16 ม.ค. เวลา 03:21 • การศึกษา

สุเทพ โชคสกุล :ผู้ริเริ่มการสอนหนังสือด้วยเพลง และแต่งเพลง "แม่พิมพ์ของชาติ"

พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) เคยเขียนบทกลอนไว้ว่า “อันความรู้รู้กระจ่างเพียงอย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดคงเกิดผล อาจจะชักเชิดชูฟูสกนธ์ ถึงคนจนพงศ์ไพร่คงได้ดี...”
ผมได้อ่านประวัติของครูประชาบาลและอดีตศึกษานิเทศก์ท่านหนึ่งจากหนังสือประวัติครู พ.ศ.2539 ซึ่งท่านมีวิถีชีวิตเช่นเดียวกับบทกลอนข้างต้น ท่านเรียนจบการศึกษาในระบบแค่ชั้นประถมศึกษา แต่ท่านใฝ่ใจเรียนรู้ด้านเพลง ด้านดนตรีด้วยตนเองอย่างจริงจัง และลุ่มลึก จนทางการเห็นแววความสามารถจึงบรรจุให้เป็นครู ระหว่างเป็นครูก็ได้ศึกษาด้วยตนเองและสอบเพิ่มวุฒิทางครูมาโดยลำดับ จนสามารถสอบได้ประโยคครูมัธยม(พ.ม.) ท่านเป็นครูมา 15 ปี แล้วได้รับคัดเลือกให้เป็นศึกษานิเทศก์และอยู่ในตำแหน่งนี้ถึง 25 ปี
อดีตครูประชาบาลและศึกษานิเทศก์ท่านนี้ ท่านไม่มีปริญญา แต่ท่านได้สร้างผลงานอันยิ่งใหญ่ให้แก่วงการศึกษาจนได้รับยกย่องว่าเป็นราชาเพลงประกอบบทเรียน เป็นผู้ริเริ่มการสอนหนังสือด้วยเพลงเป็นคนแรกของเมืองไทย
ใครที่เคยได้ร้องและเคยได้ยินเพลง “ตรงต่อเวลา พวกเราต้องมาให้ตรงเวลา...” “ความเกรงใจ เป็นสมบัติของผู้ดี...” รวมทั้งเพลง “ความซื่อสัตย์” “อย่าเกียจคร้าน” ฯลฯ ล้วนเป็นผลงานการประพันธ์ส่วนหนึงของท่าน ...รวมถึงเพลง “แม่พิมพ์ของชาติ” ที่ท่านแต่งและขึ้นต้นว่า “แสงเรืองๆที่ส่องประเทืองไปทั่วเมืองไทย” คงไม่มีใครไม่รู้จักเพลงนี้ ... ท่านผู้นี้ก็คือ อาจารย์สุเทพ โชคสกุล ที่ผมจะนำประวัติและผลงานท่านมาเล่าให้ฟังตามรายละเอียดในบล็อก...ข้างล่างนี้ครับ
โฆษณา