11 ก.พ. เวลา 01:00 • ธุรกิจ

‘ห้องเช่า-หอพัก’ ธุรกิจใกล้จมน้ำ? หมดยุค ‘เสือนอนกิน’ ผลตอบแทนไม่เยอะเหมือนอดีต

แม้เป็น “ปัจจัยสี่” แต่ผันผวน-ขึ้นลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจ! “ธุรกิจหอพัก” เข้าข่าย “ธุรกิจเฝ้าระวัง” ด้านสมาคมธุรกิจห้องเช่า เชื่อ อพาร์ตเมนต์ยังไปต่อได้ ส่วนหอพักแยกชาย-หญิง เสื่อมความนิยม-ข้อจำกัดเยอะ-ยุคสมัยเปลี่ยน แนะผู้เล่นรายใหม่สำรวจตลาดก่อนลงทุน เหตุ ผลตอบแทนไม่ดีเหมือนอดีตแล้ว
ธุรกิจห้องพักให้เช่ามีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นโรงแรมรายวัน หอพักนักศึกษา อพาร์ตเมนต์ ตึกแถวพาณิชย์ ห้องแถว รวมไปถึงคอนโดมิเนียมก็นับว่าอยู่ใต้ร่มธุรกิจห้องเช่าเช่นกัน สำหรับ “สมาคมการค้าผู้ประกอบการธุรกิจห้องเช่า” ธิติวัฒน์ ลี้ภัยสมบูรณ์ อุปนายกสมาคมการค้าผู้ประกอบการธุรกิจห้องเช่าให้ข้อมูลกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า
ส่วนใหญ่สมาชิกภายใต้สมาคมเป็นกลุ่มผู้ประกอบการ “อพาร์ตเมนต์” ส่วน “ห้องแถว” และ “คอนโดมิเนียม” ค่อนข้างน้อย เพราะกลุ่มนี้มีจำนวนไม่มาก ทั้งยังเป็นนักธุรกิจประเภท “ฟรีแลนซ์” คือมีงานประจำทำอยู่แล้ว แต่ต้องการรายได้แบบ “Passive Income” จึงใช้วิธีการปล่อยเช่าคอนโดฯ และไม่ได้ติดตามข่าวสารการมีอยู่ของสมาคมฯ มากนัก
1
หากถามว่า เป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่ธุรกิจเหล่านี้จะล้มหายตายจากไปในท้ายที่สุด “ธิติวัฒน์” ให้ความเห็นว่า ต้องทำความเข้าใจตัวธุรกิจในเชิงภาพรวมก่อนว่า “ห้องเช่า” เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่เหมือนที่คนเราต้องกินข้าวทุกวัน เช่นเดียวกับที่พัก-ที่อยู่อาศัย ที่คนยังต้องใช้หลับนอน ที่พักอาศัยจึงผูกโยงกับผู้คนแนบแน่น-แยกออกจากกันไม่ได้ แต่สำหรับธุรกิจห้องเช่านั้นมีความพิเศษตรงที่เข้าไปตอบโจทย์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่ตามประเภทธุรกิจจำเพาะ
2
ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ “มาบตาพุด” จังหวัดระยอง มีนิคมอุตสาหกรรมเยอะ แรงงานถ่ายเทไปเยอะ ความต้องการห้องเช่าก็จะเพิ่มขึ้นทันที หน้าที่ของ “ห้องเช่า” จึงรองรับการอยู่อาศัยของกลุ่มคนที่หลากหลาย ตั้งแต่นักศึกษา วัยทำงาน ครอบครัว รวมถึงคนที่มีความจำเป็นต้องอยู่ไกลบ้าน ธุรกิจนี้จึงผูกพันกับปัจจัยเรื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่เป็นหลัก ไม่ว่าจะมีการเคลื่อนย้ายแรงงาน หรือโยกย้ายเพื่อไปศึกษาต่อต่างพื้นที่ ธุรกิจห้องเช่าเกิดขึ้นเพื่อรองรับสิ่งเหล่านี้ โดยที่ภาครัฐไม่ต้องลงทุนเอง
เมื่อธุรกิจห้องเช่าผันแปรไปตามความจำเพาะเจาะจงในแต่ละพื้นที่ ฉะนั้น หากพื้นที่ใดมีแนวโน้มซบเซาลง ธุรกิจห้องเช่าก็พลอยได้รับแรงกระแทกอย่างเลี่ยงไม่ได้ไปด้วย อย่างห้องเช่าใกล้กับสถานศึกษาได้รับผลกระทบจากช่วงการระบาดใหญ่
1
เพราะนักศึกษาเรียนออนไลน์กันมากขึ้น ความต้องการที่อยู่อาศัยจึงลดน้อยลง หรือห้องเช่าที่ใกล้กับอาคารสำนักงาน คนทำงานโดนคลื่นเลย์ออฟ ต้องกลับบ้าน ธุรกิจห้องเช่าในพื้นที่ใกล้เคียงก็แย่ไปด้วย จึงอาจพูดได้ว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเงื่อนไขปัจจัยเฉพาะของแต่ละพื้นที่มากกว่า หากจะกล่าวว่า ธุรกิจห้องเช่า-หอพักต้องเฝ้าระวังก็คงเป็นการมองแบบ “เหมารวม” จนเกินไป
หากเจาะจงไปที่หอพัก “ธิติวัฒน์” ระบุว่า คำจำกัดความของหอพัก คือรับเฉพาะนักเรียน นักศึกษา และมีการแยกชายหญิง รวมถึงมีข้อกำหนดกฏเกณฑ์ที่เข้มงวดกว่าห้องเช่ารูปแบบอื่นๆ ปัจจุบัน แม้แต่พื้นที่โดยรอบสถานศึกษาก็พบว่า ธุรกิจประเภท “หอพัก” แทบจะไม่เหลืออยู่แล้ว เพราะเป็นประเภทธุรกิจที่จำกัดตัวเองเกินไป ต้องแยกชายหญิง มี “พ.ร.บ. หอพัก” ควบคุมชัดเจน ที่พักใกล้สถานศึกษากจึงประกอบกิจการในรูปแบบ “อพาร์ตเมนต์” เกินครึ่ง
1
โฆษณา