20 ม.ค. เวลา 09:02 • การศึกษา

การขออนุญาตฎีกาในคดีแพ่ง

การขออนุญาตฎีกาในคดีแพ่ง คือการขอให้ศาลฎีกาพิจารณาคดีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งจากศาลอุทธรณ์แล้ว โดยมีเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เงื่อนไขที่สำคัญในการขออนุญาตฎีกา มีดังนี้
👨‍⚖️คดีเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะและความสงบเรียบร้อยของประชาชน
👩‍⚖️คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ขัดกับบรรทัดฐานคำพิพากษาศาลฎีกาเดิม
👨‍⚖️คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เกี่ยวกับข้อกำหนดมาตราที่ยังไม่เคยมีคำพิพากษาของศาลฎีกา
👩‍⚖️คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ขัดกับคำพิพากษาที่เป็นที่สุดของศาลอื่น
👨‍⚖️เพื่อการพัฒนาการตีความกฎหมาย
🧑‍⚖️คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์มีความเห็นแย้งในสาระสำคัญและศาลฎีกาเห็นควรสมควรวินิจฉัย
🧑‍⚖️คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นหรือชั้นอุทธรณ์ขัดแย้งกันในสาระสำคัญและศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัย
👨‍⚖️คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อกฎหมายสำคัญที่ไม่สอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันกับประเทศไทย
ขั้นตอนที่สำคัญในการขออนุญาตฎีกา มีดังนี้
📃ให้ยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีนั้นภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์
📑ให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคำร้องพร้อมคำฟ้องฎีกาดังกล่าวไปยังศาลฎีกา
📈ให้ศาลฎีกาพิจารณาวินิจฉัยคำร้องให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว
โฆษณา