21 ม.ค. เวลา 05:45 • สุขภาพ

จีนถอดรหัสไวรัสจาก“ตัวนิ่มมลายู”อันตรายกว่าไวรัสโคโรนา ทั่วโลกขอให้ยุติ!

ศูนย์จีโนมเผยข้อมูลงานวิจัยจีนแยกไวรัสจากตัวนิ่มมลายู GX_P2V (short_3UTR) มีรหัสพันธุกรรมคล้ายกับไวรัสโคโรนา 2019 และส่งผลให้หนูทดลองติดเชื้อในสมองมีความรุนแรงถึงขั้นทำให้หนูเสียชีวิตทั้งหมดได้ภายใน 8 วัน ขณะที่กลุ่มผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกเรียกร้องให้ทีมวิจัยนี้ยุติโครงการวิจัยและทำลายไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าวในทันที
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ก็ได้ โพสต์เฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics เปิดเผยข้อมูลว่า ทีมวิจัยจีนแยกโคโรนาไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ “GX_P2V” ได้จากตัวนิ่มมลายู จากนั้นกระตุ้นให้กลายพันธุ์ในห้องปฏิบัติการเกิดสายพันธุ์ใหม่ “GX_P2V(short_3UTR)” ที่มีอันตรายสูงหนูทุกตัวที่ติดเชื้อจะตายทั้งหมด 100% เนื่องจากเซลล์สมองถูกทำลาย
ไวรัส GX_P2V (short_3UTR) สายพันธุ์อันตราย
เริ่มในปี 2560 ทีมวิจัยจีนนำโดย ดร. ยี่กวน (Yi Guan) จากมหาวิทยาลัยฮ่องกงสามารถแยกไวรัสโคโรนากลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง 2 (SARS-CoV-2) ซึ่งมีรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมคล้ายกับไวรัสโคโรนา 2019 ได้จาก“ตัวนิ่มมลายู (Malayan pangolins)” ซึ่งสัตว์สงวนเลี้ยงลูกด้วยนมที่ถูกลักลอบนำไปขายในจีน
ซึ่งมีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Nature ก่อนการระบาดของโควิด-19 ถึง 3 ปี ไวรัส SARS-CoV-2 ที่แยกได้ในขณะนั้นมีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า SARS-CoV-2 สายพันธุ์ “GX_P2V” ซึ่งย่อมาจาก "pangolin-CoV GX_P2V” ชี้ให้เห็นว่าตัวนิ่มเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีกประเภทหนึ่งนอกเหนือจากค้างคาวที่สามารถเป็นรังโรคของโคโรนาไวรัส SARS-CoV-2 ได้เช่นกัน
7 ปีถัดมาทีมวิจัยจีนเช่นกันนำโดย ดร. ลี่หัวซ่ง (Lihua Song) ในเครือของ Beijing Advanced Innovation Center for Soft Matter Science and Engineering, College of Life Science and Technology, Beijing University of Chemical Technology, ปักกิ่ง ประเทศจีน
ได้นำเสนอผลงานวิจัยเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2567 ในฐานข้อมูลออนไลน์ “bioRxiv” (ยังรอการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ) ระบุว่าทีมผู้วิจัยได้นำโคโรนาไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ “GX_P2V” มาเพาะเลี้ยงกับเซลล์ (vero cell) ในห้องปฏิบัติการ จนเกิดการกลายพันธุ์ มีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า “GX_P2V(short_3UTR)” เป็นสายพันธุ์ที่อันตรายมาก
สามารถแพร่กระจายผ่านละอองสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจขนาดเล็กที่กระจายและลอยอยู่ในอากาศเมื่อผู้ติดเชื้อไอ จาม หรือหายใจออก
โคโรนาไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ “GX_P2V (short_3UTR)” พบว่ามีจีโนมส่วนหนึ่งขาดหายไป 104 นิวคลีโอไทด์บริเวณ 3'-UTR เมื่อนำไปทดลองติดเชื้อกับหนูทดลอง ACE2-Transgenic (Human ACE2-Transgenic Mice) ซึ่งเป็นหนูที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมให้มี “ตัวรับ “ACE2” ( ACE-2 receptor) ของมนุษย์”
ปรากฏบนผิวเซลล์ของหนูได้ ไวรัสโคโรนา 2019 จะต้องอาศัยการเข้าจับกับตัวรับ “ACE2” บนผิวเซลล์ก่อนแทรกตัวเข้าไปเพิ่มจำนวนในเซลล์ การปรับเปลี่ยนนี้ทำให้หนูสามารถติดเชื้อไวรัสโควิด 2019 ได้เช่นเดียวกับมนุษย์ และพัฒนาอาการคล้ายกับที่พบในมนุษย์
หนูทดลอง ACE2-Transgenic เหล่านี้หลังติดเชื้อจะมีน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ตั้งท่าก้มตัวและเดินช้าอย่างไม่น่าเชื่อ ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตภายใน 8 วันหลังการติดเชื้อ ไวรัสมีการแพร่ระบาดไปยังอวัยวะต่างๆ ทั้งปอด กระดูก ดวงตา หลอดลม และสมอง
การติดเชื้อในสมองมีความรุนแรงถึงขั้นทำให้หนูเสียชีวิตได้ และก่อนที่หนูติดเชื้อจะเสียชีวิต จะมีลักษณะเฉพาะคือดวงตาจะเปลี่ยนเป็นสีขาวโพลน
ทีมวิจัยจากจีนแถลงว่าการวิจัยนี้เป็น “แบบจำลองสำคัญที่จำเพาะ” เพื่อให้เข้าใจกลไกการก่อโรคของไวรัสที่เกี่ยวข้องกับ SARS-CoV-2 เพื่อหาวิธีป้องกันและรักษาโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะโควิด-19 และเน้นย้ำถึงความเสี่ยงที่การแพร่กระจายของ GX_P2V จากตัวนิ่มมาสู่มนุษย์ (zoonosis)
ทั้งนี้งานวิจัยดังกล่าวผู้เชี่ยวชาญอีกหลายคนเห็นต่าง เห็นว่าได้ไม่คุ้มเสีย มีความเสี่ยงสุ่มเกินไปหากไวรัสเกิดอุบัติเหตุหลุดลอดออกไปจากห้องปฏิบัติการ (lab leak) เกิดการระบาดระหว่างคนสู่คนไปทั่วโลก (pandemic) ซึ่งอาจทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และที่น่ากังวลกว่านั้นคือไวรัสดังกล่าวถูกใช้เป็นอาวุธชีวภาพ
ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ “GX_P2V (short_3UTR)” ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติแต่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น ดังนั้นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกเรียกร้องให้ทีมวิจัยนี้ยุติโครงการวิจัยและทำลายไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าวในทันที
หมายเหตุ
ตัวนิ่มหรือลิ่นมลายูหรือที่รู้จักกันในชื่อตัวนิ่มซุนดา พบได้ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นใน เมียนมา ไทย กัมพูชา ลาว มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม รวมถึงเกาะบอร์เนียว ชวา สุมาตรา และ หมู่เกาะซุนดาน้อย พบเป็นรังโรคของไวรัสหลายชนิด เช่นเดียวกับค้างคาว
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
โฆษณา