22 ก.พ. เวลา 14:20 • ข่าว

ปีนี้อากาศร้อนสุดขั้ว เกี่ยวข้องกับการระเบิดบนดวงอาทิตย์หรือไม่?

หลายพื้นที่อากาศร้อนมาก ก่อนจะมีประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาว่า ประเทศไทยได้สิ้นสุดฤดูหนาวและเข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว ในวันที่ 21 ก.พ. 2567 ทำให้ตอนกลางวันมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปต่อเนื่อง อุณหภูมิสูงสุดมากกว่า 35 องศาเซลเซียส
5
เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากรังสีดวงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้น และลมฝ่ายใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ซึ่งเป็นรูปแบบลักษณะอากาศของฤดูร้อน แต่ภาคเหนือและภาคอีสานจะยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า จนถึงประมาณกลางเดือน มี.ค. และคาดว่าฤดูร้อนจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือน พ.ค.
2
มีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย บริเวณประเทศไทยตอนบนจะอยู่ที่ 36-37 องศาเซลเซียส สูงกว่าค่าปกติ 1-1.5 องศาเซลเซียส จาก 35.4 องศาเซลเซียส และจะสูงกว่าปีที่ผ่านมา จากอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 35.8 องศาเซลเซียส
ส่วนกรุงเทพฯ อุณหภูมิสูงสุด 40-41 องศาเซลเซียส โดยอากาศจะร้อนอบอ้าว และร้อนจัดในหลายพื้นที่ทางภาคเหนือและภาคอีสาน เช่น แม่ฮ่องสอน, อุตรดิตถ์, สุโขทัย, ตาก, สกลนคร และอุดรธานี อุณหภูมิสูงสุด 42-44 องศาเซลเซียส ตั้งแต่กลางเดือน มี.ค. ไปจนถึงต้นเดือน พ.ค.
2
ปีนี้ร้อนของจริง แบบที่ไม่เคยเจอ ช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย.
1
เป็นสัญญาณเตือนปีนี้จะร้อนแบบสุดๆ "รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์" ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ระบุว่า ปัจจุบันโลกร้อนที่สุด อุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.52 องศาเซลเซียส
จากยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม และเพียงแค่เดือน ก.พ. อากาศร้อนมาก จะเจอร้อนของจริง ร้อนสุดขั้ว ร้อนแบบที่ไม่เคยเจอในช่วงเดือน มี.ค. ถึง เม.ย.นี้ จาก 3 ปัจจัยหลัก 1. โลกร้อน 2. ปรากฏการณ์เอลนีโญ และ 3. การครบรอบจุดระเบิดบนดวงอาทิตย์
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจะเห็นชัด ทั้งความร้อน ความแห้งแล้ง ไฟป่า และฝุ่นพิษ รวมถึงปริมาณน้ำต้นทุนลดน้อยลง ในขณะพืชบางชนิด เช่น ข้าวมีราคาสูง เป็นแรงจูงใจให้มีการปลูกเกินแผนของรัฐบาล ประมาณ 180% แต่น้ำมีจำกัด คาดการณ์ว่าผลผลิตจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะทุเรียน น่าจะลดลงประมาณ 30%
1
การจัดการน้ำต้องเผชิญความเสี่ยง และความท้าทายสูง จากนี้ต่อไปทางเลือกมีไม่มาก จะอยู่กับปัจจุบัน หรือจะอยู่กับอนาคตที่มีความไม่แน่นอน และช่วงครึ่งปีหลัง ปรากฏการณ์เอลนีโญ จะเปลี่ยนผ่านไปสู่ลานีญา แบบอ่อนถึงปานกลาง
และในปีหน้าอาจจะกลับมาเป็นเอลนีโญ ทำให้ฝนอาจจะมาปกติ ยกเว้นภาคเหนือ และภาคอีสานตอนบน จะต้องออกแบบฉากทัศน์ให้เดินไปอย่างระมัดระวัง ถ้าผิดพลาดความเสียหายจะตามมาอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
3
❖ ดวงอาทิตย์ระเบิดรุนแรง ไม่ทำให้โลกร้อนขึ้น แต่เกิดพายุสุริยะ
แล้วจุดระเบิดบนดวงอาทิตย์ มีส่วนทำให้อากาศร้อนมากขึ้นจริงหรือ? “ดร.มติพล ตั้งมติธรรม” ผู้เชี่ยวชาญดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) อธิบายว่า จุดบนดวงอาทิตย์เป็นจุดดับ เป็นสนามแม่เหล็กที่มีมากมีน้อย เรียกว่าวัฏจักรดวงอาทิตย์
1
มักมีอนุภาคและมีพายุสุริยะ ทุกๆ 11 ปี ไม่เกี่ยวข้องทำให้โลกร้อนขึ้น หรืออุณหภูมิเพิ่มขึ้น ในการปล่อยพลังงานออกมา และปีนี้ไปถึงปีหน้า เป็นช่วงที่จุดบนดวงอาทิตย์มีจำนวนมากที่สุด หรือโซลาร์แม็กซิมัม
ดวงอาทิตย์จะสว่างไสว ไม่ได้ทำให้โลกร้อน และเมื่ออยู่แถบขั้วโลก จะเห็นออร่ามากขึ้น ส่วนดวงอาทิตย์ ก็จะมีจุดในช่วงใกล้จะตกดิน
1
“ฤดูร้อนเป็นเรื่องของลมน้ำอากาศเป็นส่วนใหญ่ ไม่เกี่ยวกับดวงอาทิตย์ ไม่เกี่ยวกับอัตราการระเบิดของดวงอาทิตย์ ไม่ค่อยมีผลในการปล่อยพลังงาน แต่การระเบิดรุนแรงจากดวงอาทิตย์จะส่งผลให้เกิดพายุสุริยะ รบกวนระบบการสื่อสารทำให้การสื่อสารระยะไกลเป็นอัมพาต ไม่เคยได้ยินว่าจุดระเบิดบนดวงอาทิตย์ ทำให้โลกร้อน”
โฆษณา