23 ธ.ค. 2023 เวลา 12:51 • ข่าว
ร้อยเอ็ด

บพท. สร้างเครือข่ายการสื่อสารงานวิจัยเชิงพื้นที่

บพท. ร่วมกับ มูลนิธิปัญญาวุฒิ จัดประชุมเครือข่ายการสื่อสารระดับภูมิภาค โดยมีนักข่าวท้องถิ่น นักวิจัย และนักประชาสังคม เดินทางมาจากภาคเหนือ ภาคใต้ และในภาคอีสาน เข้าร่วมงานอย่างเข้มข้น 3 วัน ระหว่างวันที่ 19 - 21 ธันวาคม 2566 ณ โรงแรมร้อยเอ็ดโฮเต็ล จังหวัดร้อยเอ็ด
3
มูลนิธิปัญญาวุฒิ โดยโครงการพัฒนาระบบการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของงานวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ ได้รับสนับสนุนจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ เพื่อวิเคราะห์แนวทางและค้นหาศักยภาพที่สำคัญต่อปัจจัยความสำเร็จด้านการสื่อสารเชิงพื้นที่ เพื่อพัฒนารูปแบบการสื่อสารงานวิจัยที่เหมาะสมกับการวิจัยแพลตฟอร์มขจัดความยากจน โดยมีทีมวิทยากรจาก Thai PBS
ภายในงานมีกิจกรรมพิเศษ ผู้เข้าร่วมงานจะได้ลงพื้นที่ชุมชนไปดูกระบวนการดำเนินงานภายใต้โครงการวิจัยพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์ (SRA) เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ณ บริษัท เคพีโอ จำกัด เป็นบริษัทชุมชน ต.คำผอุง อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด เพื่อเป็นกรณีศึกษาแลกเปลี่ยนมุมมองการสื่อสาร มีความแตกต่างของพื้นที่บนโจทย์การพัฒนาเดียวกัน เมื่อสรุปบทเรียนจะได้ประเด็นที่ทุกคนสนใจคืออะไร ตรงกับที่อยากเล่าหรือไม่
บรรยากาศในเวที ได้สะท้อนการสื่อสารงานวิจัยที่ผ่านมา มีบทเรียนจากการนำเสนอว่า นักข่าวไม่มีแหล่งศึกษาข้อมูลงานวิจัยเพื่อเตรียมประเด็นตั้งคำถามกับนักวิจัย ซึ่งส่วนใหญ่จะได้เนื้อหาข่าวเชิงการจัดกิจกรรมเปิด - ปิดแล้วจบ มีความน่าสนใจน้อย แต่ผลงานวิจัยเป็นข้อมูลจริงมีประโยชน์มาก ถ้านักข่าวมีคำถามให้เกิดการเล่าเรื่องจะทำให้เนื้อหามีชีวิตมีอารมณ์ดึงดูดความสนใจมากขึ้น
ต่อด้วย การระดมความคิดเห็น ทุกคนได้ร่วมกันกำหนดนิยามเครือข่ายการสื่อสารงานวิจัย และเสนอแนวทางวิธีการทำงานของเครือข่ายในอนาคต มีประเด็นน่าสนใจหลายอย่าง ได้แก่ ข้อมูลเนื้อข่าวมีคุณภาพลึก กว้าง หลากหลาย เน้นสื่อสารสร้างความสัมพันธ์เชิงบวก สามารถบอกเล่าเรื่องราวได้ทั้งบวกและลบ สื่อสารเรื่องราวระหว่างทางด้วย และพัฒนาหลักสูตร ADM
เครือข่ายการสื่อสารงานวิจัยเป็นหนึ่ง “นวัตกรรมทางสังคม” ผมมองว่านักวิจัยและนักข่าวมีจริยธรรมที่เหมือนกัน คือ นำเสนอข้อมูลความจริงถูกต้อง แตกต่างกันแค่บทบาทหน้าที่แต่มีเป้าหมายเดียวกัน
เวทีนี้ ได้ค้นพบเครื่องมือใหม่ในการสื่อสารงานวิจัย ผมมองเห็นเสน่ห์และโอกาส ถ้ามีสำนักวิจัย ที่ทำงานเชิงระบบ (Hard Tool) สำนักข่าว ที่ทำงานเชิงสังคม (Soft Tool) มาร่วมมือกันด้วยจิตวิญญาณการสื่อสาร จะสร้างการเปลี่ยนแปลงในชุมชนได้อย่างแน่นอน
การสื่อสารงานวิจัย จะมีหน้าที่สำคัญคือ การยื่นไมค์ ส่องไฟเข้าหาชุมชนมากขึ้น ผลิตสื่อด้านการพัฒนาด้วยข้อมูลองค์ความรู้ เล่าเรื่องผ่านวิถีความเป็นอยู่ของชาวบ้าน เผยแพร่ทุกช่องทางสื่อสารทางสังคมต่างๆ
อ่านข่าวเพิ่มเติม https://share.csitereport.com/share.php?post_id=0000038027
อ้างอิงข้อมูลจาก
  • รูปภาพจาก ไลน์กลุ่มนักสื่อสารงานวิจัย บพท.อีสาน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา