19 ม.ค. เวลา 05:00 • ประวัติศาสตร์

[TIME LINE]: ประวัติการรถไฟไทย

พ.ศ.2398 ซึ่งสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งอังกฤษ ได้ส่งรถไฟจำลองเข้ามาให้แก่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 4) ทำให้คนไทยเห็น ‘รถไฟ’ เป็นครั้งแรก
พ.ศ.2429 ในรัชกาลที่ 4 รัฐบาลไทยอนุมัติสัมปทานแก่บริษัทชาวเดนมาร์กเพื่อสร้างทางรถไฟสายแรกขึ้นในประเทศไทย ระหว่าง กรุงเทพฯ-สมุทรปราการ แต่บริษัทยังขาดทุนทรัพย์ รัชกาลที่ 4 จึงให้ยืมเงินส่วนหนึ่ง
พ.ศ.2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5) ให้เซอร์แอนดรู คลาก และบริษัทปันชาร์ด แมกทักการ์ด โลเธอร์ ดำเนินการสำรวจเพื่อสร้างทางรถไฟ
สายกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา และมีทางแยกตั้งแต่
เมืองลพบุรี - เชียงใหม่ 1 สาย
เมืองอุตรดิตถ์ - ตำบลท่าเดื่อริมฝั่งแม่น้ำโขงอีก 1 สาย
เมืองเชียงใหม่ไปยังเชียงราย - เชียงแสนหลวงอีก 1 สาย
พ.ศ.2433 รัชกาลที่ 5 ให้สถาปนากรมรถไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในสังกัดกระทรวงโยธาธิกา
พ.ศ.2434 เริ่มการสร้างทางรถไฟ ณ บริเวณย่านสถานีกรุงเทพ
พ.ศ.2436 เปิดทางรถไฟสายแรก กรุงเทพฯ-สมุทรปราการ ณ สถานีสมุทรปราการโดยใช้รถจักรไอน้ำลากจูง
พ.ศ.2439 รัชกาลที่ 5 เสด็จทรงเปิดการเดินรถไฟสายกรุงเทพ-นครราชสีมา*ที่เสร็จไปเพียงส่วน(กรุงเทพ-อยุธยา)
พ.ศ.2453 ในรัชกาลที่ 6 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน(บิดาแห่งการรถไฟไทย) ได้รักษาการตำแหน่งเจ้ากรมรถไฟสายเหนือ
ต่อมาได้พระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้รวมกรมรถไฟสายเหนือกับสายใต้เข้าด้วยกันเป็นกรมรถไฟหลวง
พ.ศ.2455 เปลี่ยนชื่อจากกระทรวงโยธาธิการใหม่ เป็น ‘กระทรวงคมนาคม’
พ.ศ.2460 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงพระองค์แรก
พ.ศ.2461 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน เริ่มจัดให้มีนักเรียนสอบชิงทุนของกรมรถไฟหลวงออกไปศึกษาวิชาการรถไฟและการพาณิชย์ ณ ต่างประเทศ
พ.ศ.2466 ปีสุดท้ายของการส่งส่งนักเรียนไปศึกษาวิชาการรถไฟและการพาณิชย์ ณ ต่างประเทศ
พ.ศ.2467 รัชกาลที่ 6 ให้เปลี่ยนนามจาก ‘กรมรถไฟ’ เป็น ‘กรมรถไฟหลวงแห่งกรุงสยาม’ (ร.ฟ.ล.)
พ.ศ.2468 รวมหน้าที่ราชการกระทรวงคมนาคมและกระทรวงพาณิชย์ตั้งเป็นกระทรวงคมนาคมและพาณิชยการ และได้ประกาศเปลี่ยนนามใหม่เป็น ‘กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม’
พ.ศ.2475 นโยบายทุนการศึกษาต่างประเทศได้รับผลอันสมบูรณ์
พ.ศ.2476 กรมรถไฟได้ถูกปรับปรุงให้มาสังกัดกระทรวงเศรษฐการ(กระทรวงพาณิชย์) และ รัฐบาลคณะราษฎรได้เปลี่ยนชื่อ กรมรถไฟหลวงแห่งกรุงสยาม เป็น ‘กรมรถไฟ’
พ.ศ.2482-2488 ช่วงของสงครามโลกครั้งที่ 2
ช่วงที่ไทยเข้าเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นตั้งแต่พ.ศ.2484 กิจการรถไฟต้องรับภาระในการขนส่งทหารและร่วมมือกับกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเพื่อขนส่งทหารเข้าสู่ยุทธภูมิ ด้วยว่าพูดคนละภาษาการทำงานร่วมกันจึงเป็นไปอย่างอยากลำบากก่อให้เกิดความขัดแย้งวุ่นว่ยระหว่างขนส่งหลายครั้ง
ช่วงท้ายสงคราม อาคารบ้านพักข้าราชการ อาคารสถานี สะพาน ล้อเลื่อน โรงงานโรงรถจักร อาณัติสัญญาณประจำที่และทางรถไฟ ฯลฯ ได้รับความเสียหายจากภัยทางอากาศ
พ.ศ.2494 ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงถูกจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ
โดยเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปโภค สังกัดกระทรวงคมนาคม และให้มีการโอนกิจการทั้งหมด ของกรมรถไฟไปอยู่ในการดำเนินงานของ การรถไฟแห่งประเทศไทย
พ.ศ.2503 ทางรถไฟสายแรกกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ ปิดกิจการ
เพราะความรู้สามารถมีการเปลี่ยนแปลง/เสริมเติมได้เสมอ หากมีท่านใดพบจุดที่ข้อมูลไม่ตรงกับที่ทราบมา สามารถถกและแบ่งปัญความรู้กันได้ค่ะ
โฆษณา