ์ย่อยที่อยู่ในกลุ่มสายพันธุ์หลักโอมมิครอนเดิม มีความสามารถในการแพร่เชื้อเร็วขึ้น หลบหลีกภูมิคุ้มกันเก่งขึ้น แต่อาการทางคลินิกไม่ได้ก่อให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น
2
5) ไวรัส JN.1 สืบสายลงมาจากไวรัส BA.2.86 โดยมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งกรดอะมิโนในส่วนหนาม จึงทำให้มีความสามารถในการแพร่เชื้อเพิ่มขึ้น ส่วนสายพันธุ์หลักในปัจจุบันยังคงเป็น XBB
6) ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ได้รายงานการถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสก่อโรคโควิดในผู้ป่วย พบ JN.1 เป็นเคสแรกของไทยแล้ว (28 ตุลาคม 2566) คาดว่าจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักของไทยในต้นปีหน้า
7) พบว่าการตรวจ ATK การตรวจ PCR และวัคซีนป้องกันโควิดในปัจจุบัน ยังสามารถรับมือไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้ดี
8) คำแนะนำในกลุ่มเสี่ยงที่ฉีดวัคซีนมาเกินกว่า 12 เดือน คงจะต้องพิจารณาฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น
9) รายงานสถานการณ์โควิดในประเทศไทย ช่วงสัปดาห์ 10-16 ธันวาคม 2566 พบผู้ติดเชื้อตรวจยืนยันด้วยพีซีอาร์ 514 คน ทำให้เคสสะสมมี 37,308 คน คิดเป็นเฉลี่ย 106 คนต่อวัน
ในขณะที่มีผู้เสียชีวิตในสัปดาห์ที่ผ่านมา 6 คน มีผู้เสียชีวิตสะสมในปีนี้ 837 คน คิดเป็นผู้เสียชีวิตเฉลี่ย 2.4 คนต่อวัน
กล่าวโดยสรุป
1
1) โลกเรายังคงมีโควิดเป็นโรคระบาด เพียงแต่ผู้คนให้ความสนใจน้อยลง
2) มีการพบว่าไวรัสกลายพันธุ์ JN.1 แพร่เร็วขึ้น หลบหลีกภูมิคุ้มกันดีขึ้น แต่อาการไม่ได้รุนแรงมากขึ้น
3) การตรวจด้วย ATK,PCR และวัคซีนยังสามารถรับมือกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้ดี
4) ในกลุ่มเสี่ยงควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เมื่อฉีดมาเลย 12 เดือน
5) หลักสากลในการป้องกันโรคทางเดินหายใจคือ หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยบ่อย ไม่นำมือมาสัมผัสใบหน้า ยังคงเป็นเรื่องที่ใช้ได้ดีสำหรับการลดความเสี่ยงในการติดโควิด-19
Reference
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
โฆษณา