10 ก.พ. เวลา 05:36
อ่างแก้ว มช

ชาติสมาชิกอาเซียนและฝุ่นpm2.5

นับแต่อดีตมาถึงปัจจุบันโดยเฉพาะนับแต่ในระยะอันใกล้นี้ปัญหามลพิษปัญหาหมอกควันต่างๆโดยเฉพาะปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือpm2.5.ถือเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่สำคัญมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกันซึ่งในงานชิ้นนี้จะไปศึกษาในเรื่องของข้อพิพาทเกี่ยวกับปัญหาพิพาทหมอกควันข้ามดินแดนในหลายประเทศอาเซียน
เมื่อกลับมามองรากฐานปัญหาข้อพิพาทที่เกี่ยวกับมลพิษในอาเซียนที่นำมาสู่ปัญหาหมอกควันข้ามดินแดนนั้นแรกเริ่มนั้นมาจากเหตุการณ์ไฟป่าที่อินโดนีเซียและยังมีเหตุการณ์ไฟป่าเกิดขึ้นเป็นระยะหลังจากนั้นในหลายประเทศในอาเซียน จึงทำให้มีการพยายามแก้ไขปัญหาพิพาทดังกล่าวโดยการหาแนวทางความร่วมมือในการปัญหาจนนำไปสู่ข้อตกลงว่าด้วยมลพิษหมอกควันข้ามแดนอาเซียนในปีค.ศ.2002
โดยข้อตกลงดังกล่าวมีผลเพื่อที่จะป้องกันและลดมลพิษหมอกควันจากไฟป่าโดยอาศัยความร่วมมือระดับภูมิภาค ระดับชาติรวมถึงประชาชนภายในประเทศโดยมีสาระสำคัญที่กล่าวถึงการเสริมสร้างความร่วมมือ ประสานงาน ป้องกัน ติดตามและตรวจสอบมลพิษจากหมอกควันข้ามแดนอันเป็นผลจากการเผาป่ารวมถึงตั้งศูนย์ในการประสานงานและความร่วมมือทางเทคนิคและวิทยาศาสตร์ทั้งนี้ยังพยายามเปิดให้มีส่วนร่วมกันในทุกภาคส่วนเพื่อแก้ปัญหาอย่างเหมาะสมอีกด้วยซึ่งข้อตกลงนี้เป็นข้อตกลงที่ให้ความสำคัญกับความร่วมมือระดับระหว่างประเทศ
ซึ่งจากปัญหาจุดเริ่มต้นจากที่อินโดนีเซียดังกล่าวได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อหลายชาติอาเซียนไม่ว่าในประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศมาเลเซีย และในโซนภาคใต้ของไทยซึ่งถึงแม้จะมีการตั้งกรรมการ มีการจัดทำข้อตกลงว่าด้วยมลพิษหมอกควันข้ามแดนอาเซียนแต่เมื่อพิจารณาจากความเป็นจริงจะเห็นได้ว่าข้อตกลงว่าด้วยมลพิษข้ามแดนอาเซียนดังกล่าวก็ไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาข้อพิพาทใดๆได้โดยที่งานชิ้นนี้จะศึกษาผ่านวิถีอาเซียนที่มีผลต่อข้อพิพาทนี้และจะศึกษาผ่านกรณีพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่าง มาเลเซีย สิงคโปร์ มาเลเซียและอินโดนีเซีย
สำหรับไฟป่าที่อินโดนีเซียอันทำให้เกิดปัญหามลพิษข้ามพรมแดนนั้นไฟป่าดังกล่าวเกิดในเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียวจนนำมาสู่ไฟป่าครั้งใหญ่ในอินโดนีเซีย ซึ่งทางอินโดนีเซียก็ได้ทำการประกาศสถานการฉุกเฉินภายในประเทศและมีการจับกุมผู้ต้องหาเกือบ200คนที่มีความเกี่ยวข้องกับสาเหตุไฟป่าซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ประเทศที่ตกอยู่ภายใต้ม่านหมอกมลพิษดังกล่าวอย่างสิงคโปร์ มาเลเซียได้มีการทำการขัดกับวิถีอาเซียนกล่าวคือมีการออกมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอินโดนีเซียอย่างตรงไปตรงมาว่าล้มเหลวในการแก้ปัญหาไฟป่า
ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟป่าดังกล่าวมีการศึกษาแล้วพบว่าไฟป่าดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของprocessการเผาป่าเพื่อตัดไม้ทำลายป่าไฟถูกจุดในป่าฝนเขตร้อน หรือในป่าทุติยภูมิเพื่อล้างพื้นที่อาจมีการลักลอบเผาอย่างผิดกฎหมายซึ่งเป็นการเคลียร์พื้นที่เพื่อกำจัดพืชพรรณต่างๆออกไปไว้สำหรับสวนป่าอย่างน้ำมันปาล์ม
ซึ่งจากเหตุกาณณ์ไฟป่าดังกล่าวมีการศึกษาผลกระทบของเหตุการณ์ดังกล่าวโดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดและโคลัมเบียพบว่าเหตุการณ์ดังกล่าวในปี2558ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปกว่า100,000คนทั่วภูมิภาคอาเซียนซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้นำมาสู่การแสดงออกอย่างตรงไปตรงมาด้วยความไม่พอใจของประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์เพราะประชากรของทั้ง2ประเทศก็ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ต่าง
กันจนทำให้นายyeo bee yinรัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าปัญหาหมอกควันดังกล่าวเป็นความล้มเหลวของกรุงจาการ์ตาในการป้องกันไฟป่าแต่ท้ายที่สุดทางรัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมของอินโดนีเซีย siti Nurbaya Bakar
ก็ได้ปฏิเสธถึงปัญหาหมอกควันข้ามแดนดังกล่าวทั้งยังอ้างว่ามาเลเซียก็เป็นแหล่งผลิตมลพิษจากควันไฟเช่นกันyeo bee yinในฐานะรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของมาเลเซียขณะนั้นก็ได้ทำการแถลงตอบโต้ผ่านทางfacebookว่า Siti Nurbaya
ในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีสิ่งแลดล้อมของอินโดนีเซียไม่ควรที่จะปฏิเสธความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งต่อมาทางรัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมของสิงค์โปร์ Masagos Zulkifli นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงต้องจริงจังกับการแก้ไขปัญหาและสร้างความร่วมมือเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการทำให้ภูมิภาคอาเซียนปลอดจากหมอกควันภายในปี2563(ภายใน6ปีนับตั้งแต่เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่อินโดนีเซีย)
ในส่วนของการแก้ปัญหานั้นอินโดนีเซียได้ทำการตามแผนระยะสั้นคือการส่งนักดับเพลิงอาสาสมัครนับพันคนลงไปในพื้นที่เกิดเหตุที่ท้องที่เกาะสุมาตราและกาลิมันตันทั้งนี้ทางรัฐบาลก็ได้ส่งเฮลิคอปเตอร์ไปทิ้งระเบิดน้ำเพื่อดับไฟในกาลิมันตันด้วย
ถึงแม้อินโดนีเซียจะไม่ได้กระทำการชดใช้ประการใดๆต่อมาเลเซียและสิงคโปร์แต่จากเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นทำให้เกิดการสร้างกลไกความร่วมมือระหว่างชาติสมาชิกภายในภูมิภาคนี้อันได้แก่ข้อตกลงอาเซียนเรื่องมลพิษจากหมอกควันข้ามดินแดนค.ศ.2002ซึ่งชาติสมาชิกอาเซียนทุกประเทศได้เข้าร่วมลงนามครบทั้ง10ชาติโดยที่
วัตถุประสงค์ของข้อตกลงฉบับนี้คือเพื่อป้องกัน ลด และติดตามตรวจสอบมลพิษหมอกควันอันมาจากไฟบนดินหรือไฟป่าที่อาศัยความร่วมมือในระดับภูมิภาคและในระดับประเทศเพื่อนำข้อมูลแต่ละประเทศมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุลักษณะของปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นผลกระทบที่
เกิดมาจากการเกี่ยวเนื่องของปัญหาไฟป่าของชาติสมาชิกทุกชาติโดยได้นำนโยบายวิธีปฏิบัติและเทคโนโลยีที่เป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ทั้งนี้ในข้อตกลงดังกล่าวยังมีการจัดให้มีการร่วมมือกันในการจัดการปัญหาหมอกควันข้ามแดนโดยมีข้อตกลงความร่วมมือในการจัดการป่าพรุอย่างยั่งยืนซึ่งมีเป้าหมายและตัวชี้วัดที่จะลดจุดความร้อนและหมอกควันในภูมิภาคอาเซียนให้หมดไป
ทั้งนี้ถึงจะมีกลไกตามข้อตกลงอาเซียนเรื่องมลพิษจากหมอกควันข้ามแดนหลังจากการเกิดเหตุไฟป่าที่อินโดนีเซียแต่ปัญหาหมอกควันปัญหามลพิษก็ยังไม่ได้หมดไปเนื่องจากการที่กลไกการแก้ไขปัญหาและการป้องกันปัญหามลพิษข้ามแดนของอาเซียนไม่มีข้อผูกมัดใดๆให้ชาติสมาชิกต้องปฏิบัติตามอีกทั้งเนื่องจากวิถีอาเซียนที่ยึดหลักอำนาจอธิปไตยของชาติสมาชิกเป็นหลักจนนำมาสู่
การยึดหลักไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศสมาชิกได้และอีกเหตุผลที่ความตกลงดังกล่าวล้มเหลวจนนำมาสู่การที่ไม่สามารถแก้ปัญหาข้อพิพาทปัญหาหมอกควันข้ามดินแดนได้เนื่องจากชาติสมาชิกก็ไม่ได้ให้ความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาอย่างจริงจังเพราะยังติดกับผลประโยชน์ของชาติตนเองเป็นหลัก
ซึ่งถึงแม้ว่าความตกลงดังกล่าวจะล้มเหลวในทางปฏิบัติแต่จากข้อพิพาทดังกล่าวก็ทำให้เกิดข้อตกลงในการแก้ปัญหามลพิษโดยแบ่งเป็น2ส่วนคือ
1.กลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง5ประเทศคือไทย ลาว เมียนมาร์ กัมพูชา และเวียดนามซึ่งในก่อนหน้านี้ได้มีการทำข้อตกลงร่วมกันว่าจะไม่ให้มีจุดความร้อนเกิน50,000จุด
2.กลุ่มประเทศในอาเซียนตอนล่างอันได้แก่ ไทยมาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน ในกลุ่มนี้ไม่ได้กำหนดจุดความร้อนแต่ใช้การกำหนดค่ามาตรฐานฝุ่นละอองให้อยู่ในมาตรฐานที่กำหนดของแต่ละประเทศ
ซึ่งจากที่กล่าวมาทั้งหมดในงานชิ้นนี้โดยเริ่มจากการที่เกิดเพลิงไหม้ในอินโดนีเซียนำมาสู่ปัญหาพิพาทเรื่องหมอกควันข้ามดินแดนโดยท้ายที่สุดมีการกำหนดว่าแต่ละประเทศต้องมีมาตรการภายในของตนเองเพื่อควบคุมการเผาไหม้ไม่ให้เกินค่ามาตรฐานที่ตนได้กำหนดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหมอกควันไปกระทบประเทศอื่นและช่วยให้หมอกควันในอาเซียนนั้นลดลงตามเป้าหมายแต่อย่างไรก็ตาม
แนวคิดวิถีอาเซียนด้วยความที่ทุกประเทศยึดถือผลประโยชน์ของตนเป็นหลักร่วมไปถึงการที่ข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้มีบทลงโทษและการก้าวก่ายการภายในของตามวิถีอาเซียนที่จะไม่มีการแทรกแซงกิจการภายในของกันและกันแต่ในข้อตกลงนี้จะดำเนินการโดยที่เน้นการแลกเปลี่ยนความร่วมมือและการแก้ไขปัญหาของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน
เหล่านี้จากที่กล่าวไปในข้างต้นหากให้กล่าวโดยสรุปแล้วในความเห็นผู้จัดทำข้อพิพาทดังกล่าวก็ไม่ได้มีการแก้ไขเป็นรูปธรรมใดๆแม้จะมี่การทำข้อตกลงเพื่อแก้ปัญหามลพิษทั้งอาเซียนหลังจากที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ในอินโดนีเซียจนเกิดการออกมาเรียกร้องของประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียและสิงคโปร์โยสาเหตุสำคัญสำหรับมุมมองผู้จัดทำที่มองว่าการแก้ปัญหาขอพิพาทนี้ล้มเหลวคือวิถีอาเซียนเป็นต้น
ไว้พบกันใหม่คราวต่อไปสำหรับโพสท์นี้ลาไปก่อนสวัสดีครับ
อ้างอิง
https://thecitizen.plus/node/25359 บทความของไทยพีเอส เรื่องควันข้ามโขงชื่อผู้แต่งคุณอัจฉราวดี บัวคลี่ สืบค้นวันที่17 กุมภาพันธ์ 2566
https://www.seub.or.th/bloging/news/global-news/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A/ บทความไฟป่าอินโดนีเซียของมูลนิธีสืบนาคะเสถียรจัดทำในวันที่24กันยายน2019วันที่สืบค้น1กุมภาพันธ์2566
https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=36607 บทความหมอกควันข้ามแดนของรัฐสภา คุณ ศิริชนก วิริยกุลนิติกรชำนาญการผู้แต่ง จัดทำในเดือนตุลาคมปี2559 วันที่สืบค้น 17กุมภาพันธ์ 2566
โฆษณา