29 ธ.ค. 2023 เวลา 01:30 • ปรัชญา
มีพระที่ท่านบอกให้ฟังว่า ในเรื่องของพระสมัยต้นพุทธกาล พระอรหันต์ ท่านอยู่ป่า ไม่กลับมาอยู่ในเวียงวัง ไม่กลับมาให้วิญญาณทั้งหก ไปวุ่นวาย ท่านนั่งปฏิบัติธรรมชำระสะสาง สิ่งที่รกรุงรังติดอยู่กับ ธาตุนะโม ธาตุสี่ ขันธ์ทั้งห้า วิญญาณทั้งหก ตลอดจนน้ำเลือดน้ำหนองที่เป็นกรรมมาหนุนนำเรือนกาย ที่มีเรื่องราวของเศษของกรรม ที่เกิดมาเพื่อชำระสะสาง เป็นชาติสุดท้าย เพื่อยุติการเกิด ท่านมีขันติเป็นบารมี แล้วก็ใช้ขันติบารมีของจิต ชำระสะสาง เรื่องราวที่นำพาให้จิตไปสร้างกรรม ก็คืออารมณ์
แล้วท่านท่านบอกว่าพระอรหันต์สมัยต้นพุทธกาล ท่านล้วนทิ้งทรัพย์สินเงินทอง ล้วนทิ้งญาตสนิท ก็คืออารมณ์ ทิ้งบ้านช่อง เศรษฐีที่ออกบวช ก็เหวี่ยงทิ้งทรัพย์สมบัติเงินทอง ใครอยากได้ก็เอาไป..เหลือแต่เสื้อผ้าชุดเดียว เดินเข้าป่า..นั่นเป็นจิตของผู้ที่มีปัญญาในธรรม ที่จะสลัด ..ภาระเรื่องราวต่างๆ ไม่เอามาใช้อีกเลย จึงเป็นเรื่องราวที่ค่อนข้างยากจะเข้าใจ
เพราะเราทำกันไม่ได้ ท่านกระทำสะสาง เพื่อตัดขาด สิ่งต่างๆที่ไหลมาแต่เหตุ เหตุที่ธาตุทั้งสี่ บันทึกจดจำ..บันทึกกรรมต่างที่เป็นสีต่างๆ ติดอยู่ภายในธาตุที่ประกอบเรือนกาย
ในการขบฉัน..เอาธาตุนอกไปเสรืมธาตใน นานๆ ท่านจึงจะออกไปหาลูกไม้ใบไม้ มาประทังสังขาร ..แม้แต่น้ำท่านก็ไม่เอามาสะสมข้างกาย อยากกิน ก็ต้องเดินไป เดินเท้าไปเป็นกิโล เพื่อดื่มน้ำสักแก้วหนึ่ง เดินไปดื่มน้ำ ..เท้าก็เจ็บปวด . จึงไม่อยากเดิน ..ไป ก็นั่งนิ่งทน..เอา น้ำในเรือนกายที่มีอยู่ ก็พอเลี้ยงสังขารได้ไปหลายวัน ..ท่านอดทน จนจิตท่านมีขันติเป็นบารมี เมื่อจิตทำถึง ขันติเป็นบารมี
..จิตก็นั่งนิ่งๆ จิตมีกำลัง มีแสงสว่างเกิดขึ้น สีฟ้า สีน้ำเงิน สีแดง สีเหลือง สีเขียว สีขาวใส ..ท่านก็ใช้แสงนนั่น ส่องขัด ขัดฝุ่นเม็ดที่เหมือน ทรายจุดเล็กอณูเล็กนั้นออกไป. ทำด้วยจิตที่มเข้มแข็ง จนธาตุทั้งสี่เป็นแก้วเจียระไน จิตหลุดพ้น .ไม่มีอารมณ์โลภโกรธหลงเข้ามาในจิตอีกเลย ..ไม่มีอารมณ์ ..ไม่มีกรรม ที่ต้องมาเกิด มาใช้ทรัพย์สินเงินทอง ยศฐานบรรดาศักดิ์ ไม่ต้องกลับมากินมานอน ห้องหับ ห้องแอร์ สะดวกสบาย ฟุ่มเฟือย ..นั่นเป็นเรื่องของผู้ที่ ..ยุติการเกิด
..เราก็เคยสงสัย ว่ากิริยาที่พระสิทธัตถะ นั่งสมาธิ ท่านั่งในท่าขัดสมาธิหรือ มีผู้ที่บอกว่า จิตขององค์พระสิทธัตถะท่านนอบน้อมมากๆ ท่านนั่งปฏิบัติ นั่งพับเพียบ .ปฏิบัติ..เพราะท่านก็มีนิสัยที่เคยกระทำ ติดมากับจิตของท่าน ..ในชั้นดุสิต ท่านก็นั่งพับเพียบ นิ่งเหมือนเสากันทั้งนั่น ..(มีผู้เล่าให้ฟัง อย่าเขื่อเรา แต่สำหรับเรา เมื่อนั่งปฏิบัติธรรมตามรอยท่าน ..เรานั่งพับเพียบ ไม่นั่งขัดสมาธิทำตนเป็นผู้สำเร็จธรรม เราก็นอบน้อมเมื่อปฏิบัติธรรมของท่าน)
สมัยต้นพุทธกาล ผู้ที่บรรลุธรรม ท่านอยู่ป่า ..แต่สมัยนี้ เค้าว่า บรรลุธรรม นั่งห้องแอร์ กินนอนสะดวกสบายอารมณ์ ..ไม่ต้องไปอยู่ในท่ามกลางดินฟ้าอากาศ นั่งอยู่บ้าน ..อยู่สถานที่สบายๆ ไม่ต้องไปอดทนอะไร ไม่ต้องมีขันติเป็นบารมี ..นั่นเค้าจึงว่า ..นั่งกินนอนสะดวกสบาย มีข้าวของ มีบรวารห้อมล้อม ก็บรรลุธรรมได้ ..ผู้ทีเค้าบรรลุธรรม ทำไมจึงมีความแตกต่างกัน
ในการเข้าถึงธรรม ..เหมือนว่า พระอรหันต์ สมัยต้นพุทธกาล ท่านอยู่ป่า ..พระอรหันต์ สมัยนี้อยู่เมือง ห้อมล้อมด้วยโลกธรรม .พระอรหันต์ .เหมือนกัน ทำไมพระอรหันต์สมัยนี้ กับ สมัยต้นพุทธกาลจึงต่างกัน สมัยต้นพุทธกาล ท่านก็ต่างเดืนตามรอยขององค์พระสิทธัตถะ ที่ท่านกระทำจนสำเร็จ ท่านไปสะสางในป่ากัน ต้องไปคนเดียว เพื่อยุติการคล้องกรรม การพัวพันยึด สิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตของๆโลก ..ที่จิตมันยึดถูกพันธนาการ ให้ต้องกลับมาเกิด..
เรามาดูเรื่องราวของพระองคุลีมาร เมื่อยังไม่เจอะพระพุทธเจ้า ท่านก็ฆ่าคนมากมาย ทำไมท่านถึง มีสติขึ้นมาได้ ทิ้งดาบ สละเรื่องราวต่างๆ ขอบวชเมื่อพบพระพุทธเจ้า ..ส่วนอีกผู้หนึ่ง คือเทวทัต อยู่ใกล้พระพุทธเจ้า ก็เหมือนไม่ได้ฟังคำสอนของท่าน แล้วพระพุทธเจ้าเป็นใหญ่ในจิตในจิตของเทวทัตหรือ จิตของเทวทัตก็เป็นใหญ่ในเรือนกายของเทวทัต มีทิฐิที่จะเป็นใหญ่ในศาสนา นำพาให้สงฆ์แตกแยก ..ใครละทีลดละอารมณ์อยากทะเยอทะยานไม่้ได้เลย แล้วที่สุดน้ำหนักของกรรมมันก็หนัก แม่พระธรณีแบกพยุงไม่ไหว แผ่นดินก็ก็แยกให้ล่วงหล่นจมธรณี
เรื่องราวเหล่านี้ เมื่อเรายังทำถึงขั้นปล่อยวาง ตัดขาด คัดเอ้าท์กรรมไม่ได้ เราก็ฝึกหัด สร้างบุญสร้างกุศล ฝึกหัดเดินตามรอยท่าน เอากิริยาของพระมาฝึกหัด ทำไปตามรอยของท่าน .ไป สะสมบุญกุศลบารมี ตามรอยท่าน ..สะสมไปเรื่องของให้มีกายเป็นมนุษย์ครบสามสิบสอง ขอให้จิตมีความกตัญญูรู้คุณ ให้จิตพบธรรมโลกุตระไปทุกชาติ เพื่อสร้างบุญกุศลบารมี หนีเวรกรรม ไปทุกชาติ ..จิตเราเป็นจิตน้อยๆ เมื่อเรามาฝึกหัด ในศาสนาของท่าน .ที่ว่าบรรลุธรรม ใครรับรองให้ ..ว่าสำเร็จบรรลุในธรรม ธรรมโลกุตระขององพ์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ..
ที่เขียนมา ก็อย่าไปยึดไปถือน่ะ ..เพราะการปฏิบัติเดินยืนนั่งนอน .ทำจิตไปหาคำว่าพระ ให้จิตเป็นพระนั้น เราเป็นนักเรียนเด็กน้อยฝึกหัดต้องการปลดปล่อยอารมณ์ เอาเรื่องที่จดจำมามันก็เป็นอารมณ์นึกคิดจดจำมา ..เมื่อปฏิบัติธรรม ก็รวบรวมกาย ขันธ์ห้า ..วิญญาณทั้งหกให้ มาอยู่ในกิริยาที่นอบน้อม น้อมจิต เข้าไปหาธรรม
..ท่านบอกว่า ทำกายให้นิ่ง จิตให้นิ่งได้ ไม่มีอะไร ปรุงแต่ง..จะเกิดปัญญาธรรม (ส่วนเรายังกระทำไม่ได้ ยังไหว หวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่ไหลเข้ามา ก็เผลอสติ ควบคุมกายขันธ์ทั้งห้าวิญญาณทั่งหกให้นิ่งเฉยไม่ได้ ..ทำไปไม่ถึงเลย .คงต้องฝึกต่อใช้เวลายาวไกลอีกหลายชาติ ยุติกายเกิดได้
นั่นก็เป็นเรื่องที่เราฝึกหัดแบ่งเวลาทางโลก ให้กับเวลาของธรรม แค่ออกจากการปฏิบัติ อารมณ์นึกคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ก็เข้ามาปรุงแต่งทั้งเรือรกายแล้ว ..เราก็ทำแบบหยอดกระปุกออมสินของเราไป ..ไม่ไปทะเยอทะยานบรรลุอะไร .
เราก็ทำของเราไปเรื่อยๆ สะสมไปเรื่อยๆ ให้จิตขยับขยายกว้างขวางโตขึ้นมา โตขึ้นมา เพื่อเลิกเป็นทาสของอารมณ์ จิตจะได้พ้นไปจากคอกของความโลภโกรธหลง (นี่ที่เขียนมาได้แค่รู้จดจำมา เป็นสัญญาจำ ยังทิ้งยังทำไม่ได้เลย ก็เลยจดจำมา เป็นทาสอารมณ์เต็มตัว ไต่ไปไต่มาตามอารมณ์ปรุงแต่งในเรือนกาย เหมือนยุงมากัดเนื้อตรงนั้นตรงนี้ กัดที่ตา กัดที่หู .จมูกลิ้นกายใจ มันถูกอารมณ์กัดกิน .มันทนไม่ไหว ในวิญญาณทั้งหกที่ส่งไปให้จิต เป็นทาสอารมณ์)
เรื่องราวของรอยทั้งสี่ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า รอย..ยืน เดิน นั่ง นอน ด้วยจิตที่เป็นพระ จิตเป็นมัชฌิมา จิตเฉยๆ ..นั้นทุกรอย ต้องนำมาฝึกหัด ..รอยของการหนีกรรม สลัดละทิ้งอารมณ์กรรม ต้องนำทุกรอยมาฝึกหัด เพราะคนเราก็ใช้กิริยาทั้งสี่ ..ไปสร้างกรรม มีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมเกิดขึ้น ในกิริยาทั้งสี่
..เช่น เดินไปด่าคน นั่นคนนี้ ไปนั่งคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ ไปนั่งคิดนั่งเขียน นั่งเคลียคลอ คลุกคลีกรรม พิจารณาเรื่องนั่นเรื่องนี้ นั่งฆ่าไก่ฆ่าเป็ดบี้มด..ไปยืนตีรันฟันแทง ..ไปนอนเจ็บนอนป่วย นอนกระสับกระส่ายอยู่กับกรรม
วันๆเราใช้กิริยาทั้งสี่ เดิน ยืน นั่ง นอน ไปทำอะไร ไปมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ในกิริยาทั้งสี่ ..ในแต่ละวัน ..ไปคล้องเวรกรรมอะไรบ้าง ไปยึดถือเอาอะไรเข้ามาในตัวตน ..ที่ก่อให้เกิดคำว่า ภาระของกายของจิตให้มากมาย ..ต้องเป็นทุกข์ กังวล หนักอกนักใจ โมโห มีอารมณ์พอใจไม่พอใจ ไม่พอใจเกิดอะไร พอใจแล้วเกิดอะไร เฉยๆเกิดอะไร ..นั่นก็เป็นเรื่องราวที่ตรวจสอบอารมณ์ของตนเองในกิริยาที่เราใช้อย่างหนึ่ง..เราก็ตรวจสอบ ..ตัวเอง..
..เราก็เอารอยทั้งสี่นี้มากระทำ ..หยุด ..ไม่ต้องคิดนึกอะไร ทำจิตหยุดอยู่กับพระ ควบคุมกายให้นิ่ง จิตเฉยๆ ภาวนาพุทโธแค่สองคำ ให้เกิดขึ้น..ให้จิตไปยึดพระไปก่อน ..ตัดอารมณ์นึกคิดต่างไปไป วางมันเสียให้หมด จิตหยุดอยู่ที่พุทโธ..ชั่วขณะหนึ่ง ก็ได้พักกายพักจิต ..ไม่เป็นทาสอารมณ์ชั่วขณะหนึ่งก็ยังดี
โฆษณา