Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
eaksamwa
•
ติดตาม
29 ม.ค. 2024 เวลา 11:28 • ปรัชญา
มาฆบูชา : การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๓
วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี
คำว่า มาฆบูชา มาจากคำว่า มาฆปุรณมีบูชา
วันมาฆบูชา จึงหมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน ๓ ซึ่งได้แก่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน (เดือนตามจันทรคติ) วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็น ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔
วันมาฆบูชาปีนี้ ตรงกับวันเสาร์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗
หัวใจสำคัญแห่งวันมาฆบูชา คือโอวาทปาฎิโมกข์ เป็นคำสอนของพระพุทธองค์ซึ่งเป็นภาษาบาลีความยาว 3 คาถาครึ่ง ดังนี้
สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ
ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต ฯ
อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ
แปลความว่า
๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง ๒. การทำแต่ความดี ๓. การทำจิตใจให้ผ่องใส ทั้งหมดนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ขันติ คือความอดทน ถือเป็นตบะอย่างยิ่ง, พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงกล่าวว่า พระนิพพานเป็นธรรมอันสูงสุด, ผู้ที่ทำร้ายผู้อื่น ไม่ถือว่าเป็นบรรชิต, ผู้ที่เบียดเบียนคนอื่น ไม่ถือว่าเป็นสมณะ
๑. การไม่กล่าวร้าย ๒. การไม่ทำร้าย ๓. การสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ๔. ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ๕. การพักอยู่ ณ ที่นั่งนอนอันเงียบสงัด ๖. ความพากเพียรในอธิจิต ทั้งหมดนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
เป็นที่มาของการสั่งสอนสืบทอดกันมาว่า หัวใจของพระพุทธศาสนา ก็คือ การไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี และทำจิตใจให้ผ่องใส
อ่านข้อมูลเกี่ยวกับวันมาฆบูชาเพิ่มเติมได้ที่
https://eaksamwa.com/makha-bucha-day/
พุทธศาสนา
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย