6 ม.ค. เวลา 10:24 • ความคิดเห็น

สามวิถีนวัตกรรมของ Masayoshi Son

Masoyoshi Son หนึ่งในมหาเศรษฐีโลกชาวญี่ปุ่น เจ้าของ Softbank และกองทุนนวัตกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกระดับแสนล้านดอกล่าร์อย่าง Vision fund ที่ล่าสุดกำลังบุกตะลุยลงทุน AI อย่างบ้าเลือด Son ขึ้นชื่ออย่างมากด้าน ความบ้าระห่ำ ความกล้าได้กล้าเสีย กล้าเสี่ยงและมองการณ์ไกล เขาเป็นผู้ลงทุนใน Alibaba และบริษัทเทคในยุคเริ่มต้นหลายบริษัทที่ได้ผลตอบแทนกลับมามหาศาลและก็เป็นผู้เลือกลงทุนใน Wework ที่อื้อฉาวเช่นกัน
4
Son เริ่มต้นชีวิตที่เรียกได้ว่าติดลบ เป็นรุ่นสองของผู้อพยพเกาหลีที่ญี่ปุ่นยากจนซึ่งถูกทรีตเป็นพลเมืองชั้นสอง แต่ Son มีความฝันและมีความทะเยอทะยานอย่างมาก พยายามดิ้นรนหาไอเดียหาคำปรึกษาจนได้มีโอกาสไปเจอขวัญใจของเขา Den Fujita ที่เป็นมหาเศรษฐีที่โด่งดังเจ้าของแมคโดนัลด์ญี่ปุ่นในสมัยนั้นผู้แนะนำเขาว่าให้ไปเรียนคอมพิวเตอร์ที่สหรัฐ ซึ่งในยุคนั้นเพิ่งเป็นยุคเริ่มต้นของคอมพิวเตอร์
1
เขาเลยไปเริ่มเรียนที่คาลิฟอร์เนียด้าน computer science และเริ่มคิดที่จะหาทางทำเงินก้อนแรกเพื่อเดินตามความฝันที่จะประสบความสำเร็จ เขาคิดค้นนวัตกรรมต่างๆมากมาย ไปจดลิขสิทธิ์เป็นว่าเล่น เป็นร้อยเป็นพันไอเดีย
4
จนในที่สุดก็คิดเรื่องแปลภาษา (electronic translator) ในบริษัท sharp ในมูลค่า 1.7 ล้านเหรียญในตอนที่ยังเรียนหนังสืออยู่ เป็นเงินก้อนแรกที่เอามาต่อทุนหลังจากกลับมาที่ญี่ปุ่น หลังจากนั้น เรื่องราวอันโลดโผนของเขาก็กลายเป็นตำนานหนึ่งของธุรกิจนวัตกรรมโลก
3
มีผู้วิเคราะห์ไว้ถึงความสำเร็จช่วงต้นๆของMasayoshi Son สมัยเรียนหนังสือว่าเป็นคนที่กล้าคิดไอเดียและกล้าลองทำอย่างไม่กลัวล้มเหลว Son เคยเล่าถึงช่วงที่เขาเรียนหนังสือและพยายามคิดค้นนวัตกรรมต่างๆว่า เขามีหลักคิด invention อยู่สามประการ ประการแรกคือการหาทางแก้ปัญหา (solutions to problem) โดยมองหาปัญหาให้เจอก่อนแล้วหาไอเดียหรือวิธีที่แก้ปัญหานั้น เช่น เขาเคยคิดจะทำดินสอทรงเหลี่ยมเพราะรำคาญดินสอกลมๆที่ชอบกลิ้งตกโต๊ะเป็นต้น
7
ประการที่สองคือการลองคิดในมุมกลับ (lateral thinking) อะไรที่สีแดงก็ลองทำขาว อะไรกลมก็คิดเป็นเหลี่ยม อะไรเล็กก็ทำใหญ่ อะไรใหญ่ก็ทำเล็ก หรือที่เขาคิดไอเดียอย่างหนึ่งคือการเอารูปทรงสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมมาทำไฟจราจรเพื่อให้คนที่บอดสีเข้าใจ
9
ประการที่สามคือเอาสองอย่างที่อยู่แยกกัน เอามาผสมกันแบบง่ายๆ เพื่อความสะดวกและแปลก เช่นเอาวิทยุกับเทปอัดเสียงมาผสมกันเป็น radio cassette player ซึ่งเอาเข้าจริงๆแล้วเขาประสบความสำเร็จกับวิธีคิดประการที่สามมากที่สุดในยุคสมัยนั้น
4
การมองสิ่งต่างๆ ที่เป็นอยู่แล้วคิดในสามมุมนี้ของ Son นั้นเป็นหลักการง่ายๆ ของการคิดนวัตกรรม แม้ว่า Son จะเน้นไปด้านคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยี แต่สามวิถีนี้ก็น่าจะมาปรับใช้กับสาขาอื่นๆ และทำให้เรามองของเดิมๆที่ทำอยู่ต่างออกไปและอาจจะพาไปสู่นวัตกรรมอะไรใหม่ๆก็ได้
3
ที่สำคัญกว่าวิธีคิดก็คือปริมาณ การลงมือทำและผิดพลาดล้มเหลว โดนบ้างไม่โดนบ้าง เพราะ Son เองก็เคยเล่าว่าเขาคิดไอเดียเป็นพันๆอย่างในช่วงนั้น บางอย่างก็ใช้ได้แต่ไม่ทำเงิน บางอย่างก็ไม่มีความต้องการ เหลือไม่กี่อย่างที่ทำเงินเชิงพาณิชย์ได้ แต่พอโดนแล้วก็คุ้มเกินคุ้ม
2
ซึ่งก็ไม่ต่างกับ inventor เก่งๆคนอื่นอย่างเช่น Edison ที่หมกมุ่นกับการประดิษฐ์ไส้หลอดไฟ ลองผิดลองถูกไปเป็นพันเป็นหมื่นครั้งกว่าจะสำเร็จ และมีคำพูดที่เราได้ยินกันบ่อยๆและแสดงถึงวิธีที่ทำไปเรื่อยๆแบบไม่กล้วล้มเหลวของเหล่านวัตกรนี้ได้เป็นอย่างดีที่ว่า
2
“ I have not failed. I just found 10,000 ways that won’t work “
5
โฆษณา