9 ก.พ. เวลา 03:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ธนาคารไทยเครดิตที่มุ่งเน้นให้บริการสินเชื่อรายย่อยอย่างเป็นธรรม มีรายได้มากกว่า 10,000 ล้านบาท

ธนาคารไทยเครดิต ถือเป็นธนาคารที่ให้บริการกลุ่มลูกค้ารายย่อยและคนค้าขายที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางและใหญ่ ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้คือฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจไทย แต่เมื่อไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้ เลยต้องไปใช้บริการสินเชื่อนอกระบบ เพื่อที่จะสามารถหมุนเวียนเงินทุนและต่อยอดธุรกิจให้เติบโตต่อไป
1
ในปี 2565 มีการคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดของการกู้ยืมนอกระบบมีมากถึง 2.35 ล้านล้านบาทและมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งธนาคารไทยเครดิตเล็งเห็นถึงความต้องการสินเชื่อแก่ลูกค้ารายย่อยเหล่านี้มาเป็นเวลามากกว่า 10 ปี และได้สร้างผลิตภัณฑ์สินเชื่อแก่กลุ่มลูกค้าดังกล่าวโดยเอาเข้ามาในระบบอย่างเป็นธรรม
📌 ทำไมธนาคารไทยเครดิตถึงให้ความสำคัญกับลูกค้ารายย่อย?
ธนาคารดำเนินธุรกิจตามหลักปรัชญา “Everyone Matters ทุกคนคือคนสำคัญ” โดยก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2513 ภายใต้ชื่อบริษัท เครดิตฟองซิเอร์ไทยเคหะ จำกัดและได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ในปี 2549
ธนาคารไทยเครดิตเป็นธนาคารแห่งแรกที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้อย่างปลอดภัยและเป็นธรรม และยังเป็นธนาคารแห่งแรกที่ริเริ่มการให้บริการสาขาสินเชื่อเพื่อรายย่อย โดยเป็นสาขาที่ให้บริการเฉพาะสินเชื่อและมีสถานที่ตั้งในบริเวณแหล่งชุมชมใกล้สถานประกอบการของผู้ประกอบการรายย่อยและ SMEs
มากกว่า 10 ปี ที่ธนาคารไทยเครดิต ได้พยายามเข้าถึงลูกค้าธุรกิจรายย่อย จึงได้มีความเข้าใจในความต้องการ และออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าเหล่านี้ เช่น สินเชื่อไมโครและนาโนเครดิตเพื่อคนค้าขาย สินเชื่อบ้านแลกเงิน เป็นต้น
ทั้งยังส่งเสริมการให้ความรู้ด้านการเงิน แก่ผู้ประกอบการรายย่อยและผู้ประกอบการ SME รวมทั้งประชาชนทั่วไป กับโครงการตังค์โต Know-how
 
📌ถึงจะเป็นธนาคารที่ให้บริการธรุกิจรายเล็ก แต่ผลประกอบการธนาคารไม่เล็ก
ถ้าเข้าไปดูงบการเงิน และตัวเลขสำคัญ จะเห็นได้ว่าผลประกอบการของธนาคารไทยเครดิตนั้นค่อนข้างดี
1️⃣ ตัวเลขการเติบโตสินเชื่อ
ธนาคารไทยเครดิตมีอัตราการเติบโตของเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้เฉลี่ยสะสม 33% ต่อปี ในระหว่างปี 2563 ถึงปี 2565 ปี 2565 และมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องตลอด 3 ปีที่ผ่านมา โดยในงวดเก้าเดือนของปี 2566 มีการให้เงินสินเชื่อแก่ลูกหนี้ จำนวน 138,435.1 ล้านบาท การเข้าถึงและเข้าใจรายย่อยได้ดี ทำให้ธนาคารมีโอกาสอีกมากในการเจาะตลาดลูกค้ากลุ่มนี้
2️⃣ ผลประกอบการ
ธนาคารไทยเครดิตมีสัดส่วนรายได้จากดอกเบี้ย คิดเป็น 94% ของรายได้รวมทั้งหมด และมีการเติบโตของรายได้จากดอกเบี้ยเฉลี่ยสะสม 32% ต่อปี ในระหว่างปี 2563 ถึงปี 2565 เติบโตอย่างต่อเนื่องและสิ้นปี 2565 มีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ กว่า 11,052.3 ล้านบาท
ในส่วนของกำไร อัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีของกำไรสุทธิของธนาคารฯ เท่ากับร้อยละ 33% ต่อปี ในระหว่างปี 2563 ถึงปี 2565 เติบโตอย่างต่อเนื่องและสิ้นปี 2565 มีกำไรสุทธิ กว่า 2,352.5 ล้านบาท
3️⃣ อัตราส่วนค่าใช้จ่ายการดำเนินงานต่อรายได้รวม (Cost-to-income ratio)
อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับหลายธนาคาร และติด 1 ใน 3 ธนาคารที่มี Cost-to-income ratio ต่ำที่สุด โดยล่าสุดในงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 มีอัตราส่วนอยู่ที่ 36.2 % ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 ที่ 49.9% เนื่องด้วยธนาคารมีการจัดการต้นทุนการบริหารและการดำเนินงานของสาขาที่มีประสิทธิภาพ
4️⃣ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL)
วันที่ 30 มิถุนายน 2566 ธนาคารฯ มีเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพรวมเท่ากับ 5,603.5 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (NPL Ratio) เท่ากับร้อยละ 4.2 ซึ่งยังอยู่ใกล้เคียงกับ NPL ratio ของอุตสาหกรรมนี้
 
📌 ธนาคารเพื่อรายย่อยที่เติบโตเร็วที่สุดในประเทศไทย
ธนาคารไทยเครดิตได้รับรางวัลธนาคารเพื่อรายย่อยที่เติบโตเร็วที่สุดในประเทศไทย (Fastest Growing Retail Bank in Thailand) เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน (ตั้งแต่ปี 2560 ถึง 2562) จาก Global Banking & Finance Review ซึ่งเป็นนิตยสารด้านการเงินและธุรกิจจากสหราชอาณาจักร และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายวิญญู ไชยวรรณ ที่ต้องการมุ่งสู่ “ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยที่ดีที่สุด”
ด้วยผลประกอบการที่เติบโต และ positioning ที่แตกต่างจากธนาคารพาณิชย์อื่นๆ ทำให้ธนาคารไทยเครดิต เป็นที่น่าจะจับตามองสำหรับนักลงทุนอย่างมาก ซึ่งธนาคารไทยเครดิต เตรียมออก IPO ในปี 2567 นี้
 
ราคาเสนอขายต่อประชาชน คือ 28.00 - 29.00 บาทต่อหุ้น
 
รายละเอียดเพิ่มเติม อ่านต่อใน Comment
#TraderKP #ThaiCreditBank #CREDIT #IPO #หุ้นไทย #ตลาดหุ้นไทย #ธนาคารไทยเครดิต
โฆษณา