📢 การเสียภาษีบุคคลธรรมดา กับ ภาษีนิติบุคคล ต่างกันอย่างไร?

📝 การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
หลักการความต่างของการหักค่าใช้จ่าย
1. การหักแบบเหมาจ่าย เฉพาะค่าใช้จ่าย
อัตราหักอยู่ที่ 60% = รายรับ หัก รายจ่าย
2. การหักแบบตามจริง เหมือนฝั่งนิติบุคคล
มีเงื่อนไข ต้องเก็บเอกสารค่าใช้จ่าย และ เปิดใบเสร็จรับเงินในนามชื่อตนเองเพื่อนำบิลมาหักแบบจ่ายจริง
📍 การหักแบบจ่ายจริง หรือ หักแบบเหมาจ่าย
หากต้นทุนมากกว่า 60% การหักแบบตามจริงจะประหยัดภาษีมากกว่า
จากนั้นนำมา “หักค่าลดหย่อน” = เงินได้สุทธิเพื่อนำไปเสียภาษีตามขั้นบันไดของบุคคลธรรมดา
📝 การเสียภาษีนิติบุคคล (บริษัท / หจก.)
หลังจดทะเบียนบริษัทที่กระทรวงพาณิชย์แล้วจะได้รับเลข 13 หลัก ต้องทำบัญชีและปฏิบัติตามเงื่อนไขของกระทรวงพาณิชย์และสรรพากร
📍 การทำบัญชีรับจริง - จ่ายจริง เพราะนิติบุคคลไม่มีแบบเหมาจ่าย
💸 ค่าใช้จ่ายฝั่งนิติบุคคล (บริษัท / หจก.)
- ใช้วิธีการจ่ายจริง
- มีหลักฐานการจ่าย มีใบเสร็จรับเงินและต้องพิสูจน์ได้ว่าผู้รับคือใคร?
***เป็นหัวใจของการลงบันทึกบัญชีฝั่งค่าใช้จ่าย
📝 ความต่างระหว่างบุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล
เรทภาษีฝั่งบุคคลธรรมดา
- ใช้อัตราก้าวหน้าของบุคคล
- ใช้เกณฑ์รายรับ - รายจ่ายเป็นเงินสด
เรทภาษีฝั่งนิติบุคคล
- การเสียภาษีในรูปแบบ SME หรือ NON SME
- ใช้เกณฑ์คงค้าง
📝ความเหมือนระหว่างบุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
- บริษัทหรือบุคคลธรรมดาที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท ต้องเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
📍 ยกเว้นธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นVAT
ประกันสังคม
- เมื่อธุรกิจมีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป จะต้องจดเข้าระบบประกันสังคม
📍 กรณียังไม่เข้าประกันสังคม อย่างน้อยควรหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
อ่านบทความเพิ่มเติม : https://shorturl.at/fqrIV
📲 ติดตามการอัปเดตความรู้บัญชี ภาษี
ได้ทุกช่องทางของ “เก่งบัญชี ภาษีบรรเทา”
#เก่งบัญชีภาษีบรรเทา #kengbuncheepasibuntao #greenprokspgroup #ภาษี #ภาษีบุคคลธรรมดา #ภาษีนิติบุคคล #ภาษีมูลค่าเพิ่ม #VAT #การเสียภาษีเงินได้ #อัตราภาษี #บัญชี
โฆษณา