13 ม.ค. เวลา 03:00 • การตลาด

ทำไม ร้านอาหารต่างประเทศ ในไทย ชอบใช้ฟอนต์ “Tahoma” ทำป้ายร้าน ?

เชื่อว่าคนที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ น่าจะเคยเห็นป้ายภาษาไทย
ตามร้านอาหารต่างประเทศ อย่างร้านอาหารจีน ร้านอาหารเกาหลี ที่มีลักษณะคล้ายกับภาพประกอบของบทความนี้ ผ่านตากันมาสักครั้ง
2
และก็เชื่อเหลือเกินว่า หลายคนที่เห็นข้อความบนป้ายเหล่านั้น
ก็น่าจะรู้สึกหงุดหงิดใจไม่น้อย กับดิไซน์ที่มันดูอ่านยาก และไม่เข้ากับงานออกแบบเอาเสียเลย
ฟอนต์ที่ว่านี้ ชื่อว่า “Tahoma (ทาโฮมา)”
เรื่องนี้น่าสนใจ เพราะที่ผ่าน ๆ มาในมุมของคนทำธุรกิจนั้น
การเลือกฟอนต์ที่จะใช้สื่อสารกับผู้บริโภค ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก
โดยการเลือกฟอนต์ที่ดี จะช่วยให้สามารถสื่อถึงตัวตนของแบรนด์ ออกไปได้ชัดเจน
1
เช่น ถ้าเปรียบแบรนด์เป็นคนหนึ่งคนแล้ว
แบรนด์นั้น ๆ จะเป็นคนที่มีลักษณะนิสัยอย่างไร ?
1
ยกตัวอย่างกรณีของ IKEA ที่เลือกใช้ฟอนต์ชื่อว่า Noto IKEA ซึ่งพัฒนามาจากฟอนต์ชื่อ Noto ที่มี Google เป็นผู้ร่วมออกแบบ
4
โดย “Noto” มาจากคำว่า “No Tofu” หรือก็คือเป็นฟอนต์ที่จะ
ไม่มีตัวสี่เหลี่ยมเลย เพราะรองรับได้มากกว่า 800 ภาษา
สื่อให้เห็นว่า บริษัทพร้อมดำเนินกิจการไปทั่วทุกมุมโลกนั่นเอง
1
ทีนี้ แล้วแบรนด์ที่เลือกฟอนต์ Tahoma จะต้องเป็นคนแบบไหน ?
1
อะไรคือเบื้องหลังที่ทำให้ร้านอาหารต่างประเทศ นิยมเลือกใช้ฟอนต์ Tahoma ?
1
บทความนี้ MarketThink ขออาสาพาทุกคน ไปหาคำตอบของเรื่องนี้ไปด้วยกัน..
1
เริ่มจากคำถามที่ว่า ทำไม Tahoma ถึงเป็นฟอนต์ที่ขัดใจใครหลายคน ?
5
มีข้อมูลว่า Tahoma เป็นฟอนต์ที่ไม่ได้เกิดมาเพื่อการพาณิชย์ตั้งแต่แรก
แต่เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ของหน้าจอที่แสดงผลไม่คมชัดของคอมพิวเตอร์ ในปี 1994
6
โดยฟอนต์ Tahoma จะถูกออกแบบมาให้มีความโปร่งจากภายใน
และมีสัดส่วนที่อ่านง่ายกว่าฟอนต์อื่น ๆ เมื่อต้องแสดงผลบน “หน้าจอที่มีความละเอียดต่ำ”
2
อย่างไรก็ตาม ฟอนต์นี้ ดูจะเหมาะสมสำหรับการแสดงผลบนขนาดจอของคอมพิวเตอร์เท่านั้น
2
ทำให้เมื่อนำฟอนต์ Tahoma ไปขยายใหญ่ขึ้น และนำไปใช้กับงานประเภทอื่น ๆ
เช่น ใช้กับงานพิมพ์หรือขึ้นป้ายโฆษณา ฟอนต์ Tahoma ก็จะยิ่งดูไม่สมส่วน จนขัดตาใครหลายคน
7
เหมือนที่เราเห็นตามป้ายโฆษณา และตามเล่มเมนูต่าง ๆ ในร้านอาหารต่างประเทศนั่นเอง
1
ทีนี้.. ในเมื่อมันไม่เหมาะกับงานพิมพ์และงานโฆษณา
แล้วทำไมเราถึงมักเห็นร้านอาหารต่างประเทศ ใช้ฟอนต์ Tahoma กันเต็มไปหมด ?
2
ด้วยความที่ Tahoma เป็นฟอนต์ที่ใช้งานได้ดีกับหน้าจอที่มีความละเอียดต่ำ
1
คอมพิวเตอร์ในยุคแรก ๆ เลยมักมีการติดตั้งฟอนต์ Tahoma มากับตัวเครื่องเลย ทั้งบนระบบปฏิบัติการ Windows และ macOS
ก่อนจะถูกพัฒนาให้รองรับอีกหลายภาษามาก ๆ ตั้งแต่ช่วงต้นของยุค 2000
4
ทำให้ Tahoma กลายเป็นหนึ่งในฟอนต์ที่สะดวกและเหมาะมาก กับงานที่มีหลายภาษาในชิ้นเดียว เช่น ป้ายร้านหรือเมนูอาหาร
1
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราลองพิมพ์ภาษาต่างประเทศ คู่กับภาษาไทย
ด้วยการใช้ฟอนต์ Angsana New เทียบกับ Tahoma ในบางภาษา
2
จะเห็นได้ว่า การพิมพ์ข้อความทั้งหมดด้วยฟอนต์ Tahoma ที่รองรับหลายภาษา
จะให้ผลลัพธ์ที่ออกมาดูดี และเพี้ยนน้อยกว่าการพิมพ์ด้วย Angsana New
3
นี่เองจึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ว่า ทำไมเจ้าของร้านอาหารต่างประเทศ
ถึงเลือกใช้ Tahoma เป็นฟอนต์หลัก ตามสื่อต่าง ๆ ภายในร้าน
4
เพราะร้านอาหารเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะต้องการจับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่หลากหลาย ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
ด้วยการมีเมนูอาหารหรือชื่อร้าน ที่มีทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ อยู่ภายในงานชิ้นเดียวกันนั่นเอง
3
แม้การใช้ฟอนต์ Tahoma จะดูขัดใจไปบ้าง แต่ภาพรวมงานจะออกไปในทิศทางเดียวกัน
ซึ่งเป็นการคุม CI ของแบรนด์ได้ทั้งหมด
แถมอีกเหตุผลคือ ไม่ต้องกลัวใครมาฟ้อง เพราะเป็นฟอนต์พื้นฐาน
ไม่ใช่ฟอนต์ที่มีคนออกแบบขึ้นมาใหม่ แล้วเอาไปจดลิขสิทธิ์
 
นอกจากนี้ ด้วยความที่รองรับได้หลายภาษา ยังทำให้การใช้ฟอนต์ Tahoma แต่แรก
ทางเจ้าของร้านเอง ยังสามารถเพิ่มภาษาใหม่ ๆ เข้าไปในภายหลังได้โดยง่าย
โดยไม่กระทบกับของเก่า และไม่ต้องเสียเงินจ้างคนมาทำฟอนต์เลยสักบาทอีกด้วย
7
สรุปคือ แม้ Tahoma อาจจะดูเป็นฟอนต์ที่ขัดใจใครหลายคน
แต่ด้วยข้อดีบางอย่างที่กล่าวไป มันก็เลยเป็นอะไรที่ถูกใช้ตามกันมาเรื่อย ๆ
จนกลายเป็นสัญลักษณ์ที่น่ารักของร้านอาหารต่างประเทศในบ้านเราไปแล้ว
1
โดยแม้แต่ใน MV เพลง LALISA ของลิซ่า ศิลปินชื่อดัง
ก็ยังมีการนำป้ายร้านอาหารที่ใช้ฟอนต์ Tahoma มาเป็นส่วนหนึ่งของฉากด้วย..
โฆษณา