6 ม.ค. เวลา 16:38 • ธุรกิจ
นครปฐม

ปัจจัยอะไรที่ทำให้นครปฐม กลายเป็นทำเลทองของนักลงทุนในปี 2566

วันนี้แอดมินขอรวบรวมคำตอบมาให้ค่ะ
1.การเปิดตัวของเซ็นทรัลนครปฐมในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 กับโครงการ Mig Use Central Catchment ที่เชื่อมแหล่ง Shopping Mall ของเซ็นทรัลเข้ากับธุรกิจ Wellness ใกล้เคียงอย่างโรงพยาบาลกรุงเทพสนามจันทร์และโรงพยาบาลสินแพทย์เพื่อรองรับกับสังคมผู้สูงอายุ อาศัยความเป็นกิมมิคในเรื่องประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เมืองท่องเที่ยว เมืองเกษตรกรรมและเมืองอุตสาหกรรมมาไว้ด้วยกัน
ซึ่งทำเลของเซ็นทรัลนครปฐม ถือว่าเป็นประตูสู่ภาคตะวันตกและภาคใต้ของไทย การเปิดตัวของเซ็นทรัลนครปฐมเป็นการขยายกลุ่มลูกค้าสู่พื้นที่ใกล้เคียงอย่างจังหวัด ราชบรีและกาญจนบุรีเพิ่มขึ้นด้วย
2. จังหวัดนครปฐมถือเป็นเมืองแห่งจุดศูนย์กลางของสถานศึกษาชั้นนำระดับประเทศ อาทิมหาวิทยาลัยมหิดล(ศาลายา) มหาวิทยาลัยศิลปากร(สนามจันทร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(กำแพงแสน) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชมงคลรัตนโกสินทร์ และมหาวิทยาลัยประจำจังหวัดอย่างมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
นอกจากนี้โรงเรียนชื่อดัังต่างๆ ก็กระจายตัวอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนกาญจนาภิเษก(พระตำหนัก) โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัยและโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ซึ่งทำให้จังหวัดนครปฐมกลายเป็นเมืองศูนย์กลางการศึกษาทีีมีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ
3.จังหวัดนครปฐมเป็นเมืองเก่าที่มีอารยธรรมเก่าแก่นับพันปียังแต่สมัยทาราวดี ห่างจากกรุงเทพมหานครราว ๆ 50 กิโลเมตร ทำให้นครปฐมกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอารยธรรมที่เป็นจุดมุ่งหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวสายบุญที่แวะเวียนกันมากราบไหว้ขอพรองค์พระปฐมเจดีย์กันไม่ขาดสาย
นอกจากนี้รอบๆ ตัวจังหวัด ยังรายล้อมไปด้วยวัดวาอารามชื่อดังต่าง ๆ อาทิ เช่น วัดไร่ขิงพระอารามหลวง วัดกลางบางพระ วัดใหม่สุประดิษฐาราม วัดกลางบางแก้ว วัดบางพระดอนขนาก วัดธรรมปัญญาราม ทำให้จังหวัดนครปฐมกลายเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศ
4.โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระดับอาเซียนด้วยทางยกะดับมอเตอร์เวย์สาย M81 ที่มีจุดเริ่มต้นโครงการจากบริเวณถนนวงแหวนกาญจนาภิเษก ใกล้เซ็นทรัลเวสต์เกต อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี สร้างพาดผ่านตัวจังหวัดนครปฐมตั้งแต่ช่วงอำเภอพุทธมณฑล อำเภอนครชัยศรี และอำเภอเมืองนครปฐม ถึงอำเภอท่าม่วง จังหวัด
กาญจนบุรี ระยะทางราว ๆ 96 กิโลเมตร ซึ่งทางยกระดับดังกล่าวเป็นโครงการที่เชื่อมอาเซียนตามนโยบายของ AEC จากประเทศไทยไปยังประเทศเมียนมาร์ ด้วยถนนสายกาญจนบุรี -ทวาย นอกจากนี้ยังมีโครงการทางยกระดับมอเตอร์เวย์สาย M8 นครปฐม-ชะอำ ที่เชื่อมจากทางยกระดับสาย M 81 จากจุดเชื่อมต่อนครชัยศรีตัดผ่านอำเภอสามพราน เข้าพื้นที่ปากท่อราชบุรี และมีจุดสิ้นสุดที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
5.โครงการขนส่งรถไฟสายคู่ นครปฐม-ชุมพร ระยะทางกว่า 421 กิโลเมตร ที่จะเข้ามาช่วยยกระดับการเดินทางและลดระยะเวลาในการเดินมางจากกรุงเทพ ถึงชุมพร ได้มากขึ้น25-30 เปอร์เซ็นต์ โดยการเดินจากจากกรุงเทพถึงหัวหินจะใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมงจากเดิม 4 ชั่วโมง ซึ่งทำให้นครปฐมก็กลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการเชื่อมโยงการเดินทางระบบรางที่สำคัญของฝั่งตะวันตกอีกด้วย
6.โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนเส้นตะวันตกเชื่อมต่อจากสถานีตลิ่งชัน ถึงสถานีศาลายา รวมระยะทาง14.8 กิโลเมตรซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2569
7.แผนการก่อสร้างสนามบินนครปฐม ช่วงพื้นที่ อำเภอนครชัยศรีและอำเภอดอนตูม บริเวณวัดกลางบางพระ โดยมีแผนเชื่อมต่อโครงการจากทางยกระดับมอเตอร์เวย์สาย M81 และรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนมายังสนามบินอีกด้วย เป็นโครงการที่รองรับผู้โดยสารด้านตะวันตกของกรุงเทพมหานครอย่าง นนทบุรี นครปฐม ราชบุรีและกาญจนบุรี รวมถึงตั้งเป็นสนามบินสำหรับเครื่องบินส่วนตัว เครื่องบินเช่าเหมาลำ และตั้งเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องบิน
ซึ่งจากแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวทำให้ ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์โดยรอบพื้นที่จังหวัดนครปฐม ขยับตัวเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่ผ่านมาอย่างรวดเร็ว โดยบางโครงการมีแผนการเปิดให้บริการในช่วงปี 2567-2569 ทำให้ทำเลพื้นที่จังหวัดนครปฐมยังรอการพัฒนาอยู่เป็นจำนวนมาก ถื่อได้ว่านี่คือโอกาสทองของนักลงทุนและคาดว่าหลังจากที่โครงการต่าง ๆ เริ่มเปิดให้บริการครบถ้วนจะทำให้ราคาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่จังหวัดนครปฐมเป็นราคาที่มีมูลค่าสูงขึ้นแบบมหาศาล
ที่มา: จุฬา สุขมานพ; สำนักงานแผนนโยบายขนส่งและการจราจร www.otp.go.th
โฆษณา