4 ก.พ. เวลา 04:00 • ไลฟ์สไตล์

อะไรทำให้คิดนานหรือบางทีก็จำไม่ได้??

เมื่อเช้ากินข้าวกับอะไรเมื่อเพื่อเพื่อนถามตอนเที่ยงทั้งๆที่พึ่งกินไปเมื่อเช้านี่เองก็ใช้เวลานึกนาน พอนึกย้อนกลับไปเมื่อวานใส่เสื้อสีอะไรนะ จอดรถไว้หน้าตลาดแต่พอซื้อของเสร็จกลับจำไม่ได้ว่าจอดไว้ตรงไหน สารพัดความจำไม่ได้ที่โผล่มาในประจำวันในชีวิต หลายคนจึงสงสัยว่าฉันมีปัญหาเรื่องความจำหรือเปล่านะ ถึงจำรายละเอียดเล็กน้อยหรือแม้แต่เรื่องสำคัญที่ควรจำได้ไม่ค่อยได้ พลันไปหาตัวช่วยมาบำรุงสมอง หวังให้ช่วยความจำดีขึ้นกว่านี้สักหน่อย แต่เรากำลังแก้ปัญหาผิดจุดกันอยู่หรือเปล่านะ?
ลิซ่า เกโนวา (Lisa Genova) นักประสาทวิทยา บอกว่าการจำรายละเอียดเล็กๆน้อยๆไม่ได้อาจเป็นเพราะเราไม่ได้ให้ความสนใจมากกว่าจะเป็นปัญหาของความจำเพราะสมองของเราไม่อาจจำทุกเรื่องราวในชีวิตได้ เอาแค่ในหนึ่งวันตั้งแต่เราลืมตาตื่นมา ช่วงเวลาสิบกว่าชั่วโมงของเรานั้น เราก็จำได้แค่บางอย่าง บางช่วงเวลา ที่เราให้ความสนใจกับมัน หากเราต้องการที่จะจำอะไรสักอย่างได้แม่นๆ เราต้องการสองสิ่งด้วยกัน นั่นคือ การรับรู้ (perception) ไม่ว่าจะด้วยการมองเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น สัมผัส และความสนใจในสิ่งนั้น (attention)
เพราะในแต่ละวันมีเรื่องให้สนใจมากมาย สมองของเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับทุกย่างก้าว คอยรับรู้อยู่ตลอดว่าก้าวเท้าซ้ายที่หนึ่ง ก้าวเท้าขวาที่สอง หายใจเข้าครั้งที่แปดสิบสี่ กระพริบตาครั้งที่ยี่สิบหก สมองของเรามักจะเปิดระบบออโต้ไพลอตให้เรา ไปเรื่อยๆ ต้องรอให้มีอะไรให้จดจ่อสักอย่างโผล่ขึ้นมาถึงจะเพ่งความสนใจไปที่มันได้ ระหว่างที่เปิดออโต้ไพลอตนี้ด้วยความเคยชิน ขึ้นรถ ลงบันได หยิบแก้วน้ำ โดยไม่ต้องมองหรือเพ่งความสนใจ เราจะไม่สามารถสร้างความทรงจำใหม่ๆ ในช่วงนี้ได้เลย (แบบนี้สินะถึงจำอะไรไม่ค่อยได้)
หากเราอยากที่จะจำอะไรขึ้นมาระหว่างนั้น เราก็ต้องปิดโหมดออโต้ไพลอตแล้วปลุกสมองลุกขึ้นมาทำงาน ด้วยการมีสติ มีสมาธิ จดจ่ออยู่กับสิ่งนั้นนั่นเอง
โฆษณา