18 ม.ค. เวลา 05:00 • ประวัติศาสตร์

[TIME LINE]: ประวัติตำรวจไทย

ยุคสมัย ‘สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ’ อาณาจักรอยุธยา (พ.ศ.1991-2031) :
ตราระเบียบการปกครองบ้านเมืองเป็น จตุสดมภ์ (เวียง วัง คลัง นา) และ ให้มีกิจการตำรวจขึ้นอยู่กับกรมเวียง แบ่งออกเป็นตำรวจพระนครบาล ตำรวจภูธร ส่วนตำรวจหลวงให้ขึ้นอยู่กับวัง
พ.ศ.1918 ให้ตราศักดินาตำรวจระบุเป็นตำแหน่งนายพลเรือนเหมือนข้าราชการฝ่ายอื่น โดยคัดเลือกมาจากผู้สืบเชื้อสายจากตระกูลที่ได้ทำคุณงามความดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และต้องเป็นคนที่กษัตริย์ไว้วางใจ
เนื่องจากตำรวจก็ต้องขึ้นตรงต่อกษัตริย์เพียงคนเดียว ทำให้กิจการตำรวจจัดตั้งเพื่อให้ทำหน้าที่ในวงจำกัด ไม่ได้ขยายไปทั่วประเทศ
*ตำรวจภูธร: รักษาความสงบในส่วนภูมิภาค(ต่างจังหวัด)
*ตำรวจนครบาล: รักษาความสงบในเขตนครหลวง(เมืองหลวง)
ยุคสมัย ‘พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว’ รัชกาลที่ 4 (พ.ศ.2394-2411) :
ชาวต่างชาติเข้ามาติดต่อค้าขายมากมายเช่น จีน ชาวตะวันตกผิวขาว(ฝรั่ง) แขกอาหรับ ฯ ดังนั้นจึงเกิดย่านการค้าขึ้นซึ่งมาพร้อมกับคดีความ ลัก วิ่ง ชิง ปล้น สุราเถื่อน แหล่งอบายมุข มากมายเกินว่ากำลังของระบบราชการสยามที่จะจัดการ
พ.ศ.2404 รัชกาลที่ 4 ให้เจ้าพระยายมราช(ครุฑ)เป็นแม่กอง รับผิดชอบกรมกองตระเวนโดยจ้างชาวพม่า อินเดีย สิงคโปร์ เริ่มทำงานครั้งแรกย่านตลาดพาหุรัด
พ.ศ.2405 รัชกาลที่ 4 จ้างกัปตัน เอส. เจ. เบิด เอมส์ มาเป็นผบ.ตำรวจคนแรก โดยประวัติเคยทำกิจการก่อนจะผันตัวมาเป็นกัปตันเรือสินค้าล่องเรือมายังแถบอินเดีย ลังกา ก่อนจะเบื่อทะเลและปักหลักอยู่สิงค์โปด้วยทำงานเป็นผู้ช่วยหัวหน้าตำรวจ
โดยจ้างให้กัปตันเอมมาจัดตั้งกองตำรวจเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อยภายในเขตนครหลวงหลวงตามแบบยุโรปเรียกว่า ‘กองโปลิศ’(POLIS) ภายใต้การดูแลของกระทรวงพระนครบาล
แต่เพราะชาวสยามไม่เข้าใจความเป็นข้าราชการตำรวจ กองโปลิศ จึงไม่อยากมาสมัคร กัปตันเอมจึงต้องไปว่าจ้างอดีตลูกน้องในสิงคโปร์ซึ่งมีเชื้อชาติเป็นแขกอินเดีย/มาลายู
ด้วยภาพลักษณ์การแต่งกายผ้าโพกหัวของข้าราชการโปลิศแขกในยุคคริ่มแรก จึงทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับของชาวสยามเท่าไหร่นัก บวกกับพูดสื่อสารกันไม่รู้เรื่อง ยามมีคดีขึ้นโรงขึ้นสารจึงเกิดความวุ่นวายเป็นอย่างมาก
ต่อมาเมื่อกองโปลิศมีลงานการจับกุม รักษาความสงบอีนเป็นที่ประจักษ์ มีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นส่งผลใหมีชาวสยามเข้ามาสมัครเป็นหนึ่งในกำลังของโปลิศ
ยุคสมัย ‘พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว’ รัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453) :
พ.ศ.2419 ปรับปรุงกองโปลิศและจัดตั้งตำรวจภูธรขึ้นเป็นทหารโปลิศ เพื่อเป็นกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยในต่างจังหวัดและสามารถปฏิบัติการทางทหารได้ด้วยโดยได้ว่าจ้างนาย G. Schau ชาวเดนมาร์ก เป็นผู้วางโครงการ
พ.ศ.2420 กองโปลิศ เปลี่ยนชื่อเป็น กรมกองตระเวนหัวเมือง
พ.ศ.2440 จัดตั้งกรมตำรวจภูธรขึ้นแทนกรมกองตระเวนหัวเมือง และขยายกิจการตำรวจไปยังหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคตามลำดับ
พ.ศ.2444 รัชกาลที่ 5 ให้ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมาเพื่อผลิตนายตำรวจให้ทำหน้าที่ผู้บังคับหมวดรับราชการในกรมตำรวจภูธร
พ.ศ.2445 รัชกาลที่ 5 ให้ย้ายที่ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจจากมณฑลนครราชสีมา ไปตั้งอยู่ที่ ต.ห้วยจระเข้ จ.นครปฐม
พ.ศ.2448 มีประกาศใช้พระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ทางตำรวจภูธรก็ได้ขออนุมัติใช้กฎหมายฉบับนี้เพื่อเกณฑ์คนเข้าเป็นตำรวจด้วยเช่นเดียวกัน
ยุคสมัย ‘พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว’ รัชกาลที่ 6 (พ.ศ.2453-2468) :
พ.ศ.2458 มีการรวบรวมกิจการตำรวจจากที่ กรมพลตระเวน(ตำรวจนครบาล) ขึ้นอยู่กับกระทรวงพระนครบาลและกรมตำรวจภูธรขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย กลายเป็น ‘กรมตำรวจภูธรและกรมพลตระเวน’ ก่อนปลายปีจะเปลี่ยนเป็น ‘กรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจนครบาล’
พ.ศ.2465 มีการรวมกระทรวงมหาดไทย กับ กระทรวงนครบาลเป็นกระทรวงเดียวกัน เรียกว่า ‘กระทรวงมหาดไทย’ กรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจนครบาล จึงโอนมาขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย
ยุคสมัย ‘พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว’ รัชกาลที่ 7 (พ.ศ.2468-2478) :
พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อจากกรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจนครบาลเป็น ‘กรมตำรวจภูธร’ แต่ยังคงแบ่งตำรวจออกเป็น 2 ประเภท คือ ตำรวจนครบาล, ตำรวจภูธร
พ.ศ.2475 เปลี่ยนชื่อจากกรมตำรวจภูธรเป็น ‘กรมตำรวจ’
ยุคสมัย ‘พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร’ รัชกาลที่ 9 (พ.ศ.2489-2559) :
พ.ศ.2541 รัชกาลที่ 9 ให้ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาโอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย ไปจัดตั้งเป็น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีการบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
เพราะความรู้สามารถมีการเปลี่ยนแปลง/เสริมเติมได้เสมอ หากมีท่านใดพบจุดที่ข้อมูลไม่ตรงกับที่ทราบมา สามารถถกและแบ่งปัญความรู้กันได้ค่ะ
โฆษณา