7 ม.ค. เวลา 01:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

Design and development of smart grasp training pegboard for stroke patient

ออกแบบและพัฒนากระดานปักหมุดอัจฉริยะสำหรับฝึกการหยิบจับในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ในปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ซึ่งโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดอาการอัมพาตครึ่งซีกหรืออ่อนแรงครึ่งซีกตามมา โดยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมักมีอาการแขนอ่อนแรงที่แขนและขา ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วย และอาจส่งผลกับความเครียดและความวิตกกังวล รวมถึงมีอาการซึมเศร้าตามมา นอกจากนี้ยังพบว่าการฟื้นฟูของแขนมักช้ากว่าขา จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อการฝึกให้มีปริมาณมากและมีความต่อเนื่อง
สำหรับการฝึกการใช้งานมือและการหยิบจับ นักกิจกรรมบำบัดมักใช้กระดานปักหมุดเป็นอุปกรณ์การฝึกบำบัดทักษะการใช้มือ นอกจากนี้กระดานปักหมุดยังสามารถประเมินความคล่องแคล่วของการใช้มือและแขนได้ยกตัวอย่างเช่น Purdue Pegboard Test (PPT) และ Functional Dexterity Test (FDT)
โดยงานวิจัยนี้มุ่งเน้นออกแบบและพัฒนากระดานปักหมุดอัจฉริยะสำหรับฝึกการหยิบจับในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยเป็นอุปกรณ์ในการฝึกให้ผู้ป่วยที่มีความพกพร่องทางการใช้มือและแขนโดยการหยิบจับ การเอื้อม การหยิบจับ และการเคลื่อนย้ายสิ่งของ โดยมีรูปแบบการจับที่หลากหลาย โดยอุปกรณ์มีจำนวนช่องทั้งหมด 9 ช่อง นอกจากนี้ตัวอุปกรณ์จะมีการบันทึกเวลาและข้อมูลในการฝึก คืออัตราการตอบสนอง (response time) และเวลาในการทำกิจกรรม โดยสามารถนำข้อมูลออกไปวิเคราะห์ได้ผ่านหน่วยความจำ MicroSD card
(ภาพที่ 1) ทดสอบเปรียบเทียบความแม่นยำในการจับเวลาของอปุกรณ์กับนาฬิกาจับเวลา
โดยได้ทดสอบเปรียบเทียบความแม่นยำในการจับเวลาของอุปกรณ์โดยรวมกับนาฬิกาจับเวลา (ภาพที่ 1) โดยเทียบเวลาที่วัดได้โดยอุปกรณ์กับระยะเวลาที่วัดได้จากนาฬิกาจับเวลา โดยเทียบกับในแต่ละหมุดที่วาง ซึ่งเวลาที่วัดคือระยะเวลาตั้งแต่เริ่มให้สัญญาณเริ่มกิจกรรม โดยนับต่อไปจนถึงสิ้นสุดการวางหมุดหมุดที่ 9
(ภาพที่ 2) ผลการทดสอบเปรียบเทียบความแม่นยำในการจับเวลา
จากผลการทดสอบ (ภาพที่ 2) ทำให้ทราบว่าระบบพื้นฐานของอุปกรณ์สามารถทำงานได้ตามจุดมุ่งหมาย โดยสามารถตรวจจับการวางหมุดได้อย่างถูกต้อง โดยมีความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยอยู่ที่ 0.26 วินาที ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์ต้นแบบกระดานปักหมุดอัจฉริยะมีความแม่นยำเพียงพอในการตรวจจับการวางหมุด ทำให้ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีผู้จับเวลาขณะฝึก ทำให้ผู้ฝึกสามารถฝึกได้ด้วยตัวเอง และมีข้อมูลประวัติการใช้งานเก็บไว้สำหรับผู้ดูแลที่ต้องการติดตามความก้าวหน้า
แหล่งที่มา
A. Techamaneesathit & J. Chuanasa, ‘Design and development of smart grasp training pegboard for stroke patient’, The 36th Conference of Mechanical Engineering Network of Thailand, Thailand, 2022
โฆษณา