27 ม.ค. เวลา 09:07 • ธุรกิจ

อัตลักษณ์จาก 5 กลุ่มชาติพันธุ์ สู่สินค้าหัตถกรรมประจำถิ่น

ในยุคสมัยที่เราให้การยอมรับสินค้าที่มีเอกลักษณ์และความคิดสร้างสรรค์ และพยายามผลักดันทุกอย่างในประเทศเราโดยการพัฒนาทั้งรูปแบบวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ควบคู่ไปกับงานศิลปะ ให้มาอยู่ภายใต้ร่มคำว่า “Soft Power” .
..จึงอยากชวนให้ผู้อ่านลองคิดเล่น ๆ ว่า ... ถ้าเราจะยอมจ่ายเงินซื้อเสื้อ Craft Handmade สไตล์พื้นเมืองร่วมสมัยจากต่างประเทศสักหนึ่งตัว กับ เสื้อ Craft Handmade ลักษณะเดียวกันจากผ้าที่ทอมือโดยกลุ่มชาติพันธุ์ทางภาคเหนือของประเทศไทย (มีเงื่อนไขที่สวยเหมือนกัน เนื้อผ้าคุณภาพใกล้เคียงกัน)...“เราจะยอมจ่ายเงินซื้อที่ราคาเท่าไหร่ ? ให้ราคาตัวไหนแพงกว่ากัน ? แพงกว่ากี่เท่า ?”
เป็นความจริงที่ทิ่มแทงใจเหล่าคนทำงานสร้างสรรค์ไม่น้อย ที่คนส่วนใหญ่ยังมองของในประเทศเป็นของราคาถูก และไม่พร้อมที่จะจ่ายเงินในราคาเดียวกัน ถึงแม้มาตรฐานสินค้าจะเท่ากัน อาจจะด้วยภาพจำของผ้าพื้นเมืองตามตลาดนัด หรือถนนคนเดิน ที่ราคาถูก หาซื้อง่าย และคิดว่าเนี่ยแหละคือเอกลักษณ์ของทางภาคเหนือ (คนส่วนใหญ่เรียกว่า “ผ้าแม้ว” แต่แท้จริงแล้วยังมีอีกหลายชาติพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์เรื่องผ้า)
แต่ที่ตลกร้ายยิ่งกว่านั้น คือ สินค้าราคาถูกเหล่านั้น บางชิ้นคือการผลิตและนำเข้าจากต่างประเทศ และบางชิ้นก็ใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตที่ทำลายพื้นดิน ต้นน้ำลำธาร และสิ่งแวดล้อม
ในวันที่สายลมแห่งทุนนิยมพัดแรง กลับมีคนหนึ่งที่กล้ายืนหยัดท้าทาย ด้วยความตั้งใจที่จะ “พัฒนาสินค้าจากกลุ่มชาติพันธุ์ให้เป็นที่ยอมรับ และเอาความคิดสร้างสรรค์มาเป็นเคล็ดลับในการตั้งราคา ให้สามารถตั้งราคาสูงกว่าตลาด แต่ผู้ซื้อยินดีที่จะจ่ายอย่างเต็มใจได้”
และผู้หญิงคนนั้น คือ พี่ยุจ (คุณยุจเรศ สมนา) ศิษย์เก่าคณะวิจิตรศิลป์ รุ่นที่ 19 จากรั้วม่วง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้นิยามตัวเองว่าเป็น “นักพัฒนา - ผู้พัฒนาทั้ง Process และ Product สร้างสรรค์” ปัจจุบันก่อตั้ง บริษัท เดอ คัวร์ จำกัด หรือ “De Quarr” กิจการเพื่อสังคมเกี่ยวกับงานหัตถกรรม ที่มีหน้าร้านสุดเท่ ตั้งอยู่บริเวณถนนสายชิค ถ.ราชวงศ์ ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ซึ่งถ้าใครผ่านร้านก็ต้องเหลียวมองอย่างแน่นอน เพราะร้านนี้มี Workshop ซึ่งคนแน่นเกือบตลอดทั้งปี
“Soft Power ขึ้นอยู่กับการถูกยอมรับ ดังนั้นกลยุทธ์การสื่อสารจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ” คุณยุจเรศ สมนา เจ้าของร้าน “De Quarr”
ย้อนกลับไปปี พ.ศ. 2564 “De Quarr” ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) โดยฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม เพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์สินค้า จากการดึงเอกลักษณ์ของ 5 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่
ไทยอง-ชุมชนหนองเงือก อ.ป่าซาง จ.ลําพูน
เอกลักษณ์ คือ ลวดลายยกดอก เทคนิคทอพิเศษหลายลวดลาย และความสามารถในการการทอผ้าผืนบาง
  • 1.
    กะเหรี่ยงโปว-ชุมชนแม่ต๋อม อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่เอกลักษณ์ คือ การทอผ้าลายทาง มัดหมี่เส้นยืน หนาแข็งแรง และความสามารถในการการทอผ้าผืนหนา
  • 2.
    กะเหรี่ยงโปว-ชุมชนแม่ต๋อม อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เอกลักษณ์ คือ การทอผ้าลายทาง มัดหมี่เส้นยืน หนาแข็งแรง และความสามารถในการการทอผ้าผืนหนา
  • 3.
    อาข่า-ชุมชนผาหมี อ.แม่สาย จ.เชียงราย เอกลักษณ์ คือ การปักผ้าตารางด้วยเทคนิคขั้นสูง
  • 4.
    ไทยวน-ชุมชนผางยอย อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เอกลักษณ์ คือ การทำผ้าจก การตกแต่งผ้า การเย็บตัดต่อ และการเย็บของใช้
5. ไทเขิน-ชุมชนท่ากาน อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ เอกลักษณ์ คือ ผ้าลายริ้ว เทคนิคปักตัดต่อ มีเทคนิคเหมาะสมสำหรับการเย็บเสื้อผ้า
📖 อ่านต่อได้ในบทความ อัตลักษณ์จาก 5 กลุ่มชาติพันธุ์ สู่สินค้าหัตถกรรมประจำถิ่น โดย พิชญาภา ศิริรัตน์ (กิ๊ฟ) นักพัฒนานวัตกรรม ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม NIA
#NIA #NIAArticle #SoftPower #Socialinnovation #CraftHandmade #นวัตกรรมเพื่อสังคม #กลุ่มชาติพันธุ์ #อัตลักษณ์พื้นถิ่น #สินค้าหัตถกรรมประจำถิ่น
โฆษณา