9 ม.ค. เวลา 15:19 • ความคิดเห็น
เรื่องมีอยู่ว่า สิ่งที่คิดว่าเป็นบุญ คนเรานั้นมีกรรมอยู่ บุญนั้นเราควรทำกับผู้ที่ มีศีลสมาธิปัญญา ประพฤติปฏิบัติธรรม ..พอเราไปทำกับคนมีกรรม คนที่เค้าอยู่กับกรรม มีอารมณ์โลภโกรธหลง ทะเยอทะยานไม่หยุดหย่อน เราไปสงเคราะห์เค้า มันเป็นแค่ช่วยเหลือกันไป
บางที่เราคิดว่า ทำบุญ ..ทำกับอสรพิษ เหมือนเรื่องชาวนากับงูเห่า ทำกับสัตว์เดรัจฉาน สัตว์เดรัจฉาน..มันรู้จักดีชั่วได้มั้ย มันมีแต่สัญชาตญาณในรูปที่อาศัย ..แล้วมันจะกระจายบุญกุศลได้มั้ย ..มีจิตที่เค้าว่ามีพระเป็นที่พึ่งมั้ย มีสิ่งที่เค้าเรียกว่า รัตนะแสงสีของธรรม กระจายบุญกุศลได้มั้ย แต่นั้นก็เป็นเรื่องราวที่ยากจะเข้าใจในเรื่องราวของคำว่าบุญ ..ที่เราก็ได้ยินเรื่อย .
แต่ก็ไม่รู้จริง ว่าบุญนั้นเป็นอย่างไร ..ทำไมคนตายต้องการบุญ ..แต่เวลาไปคนไม่สนใจทำด้วยมือตนเอง ..
มันก็เป็นเรื่องราวของการคล้องเวรกรรม นึกว่าสงสาร ..แต่ไม่ใคร่ควรพิจารณาให้ดี ว่าสิ่งที่ช่วยไปมันจะกลับมามีพิษ ทำลายตัวเราเอง ..เมื่อทำบุญ ทำแล้วได้กรรม มันจะเป็นบุญกุศลเกิดขึ้นมั้ย เราก็ลองย้อนกลับมาดู ..เรื่องคนเรา บางคนญาติพี่น้องกัน แม่กระทั้งพ่อแม่ ที่เคยเลี้ยงดูกันมา เลี้ยงลูก..ได้บุญเป็นบุญมั้ย บางทีลูกก็กลับมาทวงกรรม กลับพ่อแม่เสียเอง ทำไมทำบุญเลี้ยงดูอุ้มชูมาไม่เกิดเป็นบุญ กลับได้กรรมมา มันมีอะไร ที่ซ่อนเร้นอยู่ .
เรื่องของบุญกุศล ที่ดี..เราก็เอากายพ่อแม่ ..นำปัจจัยที่เราได้มา แบ่งปันไปใส่บาตร ทำแบบไม่ยึด ..เรียกร้องให้ร่ำรวย .ทำไปเพื่อ จะได้ไม่ต้องมีกรรมมาเกิดแก่เจ็บตายอีก เพราะมีกายก็ต้องดิ้นรนเสาะแสวงหา เราก็ไปทำกับผู้ที่ ประพฤติปฏิบัติธรรม หนีเวรกรรม ..มีเครื่องหมายของธรรมครองที่เรือนกาย ..เหมือนเราเห็นผู้ที่ครองผ้ากาสาวพัสตร์ครองเครื่องหมายของธรรมเหลืองอร่าม เดินมา .ครองผ้ามา ..เราก็ทำจิตน้อมไปถึงพระพุทธเจ้า
เราก็ทำบุญกับเครื่องหมายของธรรม ฝากไว้ในศาสนาของท่าน ..เพื่อให้เกิดเป็นบุญ ..บุญนั้นก็จะมาหล่อเลี้ยงกายให้เป็นผู้มีบุญ น้ำเลือดน้ำหนองที่เราไปกินเลือดเนื้อของผู้อื่นมา ก็จะได้พลอยมีบุญไปด้วย บุญที่เราธรรมนั้น ..เหมือนทำด้วยความนอบน้อมเต็มใจ ..มันก็เกิดเป็นแสงสีของบุญเกิดขึ้น ..กายก็เป็นสุข จิตก็เป็นสุข
..แต่นั้นก็ดูเหมือนจะยาก เพราะเวลาทำบุญเอาอารมณ์เอากายที่ลุกลี้ลุกลนไปกระทำ ..มันก็เลย ไม่เกิดเป็นบุญกุศล เรื่องของบุญเค้าจึงให้เอาจิตมากระทำ จิตที่นอบน้อม อ่อนน้อมเพื่อให้เกิดบุญ นอบน้อมต่อบุญ บุญของตนเองแท้ๆ..ก็ต้องทำด้วยความเต็มใจ เงินบาทเดียวก็เกิดเป็นบุญเมื่อทำด้วยจิตที่นอบน้อมอ่อนน้อมถมตน
โฆษณา