4 ม.ค. เวลา 01:00 • ข่าวรอบโลก

ติดไข้หวัดนกตาย คอนเฟิร์มพบหมีขั้วโลกตัวแรกของโลกติดไข้หวัดนกตาย

และแล้วสิ่งที่กังวลก็เกิดขึ้นจริง
รายงานจาก The Guardian พบหมีขั้วโลกตัวแรกจบชีวิตลงเพราะ ‘ไข้หวัดนก’ ที่ระบาดไปไกลจนถึงบ้านหมี
3
ตามที่ก่อนหน้านี้ ปีที่ผ่านมามีรายงานการระบาดของเชื้อ H5N1 ได้เดินทางไปถึงแอนตาร์กติก หรือขั้วโลกใต้เป็นครั้งแรก
แต่ไม่ทันไรกลับพบการระบาดขึ้นที่ ‘อาร์กติก’ หรือขั้วโลกเหนือขึ้นอีกแห่ง
ตามรายงานระบุว่า การตายของหมีขั้วโลกจากการติดไวรัส H5N1 ได้รับการยืนยันเมื่อเดือน ธันวาคม ค.ศ. 2023 โดยกรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอะแลสกา
6
ซึ่งถือเป็นกรณีหมีขั้วโลกตัวแรกที่มีการรายงานว่าตายจาก H5N1
ซากศพของหมีถูกพบใกล้กับอุตคียักวิก (Utqiagvik) หนึ่งในชุมชนทางตอนเหนือสุดของอะแลสกา คาดว่าหมีขั้วโลกอาจติดเชื้อจากการกินซากนกที่ติดไวรัส
อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า แม้นี่จะเป็นหมีขั้วโลกตัวแรกที่ยืนยันว่าตายเพราะไข้หวัดนก แต่มันอาจไม่ใช่ตัวเดียวที่ตายเพราะสาเหตุนี้
มีความเป็นไปได้ที่หมีจำนวนมากจะตายโดยไม่มีใครสังเกตเห็น เนื่องจากพวกมันมักอาศัยอยู่ในสถานที่ห่างไกลและไม่มีผู้คน
1
เฉกเช่นเดียวกับที่เราไม่รู้ว่ามีนกตายไปเท่าไหร่ เพราะนกบางกลุ่ม อย่างนกทะเล อาจตายตกทะเลไป ไม่สามารถนับจำนวนได้
7
การที่ไข้หวัดนกระบาดในอาร์กติก และทำให้หมีขั้วโลกต้องจบชีวิตลง ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าเป็นห่วง
เนื่องจากเดิมหมีขั้วโลกเป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูญพันธุ์จากวิกฤตโลกเดือดอยู่แล้ว
คาดการณ์ว่าอาจสูญพันธุ์ภายใน ค.ศ. 2100
แต่การระบาดของไวรัสอาจเป็นสิ่งเร่งเร้าอีกประการที่ทำให้หมีขั้วโลกเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ได้ไวขึ้น
สำหรับการระบาดของไข้หวัดนกในธรรมชาติหนนี้ เริ่มต้นชึ้นนับตั้งแต่ปี 2021
และยังคงสร้างผลกระทบอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์ระบาดที่ถูกระบุ “เป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน”
และ “นับเป็นการระบาดที่ยาวนานที่สุดและใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์” ของหลายๆ ประเทศ คาดว่ามีนกตายมากมายหลายล้านตัว
ที่ผ่านมาไม่เพียงแค่นกนานับสายพันธุ์เท่านั้นที่จากไป แต่เชื้อยังระบาดสู่สายพันธุ์อื่นๆ เช่น สิงโตทะเลที่พบซากเกลื่อนชายฝั่งอาร์เจนตินา ชิลี เปรู และอีกหลายประเทศ
1
ซึ่งสิ่งที่นักอนุรักษ์กังวลมากที่สุด คือ การอพยพของนกหลายสายพันธุ์ที่สามารถนำเชื้อกระจายออกไปไกลเกินกว่าจะจินตนาการ ทั้งขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้
นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า ไวรัสที่ติดต่อได้ง่ายนี้อาจนำมาซึ่ง “ภัยพิบัติทางระบบนิเวศครั้งใหญ่ที่สุดในยุคปัจจุบัน”
3
เนื่องจากระบบนิเวศในบริเวณขั้วโลกมีความเสี่ยงต่อโรคไข้หวัดนกเป็นพิเศษ เพราะสัตว์หลายชนิดไม่เคยสัมผัสกับไวรัสชนิดเดียวกันนี้มาก่อน จึงขาดภูมิคุ้มกัน
อ้างอิง
1
Polar bear dies from bird flu as H5N1 spreads across globe https://shorturl.asia/EYRhO
‘Catastrophic’: bird flu reaches Antarctic for the first time https://shorturl.asia/crmkJ
โฆษณา