10 ม.ค. เวลา 05:00 • ประวัติศาสตร์

[TIME LINE]: ประวัติจิตเวชในไทย

โรงพยาบาลจิตเวชแห่งแรกของประเทศไทย คือ โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา เป็นโรงพยาบาลเก่าแก่ยุคเดียวกับโรงพยาบาลศิริราช ตั้งขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่5)
1 พฤศจิกายน พ.ศ.2432 "คนเสียจริต" จำนวน 30 คน ได้ถูกนำมาฝากรวมกันไว้ ณ สถานที่แห่งหนึ่ง ซึ่งเดิมเป็นของพระยาภักดีภัทรากร สถานที่แห่งนี้ขึ้นกับกระทรวงธรรมการ มิได้มีลักษณะเป็นโรงพยาบาลเช่นปัจจุบัน ผู้ป่วยถูกขังไว้ในห้องลั่นกุญแจ ล้อมลูกกรงเหล็กขนาดใหญ่ ผู้ป่วยคลั่งบางคนก็ถูกล่ามโซ่ตรวน หรือใช้ยาต้ม หรือใช้ยานัตถุ์
พ.ศ. 2448 เปลี่ยนชื่อเป็น "โรคพยาบาลคนเสียจริตปากคลองสาน" ขึ้นกับกองแพทย์สุขาภิบาลใน กระทรวงนครบาล ซึ่งมีนายแพทย์ H.Cambell Hyed เป็นหัวหน้าการดูแลผู้ป่วยบกพร่องมาก จนเมื่อนายแพทย์ต้องรายงานไปยังรัฐบาลจึงได้สร้างโรงพยาบาลขึ้นใหม่เพื่อเปิดรับผู้ป่วย
พ.ศ. 2455 เดือนกันยายน ผู้อำนวยการคนแรก เป็นแพทย์ชาวอังกฤษชื่อ โมเดิร์น คาทิวส์ (Modern Cathews)
พ.ศ. 2465 ได้มีจัด'นายแพทย์ผู้รักษาการ'
พ.ศ. 2468 หลวงวิเชียรแพทยาคมได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการคนแรก ซึ่งเป็นแพทย์ไทย
พ.ศ. 2475 ได้เปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลคนเสียจริตเป็น 'โรงพยาบาลโรคจิตธนบุรี'
พ.ศ. 2485 นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ดำรง ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาล และในปีนี้เอง โรงพยาบาลโรคจิตได้ย้ายมาเข้าสังกัดกรมการแพทย์ เป็นยุคสำคัญของวิวัฒนาการโรงพยาบาลฝ่ายจิตและการศึกษาจิตเวชศาสตร์
พ.ศ. 2496 นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้วก่อตั้งสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยเพื่อส่งเสริมวิชาการแก่แพทย์
พ.ศ. 2510 นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้วจัดตั้งสมาคมสุขภาพ จิตแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจและส่งเสริมสุขภาพจิต สมาคมนี้จึงทำงานร่วมกับครูอาจารย์และผู้มีอาชีพอื่นๆ
เพราะความรู้สามารถมีการเปลี่ยนแปลง/เสริมเติมได้เสมอ หากมีท่านใดพบจุดที่ข้อมูลไม่ตรงกับที่ทราบมา สามารถถกและแบ่งปัญความรู้กันได้ค่ะ
โฆษณา