29 ม.ค. เวลา 10:55 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ทำไมประเทศญี่ปุ่นถึงแบก Debt to GDP 260% ได้แบบชิวๆ

ด้วยการใช้นโยบายขาดดุลการคลังมาตลอด ส่งให้รัฐบาลต้องออกพันธบัตรกู้ยืมมาใช้ ซึ่ง IMF คาดว่าประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก มี Debt to GDP ถึง 260% และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก
มีหลายปัจจัยที่ทำให้ญี่ปุ่นยังแบกหนี้ระดับนี้ได้แบบชิวๆ คือ
1. เป็นหนี้ที่แทบไม่มีต้นทุน เพราะดอกเบี้ยญี่ปุ่นต่ำมาก
2. เป็นพันธบัตรระยะยาว ช่วยให้รัฐบาลล๊อกต้นทุนหนี้ในระดับต่ำไปยาวๆ
3. ออกเป็นสกุลเงินท้องถิ่น ถือโดยคนในประเทศ (หลักๆก็ BoJ) ทำให้ไม่ต้องแบกความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ถ้ามีปัญหาเคลียร์กันง่าย
4. ดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นบวกแทบทุกเดือน มีสภาพคล่องไหลเข้ามาให้ใช้จ่ายไม่ขาดมือ
5. ภาคเอกชนมีเงินสดเหลือเยอะภาระหนี้ต่ำ
หัวหน้านักวิเคราะห์ระดับมหภาคญี่ปุ่นจาก JPMorgan มองว่าปัจจัยหลักที่หนุนให้ญี่ปุ่นแบกหนี้ได้ขนาดนี้ คือ การเสพติดนโยบายการเงินผ่อนคลาย
เรียกง่ายๆ ว่า ญี่ปุ่นมีหนี้ต้นทุนต่ำมาก แถมล๊อกต้นทุนระยะยาวไว้อีก มีเงินไหลเข้ามือให้ใช้ตลอด เจ้ามือเป็นคนในประเทศเคลียร์กันง่าย (BoJ)
แล้วอะไรจะเป็นจุดเริ่มต้นปัญหาหนี้ได้บ้าง?
การใช้นโยบายการเงินตึงตัวเร็วเกินไป ถ้าขึ้นดอกเบี้ยเร็ว ญี่ปุ่นอาจปรับตัวกับต้นทุนหนี้จำนวนมหาศาลที่เพิ่มขึ้นไวเกินไปไม่ทัน
แล้วในเมื่อสุดท้ายก็ต้องขึ้นดอกเบี้ย จะมีทางเลือกอะไรบ้างที่เลี่ยงไม่ให้หนี้ระเบิดออกมา?
ทางเลือกแรก ลดการใช้จ่ายภาครัฐ หรือ ขึ้นภาษีการบริโภค
แต่คงทั้งนักการเมืองและประชาชนคงไม่มีใครชอบทางเลือกนี้หรอก
อีกทางเลือก คือ สร้างหนี้ต่อ และภาระหลักตกเป็นหน้าที่ของ BoJ บริหารนโยบายการเงินให้เหมาะสม เพื่อกระตุ้นเงินเฟ้อ หนุนการบริโภคภายใน โดยเงินเฟ้อจะมีผลให้ทั้ง Nominal GDP เพิ่มขึ้น และมูลค่าหนี้ลดลง Debt to GDP ก็ลดลง ส่วนการบริโภคภายใน ถ้าฟื้นตัวอย่างยั่งยืนจะเปิดช่องให้รัฐบาลและ BoJ เริ่มส่งผ่านหน้าที่สร้างหนี้สู่ภาคเอกชน
มันจึงไม่แปลกเลยที่จะเห็น BoJ ดึงเวลาไม่ขึ้นดอกเบี้ยสักที เพื่อให้แน่ใจว่าเงินเฟ้อและเศรษฐกิจภายในกลับมาแล้วจริงๆ
โฆษณา