4 ก.พ. เวลา 13:07 • ประวัติศาสตร์

• ‘แผนที่โลกของชาวบาบิโลน’ หนึ่งในแผนที่โลกที่เก่าแก่ที่สุดในโลก

ในปี 1881 นักโบราณคดีชาวอิรักนามว่า ฮอร์มุส รัสซาม (Hormuzd Rassam) ได้ค้นพบแผ่นจารึกดินเหนียวชิ้นหนึ่งอายุเก่าแก่กว่า 2,500 ปี ในพื้นที่เมืองโบราณซิปปาร์ (Sippar) หรือปัจจุบันคือเมืองเต็ล อาบู ฮับบาห์ (Tell Abu Habbah) ห่างจากกรุงแบกแดดไปทางตะวันตกเฉียงใต้ราว 69 กิโลเมตร
2
ในตอนแรกจารึกชิ้นนี้ไม่ได้รับความสนใจมากนัก จนกระทั่งเมื่อมีการแปลตัวอักษรลิ่มที่อยู่บนจารึก ก็พบว่าจารึกชิ้นนี้เป็นแผนที่โบราณของชาวบาบิโลน
แผนที่ประกอบไปด้วยวงกลมจำนวนสองวง โดยที่วงกลมรอบนอกปรากฏคำว่า ‘marratu’ หรือทะเลเค็ม ที่หมายถึงมหาสมุทร นอกจากนี้ยังมีสามเหลี่ยมจำนวน 8 รูป ที่อยู่รอบ ๆ วงกลมรอบนอก
3
ขณะที่วงกลมด้านใน มีวงกลมเล็ก ๆ ที่แสดงถึงตำแหน่งที่ตั้งของเมืองโบราณในดินแดนเมโสโปเตเมีย ไม่ว่าจะเป็นบาบิโลน (Babylon) อัสซีเรีย (Assyria) ฮับบาน (Habban) อูราร์ตู (Urartu) เดอร์ (Der) บิต ยาคิน (Bit Yakin) และซูซา (Susa)
2
นอกจากนี้ในวงกลมด้านใน ยังมีการตีเส้นที่มีความหมายถึงแม่น้ำยูเฟรติส (Euphrates river) คลอง บึงน้ำ รวมถึงภูเขาอีกด้วย
3
ส่วนสามเหลี่ยม 8 รูปที่อยู่รอบนอกสุดของแผนที่ ปรากฏข้อความที่แปลว่า ภูมิภาคหรือจังหวัด สัณนิษฐานว่าอาจจะเป็นเกาะหรือดินแดนชายขอบโลกที่ชาวบาบิโลนไม่รู้จัก
2
คำอธิบายที่ปรากฏอยู่บนแผนที่
แผนที่นี้ภายหลังถูกตั้งชื่อว่า ‘The Babylonian Map of the World’ หรือแผนที่โลกของชาวบาบิโลน โดยถูกยกย่องว่า เป็นหนึ่งในแผนที่โลกที่เก่าแก่ที่สุดในโลก รวมถึงยังเป็นแผนที่ที่มองจากมุมสูงหรือ bird's eye view เป็นแผนที่แรกของโลก ปัจจุบันแผนที่ถูกจัดแสดงอยู่ที่บริติชมิวเซียม ประเทศอังกฤษ
3
อ้างอิง
• เจอร์รี บรอตตัน. (2023) A History of the World in 12 Maps ประวัติศาสตร์โลกจากแผนที่สิบสองฉบับ. สำนักพิมพ์ยิปซี
• The Archeologist. Imago Mundi: The Oldest Known Map. https://www.thearchaeologist.org/blog/imago-mundi-the-oldest-known-map
#HistofunDeluxe
โฆษณา