7 ม.ค. เวลา 14:00 • ประวัติศาสตร์

• รู้ไหมจริง ๆ แล้วจอมพล ป. ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับ ‘ผัดไทย’

เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยได้ยินเรื่องเล่าที่ว่า เมนูอาหารไทยชื่อดังอย่างผัดไทยนั้น มาจากไอเดียของจอมพล ป. พิบูลสงคราม เพื่อแก้ไขปัญหาข้าวยากหมากแพงในภาวะสงคราม และสร้างเมนูที่สะท้อนถึง ‘ความเป็นไทย’ ตามอุดมการณ์ชาตินิยม
แต่รู้หรือไม่ว่าความจริงแล้ว จอมพล ป. ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับผัดไทย เพราะไม่มีหลักฐานชิ้นใดเลยที่บอกว่า จอมพล ป. เป็นผู้คิดค้นผัดไทย เพราะสิ่งที่จอมพล ป. ทำนั้น คือการสนับสนุนให้คนไทยกินก๋วยเตี๋ยวต่างหาก
1
ในภาวะสงครามอาหารหลักของคนไทยอย่างข้าวมีราคาแพง ดังนั้นรัฐบาลของจอมพล ป. จึงสนับสนุนให้ประชาชนหันมากินก๋วยเตี๋ยว เพราะก๋วยเตี๋ยวทำจากข้าวหักที่มีราคาถูกกว่า ที่สำคัญยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศด้วย เรื่องนี้สอดคล้องกับคำปราศรัยที่จอมพล ป. เคยกล่าวไว้ในเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 ความว่า
2
อยากให้พี่น้องกินก๋วยเตี๋ยวให้ทั่วกัน เพราะก๋วยเตี๋ยวมีประโยชน์แก่ร่างกาย มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน พร้อมทำได้เองในประเทศไทย ทุกอย่างราคาก็ถูก หาได้สะดวกและอร่อยด้วย
2
ถ้าพี่น้องชาวไทยกินก๋วยเตี๋ยวคนละหนึ่งชามทุกวัน คิดชามละห้าสตางค์ วันหนึ่งจะมีคนกินก๋วยเตี๋ยวสิบแปดล้านชาม ตกลงวันหนึ่งเงินค่าก๋วยเตี๋ยวของชาติไทย หนึ่งวันเก้าสิบล้านสตางค์เท่ากับเก้าแสนบาท เป็นจำนวนเงินหมุนเวียนมากพอใช้
เงินเก้าแสนบาททุก ๆ วันนี้ ไหลไปสู่มือชาวไร่ ชาวนา ชาวทะเล ทั่วกันไม่ตกไปถึงมือใคร และเงินบาทก็มีราคาหนึ่งบาท ซื้อก๋วยเตี๋ยวได้เสมอ ไม่ใช่ซื้ออะไรไม่ได้อย่างทุกวันนี้ ซึ่งเท่ากับไม่มีประโยชน์เต็มที่ในค่าของเงินมันเอง”
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ถ้าจอมพล ป. ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือคิดค้นผัดไทย แล้วผัดไทยล่ะมีที่มาจากไหน เรื่องนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับก๋วยเตี๋ยวที่เป็นเมนูเส้นจากจีน โดยคนไทยเริ่มรู้จักกับก๋วยเตี๋ยวตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว
ส่วนเมนูในลักษณะที่เป็น ‘ก๋วยเตี๋ยวผัด’ ที่คล้ายคลึงกับผัดไทยนั้น ปรากฏครั้งแรกในหนังสือสูตรอาหาร ‘แม่ครัวหัวป่าก์’ ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ที่ตีพิมพ์ปลายสมัยรัชกาลที่ 5 กับเมนูที่เรียกว่า ‘เข้าผัดหมี่’ (ข้าวผัดหมี่)
1
เข้าผัดหมี่มีขั้นตอนในการทำคือ นำหอมและกระเทียมมาเจียวในน้ำมันหมู จากนั้นใส่หมู ไก่ กุ้ง ปูทะเล เต้าหู้เหลืองหั่น พอหอมดีจึงเทข้าวสวยลงผัดต่อ จากนั้นก็ใส่ถั่วงอก ใบกุยช่าย ปรุงรสด้วยเต้าเจี้ยว น้ำตาลทราย น้ำปลา น้ำส้มสายชู เสร็จแล้วโรยหน้าด้วยไข่เจียว ผักชี พริกไทย พริกป่น ปิดท้ายด้วยมะนาวหั่นซีกและผิวส้มซ่า
มีการสัณนิษฐานว่า เมนูข้าวผัดหมี่หรือเมนูก๋วยเตี๋ยวผัดแบบอื่น ๆ ในช่วงเวลานั้น อาจจะเป็นต้นตอหรือส่งอิทธิพลไปถึงผัดไทยในเวลาต่อมาก็เป็นได้ โดยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนในการทำ อย่างเช่นเปลี่ยนจากน้ำส้มสายชูเป็นน้ำมะขามเปียก หรือลดเนื้อสัตว์ต่าง ๆ แล้วเปลี่ยนไปใส่กุ้งแห้งแทน กลายเป็นที่มาของผัดไทยที่เลื่องชื่อในทุกวันนี้
1
*** Reference
• The Matter. ‘ผัดไทย’ ไม่ได้ประดิษฐ์ขึ้นสมัยจอมพล ป. เพราะสมัยนั้นเขารณรงค์ให้กิน ‘ก๋วยเตี๋ยวเจ๊ก’. http://bitly.ws/Sf8D
• Thairath Online. สุดย้อนแย้ง เมนู "ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย" ใครบอกว่า "จอมพล ป." คือผู้คิดค้น. http://bitly.ws/Sf8R
• ศิลปวัฒนธรรม. “ผัดไทย” ไม่ใช่นวัตกรรม จอมพล ป.?. http://bitly.ws/Sf92
#HistofunDeluxe
โฆษณา