24 ม.ค. เวลา 17:18 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

สงครามไมโครชิประหว่างอเมริกากับจีนมุ่งสู่อวกาศ เมื่อจีนเริ่มทำการทดสอบชิปนับ 100 บนสถานีอวกาศเทียนกง

โดย South China Morning Post รายงานว่ามีชิปประมาณ 20 ตัวแล้วที่ผ่านการทดสอบใช้งานในสภาพแวดล้อมสุดโหดในอวกาศ ซึ่งมีชิปต่าง ๆ ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีการผลิต 28-16 นาโนเมตร
2
ทั้งนี้ชิปประมวลผลที่ใช้งานในอวกาศนั้นส่วนใหญ่ไม่ได้ผลิตด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ล้ำยุคที่สุด(อย่างชิป GPU ในปัจจุบันที่เอามาประมวลผล AI กันก็ไปถึงระดับ 5 นาโนเมตรแล้ว) เพราะชิปเหล่านี้แม้จะมีพลังประมวลผลสูงแต่ก็ยังไม่รู้ว่าพวกมันสามารถใช้งานได้แบบไว้ใจได้ในสภาพแวดล้อมสุดขั้วในอวกาศที่จะต้องเจอกับอุณหภูมิร้อน-เย็นจัดและรังสีอวกาศพลังงานสูง
2
สารพัดอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์บนกล้องเจมส์ เวบบ์ ก็ต้องอาศัยชิปประมวลผลในการทำงาน
อย่างกล้องโทรทรรศน์อวกาศ เจมส์ เวบบ์ ที่เรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์สำรวจอวกาศล้ำที่สมัยที่สุด แต่ชิปประมวลผลที่เป็นหัวใจการควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ในตัวกล้องนั้นคือ RAD750® radiation-hardened PowerPC microprocessor ซึ่งผลิตด้วยเทคโนโลยีการผลิต 250 นาโนเมตร ทำงานด้วยความเร็ว 118 MHz ช้ากว่า Smart phone ในท้องตลาดปัจจุบันเกือบทุกรุ่น
6
แต่แน่นอนว่า RAD750® นั้นถูกออกแบบมาให้ใช้งานอย่างทนถึกไว้ใจได้แม้ว่าจะต้องไปล่องลอยอยู่ในอวกาศและเผชิญรังสีปริมาณสูง
2
หน้าตาของ RAD750® ผลิตโดย BAE SYSTEMS
ทั้งนี้คาดว่าเหล่าชิปประมวลผลรุ่นใหม่ ๆ จากผู้ผลิตชิปในประเทศจีนกำลังถูกทยอยส่งขึ้นสู่สถานีอวกาศเทียนกงเพื่อทำการทดสอบใช้งานกับระบบปฏิบัติการ SpaceOS ที่พัฒนาใช้งานเองในสถาบันอวกาศต่าง ๆ ของจีน
2
เป้าหมายก็เพื่อทำการทดสอบใช้งานชิปต่าง ๆ เหล่านี้พร้อมกันนับร้อยตัวบนสถานี แม้ไม่ใช่งานง่ายแต่ก็ถือว่าเป็นความตั้งใจแบบหวังผลในการเป็นผู้นำเทคโนโลยีอวกาศของจีน
2
ภาพเปรียบเทียบภายในสถานีอวกาศเทียนกงกับสถานีอวกาศนานาชาติ
โดยในการทดสอบชิปเหล่านี้จะถูกนำไปติดตั้งไว้นอกตัวสถานีในขณะที่ปล่อยให้มีการใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ ไม่ใช่แค่รัน SpaceOS เพื่อดูว่าชิปเหล่านี้ยังสามารถทำงานได้ดีอยู่หรือไม่
1
ทั้งนี้คาดว่านอกจากชิปที่ใช้งานด้านพลเรือนแล้วพวกชิปที่พัฒนาใช้งานทางทหารก็อาจมีการทดสอบในสถานีเทียนกงด้วย ซึ่งนี่ถือเป็นจุดแข็งหนึ่งของการที่จีนมีสถานีอวกาศเป็นของตัวเองไม่ต้องไปยุ่งกับใคร
ISS แม้จะใหญ่กว่าเทียนกงแต่เจ้าภาพก็เยอะ
สำหรับสถานีอวกาศนานาชาตินั้นการจะทดสอบหรือทดลองอะไรนั้นเหล่าชาติผู้ร่วมพัฒนา ISS ทั้ง 15 ชาติต้องรับรู้และอนุมัติร่วมกันก่อน รวมถึงข้อห้ามในการทดลองเพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหาร
1
ซึ่ง NASA ก็เริ่มขยับในการหาทางพัฒนาชิปประมวลผลเพื่อใช้งานในภารกิจของตนในอนาคต โดยปีที่แล้วก็ได้มีการจ้างบริษัทเอกชนเพื่อพัฒนาชิปรุ่นใหม่โดยหวังว่าจะมีความเร็วในการประมวลผลมากกว่าที่ใช้งานอยู่อย่างน้อย 100 เท่า
ทั้งนี้สำหรับจีนแล้วน่าจะไม่ได้มอง NASA เป็นคู่แข่งในการพัฒนาชิปเพื่อใช้งานในอวกาศแล้ว หากแต่เป็นเอกชนอย่าง SpaceX ที่กำลังพัฒนาโครงการ Starlink ซึ่งแน่นอนว่าดาวเทียมหลายร้อยดวงที่ถูกส่งขึ้นไปในโครงข่ายนั้น SpaceX เลือกใช้ชิปประมวลผลที่มีอยู่ในท้องตลาดเพื่อคุมต้นทุนโดยแลกกับคาดการณ์อายุการใช้งานที่สั้นกว่า
1
ระยะโคจรของดาวเทียมและสถานีอวกาศ
รวมถึงจีนเองก็มีแผนพัฒนาโครงข่ายอินเตอร์เน็ตดาวเทียมของตัวเอง ทำให้มีแนวโน้มความต้องการชิปสำหรับใช้งานในอวกาศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเริ่มทดสอบชิปบนสถานีอวกาศเทียนกงนี้น่าจะสร้างความได้เปรียบในการพัฒนาชิปประสิทธิภาพสูง ราคาเป็นมิตรสำหรับใช้งานในอวกาศของจีน
จากสถานการณ์ปัจจุบันที่อเมริกาเองก็มีการส่งเสริมการผลิตชิปในประเทศ ลดการพึ่งพาฐานการผลิตจากจีน รวมถึงมาตรการต่างๆ เพื่อกีดกันไม่ให้จีนเข้าถึงเทคโนโลยีการประมวลผลที่ล้ำหน้า แต่ดูเหมือนว่าการพัฒนาชิปสำหรับใช้งานในอวกาศนั้นจีนกำลังจะเริ่มนำหน้าไปแล้วหรือเปล่า??

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา