27 ก.พ. เวลา 02:57 • เกม

ผมหนี RNG จาก RTA เพื่อมาเล่นการ์ดเกม RNG อยู่ดีเนี่ยนะ!

หลังจากที่เราหาเรื่องทำทีมฟาร์มไปแล้ว เรากลับมาที่เรื่องไม่จำเป็นต้องรู้กันบ้าง (?) ดีกว่าครับ เพื่อให้ก่อนที่ mini game จะหายไปครับ555
งั้นก็จะเป็นเรื่องที่ไม่ต้องรู้ก็ได้~° เดี่ยวกับการ์ดเกม Gwent และความ RNG
Video ประกอบการอธิบาย :
โอเคครับ ก่อนหน้าที่เราจะเข้าเรื่องกันเลย จริง ๆ ผมอยากพูดถึงการ์ดเกม Gwent มาก ๆ เลยครับ ตั้งแต่สัปดาห์แรก
Gwent Event
แต่ด้วยความขก. (อีกแล้ว!?) เลยอยากถอดสมองเล่นครับ … แต่พ่อคุณเอ๋ย เกมวัดดวงขนาดนี้! ถ้าไม่พูดถึงเลย ก็ไม่ใช่เกมที่เรารักสิครับ555
โอเคครับ ถ้าพูดการ์ดเกม Gwent ก็เป็นเกมที่มีมาตั้งแต่ปี 2016 แล้วครับ555 ซึ่งตอนนี้ก็มีในโทรศัพท์เหมือนกันครับ
GWENT: The Witcher Card Game I
GWENT: The Witcher Card Game II
ถ้าใครอยากหาเรื่องตีคนก็ลองโหลดมาเล่นกันได้ครับ (แต่รู้สึกว่าเกมจะไม่ค่อย Update แล้วมั้งนะครับ)
ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจเป็นอันดับแรกเลยก็คือคำว่า "Gwent" มันอ่านออกเสียงว่าอะไรกันแน่ ?
ซึ่งถ้าเปรียบเทียบให้เข้าใจง่าย ๆ แบบภาษาไทยก็จะเป็นพยัญชนะ "Gw" จะออกเสียงว่า "กว" ครับ
"Gwent" ก็เลยออกเสียงเป็น "เกวน" นั่นเองครับ
เป็นชื่อเขต ๆ หนึ่งของ Weles ซึ่งเป็นประเทศที่ติดกับประเทศอังกฤษทางฝั่งตะวันตกที่ติดกับทะเล irish ครับ
The Kingdom of Gwent
ซึ่งมันก็เป็น setting ของเนื้อเรื่องภายในเกม The Witcher นี่แหละครับ
แต่เราจะข้ามเรื่องนั้นกันไปก่อน เพราะว่า เราไม่เคยเล่นเกมนี้เลยนะฮะ555 ดังนั้นแล้ว … ก็ไม่มีอะไรให้พูดแล้วล่ะครับ555
ซึ่งเกมที่เรารักก็ได้นำ Gameplay ของ Gwent มาให้เราลองเล่นเป็น mini game และสกิลของการ์ดก็ไม่ได้เข้าใจยาก และมีไม่เยอะเหมือน original ครับ
GWENT EVENT
แต่ด้วยความเรียบง่ายนี่เองก็ทำให้พลังการวัดดวงรุนแรงสุด ๆ ไปเลยล่ะครับ555 แต่ก่อนหน้าที่เราจะพูดไปมากกว่านี้
เราต้องมาทำความเข้าใจระบบการเล่นกันก่อนดีกว่าครับ ว่าเหตุที่ทำให้เกิดพลังดวงมาจากอะไรกันแน่
ซึ่งเพื่อไม่ให้พูดไปเสริมไป แล้วทำให้เกิดความงง ผมจะขอแยกเป็น 2 ส่วนนะครับ
1.Set up
1.1 player
แต่ละฝั่งจะมี Deck เป็นของตัวเองซึ่งจะมีการ์ดในกองไม่ต่ำกว่า 20 ใบ
My Deck
แต่ละคนเริ่มต้นมีพลังชีวิตคนละ 2 หน่วย
Your Own Life
แต่ละฝั่งมี character ที่มี skill ประจำตัวคนละ 1 character
Leader Skill
1.2 board
Front (melee) / Middle (ranged) / Back Area (support) (พื้นที่ลงการ์ด)
Playing Card Area
เพิ่มเติม : melee จะหมายถึง การต่อสู้ที่มีคนหลาย ๆ คนมาตีกัน แต่อาจจะยังไม่ถึงระดับสงครามครับ
Deck Zone (พื้นที่วางกองการ์ด)
Deck Zone
Drop Zone (พื้นที่วางการ์ดที่ถูกใช้ไปแล้ว)
Drop Zone
Battlefield Zone (พื้นที่วางเวทย์สนาม)
Battlefield Zone
2. Game play
2.1 trun order
ก่อนเริ่มเล่นให้แต่ละฝั่งจั่วการ์ดจากบนกองการ์ด 9 ใบ ซึ่งสามารถเปลี่ยนการ์ดและจั่วใหม่ได้ไม่เกิน 2 ใบ
Game Sart
Select Up to 2 cards to switch
เมื่อเริ่มรอบทั้งสองฝ่ายจะจั่วการ์ดจากกองการ์ดของตน คนละ 1 ใบ (ยกเว้นเทิร์นแรกของแต่ละเกม)
Second Round Start
เมื่อเริ่มเล่นจะผลัดกันเล่นคนละ 1 action โดยระบบจะสุ่มหาคนเริ่มก่อน (โดยส่วนใหญ่เราก็จะเป็นฝ่ายเริ่มก่อนแหละครับ555)
Ore no Turn
โดยใน 1 รอบจะผลัดกันเล่นไปเรื่อย ๆ จนกว่าการ์ดจะหมดมือหรือกด pass กันทั้งสองฝ่าย
2 Player play pass action
my hand has been out
หมายเหตุ : ในกรณีที่การ์ดหมดมือ, turn ที่เหลือทั้งหมดจะเป็นของคนที่ยังเหลือการ์ดในมือ
2.2 action
ใน 1 turn สามารถเลือกเล่นได้ 1 action จาก 3 actions
2.2.1 เล่นการ์ด
เลือกเล่นการ์ดจากบนมือ โดยจะแบ่งประเภทของการ์ดออกเป็น 3 ประเภท
2.2.1.1 ประเภทของการ์ด
Monster Card คือ การ์ดที่มี Score บนการ์ด, และมีพื้นที่การลงที่ Front / Middle / Back Area
Simple Monster Card
พื้นที่การลงจะถูกระบุไว้ที่ตัวการ์ด และถ้าหากมี skill เมื่อลง จะเขียนอธิบายไว้ภายในการ์ด
Battlefield Card คือ การ์ดที่ส่งผลต่อ Area ต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ Score ของ Monster Card ที่ Area นั้น ๆ เป็น 1, และมีพื้นที่การลงที่ Battlefield Zone
Special Card : Battlefield Card
Battlefield Effect
Magic Card คือ การ์ดที่ใช้เสร็จแล้วลง Drop Zone ทันที
Special Card : Magic Card
ณ ที่นี่ คือการ์ดลบล้างผลของการ์ดที่ Battlefield Zone หรือ x2 ให้กับ Score ของ Monster Card ที่ Area ต่าง ๆ
2.2.2 กด skill ประจำ character ซึ่งจะเป็น skill ที่เลือกก่อนเริ่มเล่น
Leader Button
Leader Skill
2.2.3 กด pass คือ ไม่ขอเล่นต่อใน round นั้น ๆ turn ที่เหลือจะเป็นของอีกฝ่ายทั้งหมด
Pass Button
Pass Effects
2.3 win conditions
เมื่อจบรอบ จะนับรวม Score ของ Monster Card ของแต่ละฝั่งที่มีอยู่ ณ ขณะจบรอบ
Round End
หากฝั่งใดน้อยกว่า เลือดจะลดลง 1 หน่วย หากเท่ากันจะลดทั้งสองฝ่าย
Second Round Start
Game End
หากเลือดของฝั่งใดเป็น 0 ก่อนก็จะแพ้ไป
Game End
หากเลือดทั้งสองฝั่งเหลืออยู่อย่างน้อย 1 หน่วยทั้งคู่ จะเริ่มรอบใหม่และเล่นเหมือนเดิม โดยจะให้คนที่ Score มากกว่าในรอบที่แล้ว เป็นฝ่ายเริ่มก่อน
Second Round Start
ซึ่งถ้าหากยิ่งอ่านยิ่งงง แนะนำดูคลิป ... ก็ไม่ได้ช่วยให้เข้าใจมากขึ้นหรอกครับ555 ลองสัมผัสด้วยตัวเองน่าจะเร็วที่สุดครับ555
ซึ่งถ้าสังเกตตรงเงื่อนไขการชนะก็คือเราจำเป็นต้องลงการ์ดมอนที่มีแต้มอย่างเลี่ยงไม่ได้
และการ์ดในมือหากไม่มีสกิลเสกการ์ด จะมีการ์ดรวมกันแค่ 12 ใบ (รวม Leader Skill ที่สามารถเล่นการ์ดจากกองแบบสุ่มได้แล้วนะครับ)
ถ้าเฉลี่ยเล่นมากสุด 3 เทิร์นก็ได้แค่เทิร์นละ 4 ใบ ซึ่งมันช่างน้อยนิดเสียเหลือเกิน
และที่หนักสุดก็คือ การ์ด 1 ใบใส่ได้แค่ 1 ใบในเด็ค555 ดังนั้นการจัดเด็คหรือ combo ในเด็คจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยากเล่นอะไร
แต่จะเป็นคุณจั่วได้อะไรมากกว่า555
ซึ่งเมื่อการชนะหรือแพ้ขึ้นอยู่กับว่าอะไรขึ้นมือมา (ซึ่งจริง ๆ การ์ดเกมส่วนใหญ่ก็เป็นแบบนั้นแหละครับ555) โดยไม่รู้จะได้ combo แบบไหน
มันเป็นอะไรค่อนข้างวัดดวงพอสมควรเลยครับ555 แต่ว่าผมเคยพูดถึง RNG ไปนิดนึงใช่ไหมครับ ใน Video "0.5% ซ่ะที่ไหนกันเล่า!!!"
ซึ่งถ้าสมมติเราเคยเรียนวิชาฟิสิกส์กับความน่าจะเป็น เราก็คงมีคำถามแปลก ๆ อย่าง
"ถ้าเราเล่นโยนเหรียญ และถ้าเรารู้ตัวแปรต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการหมุนหรือการเคลื่อนที่ของเหรียญ เราจะรู้ว่าเหรียญจะออกหน้าหัวหรือก้อยรึเปล่า"
ซึ่งถ้าเรารู้ก็อาจจะหมายความได้ว่า "ในโลกความเป็นจริง ไม่มีความน่าจะเป็นอยู่เลยรึเปล่า" หรือ
"เราแค่ถูกทำให้คิดว่ามีอิสระ แต่ความจริงแล้วแค่ทำไปตามผลลัพธ์ที่ส่งผลมาจากช่างเวลาก่อน"
มันเป็นอะไรที่น่าจินตนาการว่าที่เรามาจินตนาการ เพราะ ถูกทำให้จินตนาการรึเปล่า นั่นเองครับ555
ซึ่งในระดับชีวิตประจำวันเราอาจจะยังตอบไม่ได้หรือยังหาวิธีพิสูจน์ไม่ได้ แต่ในระดับควอนตัม มีตัวแปรความน่าจะเป็นที่เข้ามาอธิบายปรากฏการณ์หลาย ๆ อย่างอยู่ครับ555
แต่ช่างเรื่องนั้นไปก่อนเถอะครับ ถ้าเรากลับกันมาที่กองการ์ดของเรา ถ้าสมมติเราลองสับกองหรือไม่สับก็ได้
ถ้าสมมติเราต้องการการ์ด 1 ใบจากกองการ์ดที่มีการ์ด 20 ใบ โอกาสที่เราจะได้การ์ด 1 ใบที่เราต้องการนั่นก็คือ 0.05 ใช่ไหมครับ (5%)
Event I
หรือถ้าสมมติคิดจากกองการ์ดที่มีการ์ดมากกว่า 20 ใบ โอกาสก็จะน้อยลงตามตัวหารที่มากขึ้นใช่ไหมครับ
Divider = 20
Divider = 25
Proposition I
แต่ถ้าสมมติว่าเราคิดจากกรณีที่เราไม่ใช่ผลจากการ์ดใด ๆ ยกเว้น Leader Skill เราก็จะมีในมือทั้งหมด 12 ใบใช่ไหมครับ
Event II
ซึ่งความน่าจะเป็นที่เราจะได้การ์ดที่เราต้องการนั่นก็คือ 0.6 หรือเพิ่มขึ้นมาเป็น 60% นั่นเองครับ
(แต่นี่เป็นกรณีที่เราไม่สนลำดับการได้มองเห็นหรือจั่วการ์ดใหม่นะครับ
ซึ่งเดี๋ยวความบันเทิงจะไปอยู่ใน Video [แทนคำขอบคุณ] 100 subscribers นะครับ555)
ซึ่งถ้าเรามองกันความน่าจะเป็นก็น่าจะจบประมาณนี้ แต่ทุกคนเคยดู No Game No Life กันไหมครับ555
No Game No Life (Key Visual)
No Game No Life (Light Novel)
ซึ่งในตอนที่ 5 ในตอนที่สเตฟตัดพ้อว่า "ทำไมฉันถึงไม่ชนะ" แล้วโซระก็พูดถึงสถานการณ์การจั่วการ์ดที่ต้องการครับ
No Game No Life Episode 5
1/52 Explanations
ซึ่งขอป้ายยานิงนึงนะครับ ผมว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจพอสมควรครับ ซึ่งเป็นเรื่องที่ชวนให้เราตั้งคำถาม
และหาวิธีใช้ทฤษฎีกับการทดลองทางความคิดมาอธิบายโดยใช้การดำเนินเรื่องมานำเสนอครับ
ซึ่งทั้งในอนิเมะหรือนิยาย ก็จะแฝงไปด้วยทฤษฎีเกมตั้งแต่เล่มแรกเลยครับ หรือประมาณเล่ม 6 - 8 ก็จะเป็นอะไรที่คลาสสิคอย่าง "เกมความลำบากใจของนักโทษ" ครับ
Rock Paper Scissors Game
เอาตั้งแต่คำเปรย "ตำนานประจำเมือง" แล้วครับ555
หรือถ้าฟิสิกส์ขึ้นมาหน่อย ในตอนที่ 6 ที่เล่นต่อคำรูปธรรม จะเป็นผลลัพธ์จากแนวคิดที่เกิดขึ้นที่เป็นปัญหาจากแบบจำลองอะตอมของ Ernest Rutherford ครับ
Ernest Rutherford's Atomic Model
ที่นำเสนอว่า โปรตอนจะรวมกันอยู่ที่ศูนย์กลางอะตอมที่เรียกว่า "นิวเคลียส" และมีอิเล็กตรอนวิ่งล้อมรอบอยู่ในระดับชั้นพลังงานต่าง ๆ
ต้องอธิบายแบบนี้ครับ ฟิสิกส์ไฟฟ้านั้นมีการศึกษาและค้นพบมาก่อนที่จะเริ่มศึกษาเรื่องอะตอมอย่างจริงจัง
พวกประจุไฟฟ้า อิเล็กตรอน อนุภาคต่าง ๆ เขาก็รู้จักกันก่อนหน้านั้นแล้วครับ แต่แบบจำลองอะตอมจะมาตอบคำถามว่า อนภาคใด ๆ จัดเรียงอยู่ในอะตอมแบบไหนครับ
เช่นในปี 1897 ที่ J.J. Thomson ศึกษาหลอดรังสี Cathode จนได้แบบจำลองอะตอมขึ้นมา
พวกไฟฟ้าสถิต ไฟฟ้าในอากาศ เซลล์ไฟฟ้าเคมี ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า ไฟฟ้ากระแส บลา ๆ หลาย ๆ อย่างก็ค้นพบก่อนปี 1897 ทั้งนั้นเลยครับ
ซึ่งการคำนวณทางไฟฟ้าก็อย่างที่เราเรียกกันตอนม.ปลายเลยครับ ซึ่งจากความรู้ตรงนั้นจะมีปัญหาใหญ่ 2 ข้อในแบบจำลองอะตอมนี้ครับ นั่นก็คือ
จากกฎของคูลอมป์ อนุภาคที่มีประจุชนิดเดียวกันจะผลักกันใช่ไหมครับ งั้นทำไมโปรตอนถึงกระจุตัวกันอยู่ตรงกลางได้
จากทฤษฎีพลังงานศักย์ไฟฟ้า เราจะรู้ว่าเมื่ออนุภาคที่มีประจุเคลื่อนที่จะต้องเสียงานจากการเคลื่อนที่
งั้นทำไมอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่อยู่บนระดับพลังงานต่าง ๆ ถึงไม่เสียงานจากการเคลื่อนที่ หรือก็คือทำไมไม่หยุดเคลื่อนที่นั่นเองครับ
คำถามข้อแรกจะถูกตอบได้เมื่อเราเรียนฟิสิกส์นิวเคลียร์ไปได้สักพัก ซึ่งจะอยู่ในเรื่องของแรงนิวเคลียร์ครับ
Potential Energy
ส่วนข้อที่สองจะถูกตอบได้เมื่อเราเรียนเรื่องระดับพลังงานย่อยและรู้ว่าแต่ละดับพลังงานย่อยมีแนวการเคลื่อนที่อย่างไรครับ (Standing Wave)
Neils Bohr's Atomic Model
(ผมเคยเขียนสรุปอะไรแบบนี้ด้วยเหรอครับ ?! 555)
ซึ่งเรายังอยู่กันในโพสต์ Summonners War นะครับ555 ถ้าให้ผมอธิบายไปมากกว่านี้คงจะกลายเป็นห้องเรียนฟิสิกส์ไปแน่ ๆ 555
ยังไงแล้วก็ไปหาคำตอบกันได้ที่ No Game No Life นะครับ555
No Game No Life Episode 6
กลับมากันที่กองการ์ดของเรากันต่อดีกว่าครับ ถ้าสมมติว่าตอนเราจัด Deck เสร็จและนำการ์ดมารวมกันโดยเรียงการ์ดจากแต้มน้อยไปแต้มมาก
แสดงว่าเมื่อตอนเริ่มจัดเด็คเสร็จ เราจะรู้ตำแหน่งของการ์ดแต่ละใบใช่ไหมครับ (เอาแบบเวอร์ ๆ หน่อย เพราะ ผมเองก็จำไม่ได้555)
และถ้าสมมติเราสับกองการ์ดโดยเรารู้ตำแหน่งที่การ์ดจะไปอยู่ในแต่ละครั้ง เมื่อสับเสร็จเราก็จะรู้ว่าบนกองการ์ดแต่ละใบคือใบอะไรใช่ไหมครับ
Ordering Deck
ซึ่งถ้าในชีวิตจริง เราทำได้ขนาดนั้นก็ดีใจด้วยครับ คุณโคตรจะความจำดีเลยครับและสายตาไวมากครับ555
อย่างที่ผมบอกครับว่าในชีวิตจริง ถ้าเราคิดกันแบบอุดมคติเราก็อาจจะรู้ทุกตัวแปรก็ได้ แต่ว่าน่าเสียดายที่เราไม่อาจจะรู้ทุกตัวแปรได้ครับ
แต่นั่นไม่ใช่กับเครื่องช่วยจำอย่างคอมพิวเตอร์นั่นเองครับ555 ถ้าสมมติเราลองนำกระบวนการสับไพ่ง่าย ๆ อย่างเอาการ์ดจากใต้กองมาวางไว้บนกอง
State of Deck
Relations
Simple Stateof Deck
(ถ้าอ่านไม่เข้าใจ ไปฟังวิธีการมองได้ที่คลิปเลยครับ555)
งั้นถ้าเราลองมาเขียนเป็นโปรแกรมดู เราก็จะได้ผลลัพธ์ของกองการ์ดใด ๆ โดยที่เราไม่ต้องจำเลยใช่ไหมครับ555
เราก็จะลองกับกองการ์ดที่มีการ์ดในกอง 50 ใบครับ
Initial Deck
Function Definifion
จากวิธีการสับการ์ด (function) ถ้าเรารู้จำนวนการ์ดจากใต้กอง และจำนวนครั้งที่สับการ์ด เราก็จะรู้การ์ดบนกองการ์ดแล้วใช่ไหมครับ
นั่นก็คือการ์ดที่ตำแหน่ง -1 หรือตำแหน่งที่ n - 1 ซึ่งจากกรณีตัวอย่างก็จะเป็นตำแหน่งที่ 49 จากการสับกองครั้งละ 40 ใบ
การจำลองวิธีการสุ่มทำนองนี้เนี่ยครับ เราก็จะเรียกมันว่า "Random Number Generation" ครับ ซึ่งก็จะใช้ในการจำลองบนโปรแกรมต่าง ๆ ครับ
ซึ่งถ้าสมมติเรารู้กองการ์ดเริ่มต้น พารามิเตอร์ที่รับมาเพื่อสุ่ม, เราก็เปลี่ยนจากโอกาสที่จะได้การ์ดที่ต้องการด้วยความน่าจะเป็น 2% เป็น 100% ได้เมื่อถึงรอบที่ต้องการนั่นเองครับ
ที่ผมนำเสนอไป เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้นครับ การจำลองสมัยนี้มันเริ่มจะรับค่า parameter จากการสุ่มในชีวิตจริงมากขึ้นแล้วครับ และ Function ก็คงซับซ้อนมากกว่านี้เยอะเลยครับ555
และในวันนี้ ผมไม่ได้จะมาแจกสูตรใด ๆ เลยครับ เพราะ ผมก็ไม่รู้ว่ามันมีสูตรอะไรเหมือนกัน555 (ขำแห้ง)
ที่จะสื่อก็คือผมอยากบอกว่า "เกมมันวัดดวงขนาดไหน" ครับ และที่เราใช้การแจกแจง Poisson เพราะ parameter ในอนุกรมเวลาเดียวที่เราพอจะหาได้ นั่นก็คือ ความถี่ของผลลัพธ์ที่ต้องการ นั่นเองครับ
(ในคลิป 0.5% เดี๋ยวผมจะลงใหม่ให้มันอ่านตามได้ง่าย ๆ หน่อยนะครับ ตอนนั้นยังชินกับการทดมือ ตัวหนังสือไหลสุด ๆ เลยครับ555)
กลับมาที่การ์ดเกม Gwent กันครับ ถ้าคุณเล่นไปสักพัก แม้จะไม่คิดเลขตามก็คงจะสังเกตเห็นได้ว่า ผู้ที่เริ่มเล่นทีหลังจะได้เปรียบ เพราะ มีสิทธิถือการ์ดในมือมากกว่า
ซึ่งจำนวนการ์ดที่จะเล่นได้ในแต่ละรอบของเกมนี้สำคัญมากครับ เพราะ แค่ได้มีโอกาสเล่นการ์ดมากกว่าก็มีโอกาสทำแต้มได้มากกว่าแล้วครับ
เลยเป็นที่มาของความสนุกที่ตอนแรกผมคิดว่า วิธีการที่เราจะชนะได้ง่ายที่สุดก็คือการ์ดทำให้กองการ์ดอยู่ในขั้นต่ำ 20 ใบและในเด็คก็ใส่การ์ดอัดแต้มสูงกับการ์ดเสกไป ก็มีโอกาสชนะมากแล้วครับ
เพราะ เราจะใช้การ์ดได้น้อย แต่ได้แต้มเยอะนั่นเองครับ
แล้วดวงผมก็สุ่มได้การ์ดที่กดไปขำไปอยู่ครับ555 นั่นก็คือ ทีม hero never dies ครับ555 เสกกันสนุกมากครับ
ซึ่ง key ก็จะเป็นตัวชุบ ตัวเสก ตัวยก ครับ (เล่นเป็น Bermuda เลย555)
Key Monster Cards
ซึ่งผมก็มีตัวอย่างสักเกมมาให้ชมครับ จะเป็นยังไงก็สามารถรับชมกันได้ที่คลิปเลยครับ ในเมื่อเป็นเกมวัดดวง ก็วัดดวงทุกอย่างไปเลยแล้วกันครับ555
ถ้าใครอยากลองเล่นก็เอาไปลองกันได้ แล้วก็อย่าลืมเอ่ย heros never die ด้วยนะครับ555
สามารถแก้เครียด RTA ได้นิดหน่อยครับ555
ซึ่งถ้าข้อเสียของการ์ดเกมนี้มีอยู่ 2 อย่างครับ นั่นคือ การ์ดทุกใบเล่นด้วยวิธีเดียวกัน ไม่มีเงื่อนไขการลงหรือต้องจ่ายค่าคอร์สครับ
ทำให้ขอแค่ขึ้นมือหรือเสกมาก็เล่นได้แล้วครับ ซึ่งมันง่ายเกินไป แต่ก็ถูกแก้ด้วยความที่มัน RNG ครับ
อีกส่วนหนึ่งก็จะเป็นความไม่หลากหลายครับ เล่นไปสักพักก็อาจจะเบื่อได้ แต่ก็ถูกแก้ด้วยการที่มันเป็น Mini Game ไปแล้วน่ะครับ555
ซึ่งถ้าสมมติทำมาเป็นการ์ดเกมจริง ๆ อย่างแรกเลยคือ ต้องไปซื้อสิขสิทธิ์วิธีการเล่นแบบนี้มาก่อนครับ555
กับต้องปรับแก้ไขสกิล ค่าคอร์สหรือหาวิธีการใส่ความหลากหลายเข้าไปครับ ซึ่งตรงนี้ส่วนนี้ผมว่ายังไงเกมที่เรารักก็ทำออกมาให้เราคาดหวังได้อยู่แล้วครับ555
หรืออาจจะเป็นการ์ดเกมรูปแบบใหม่เลยก็ได้ครับ ยังไงในฐานะผู้เล่นก็ต้องรอดูกันต่อไปครับ
สำหรับครั้งนี้ จริง ๆ แค่อยากพูด hero never dies เฉย ๆ ครับ555 แต่ก็อยากมาป้ายยากับเกริ่น Video ในอนาคตด้วยครับ555
ยังไงแล้วก็ขอให้สนุกจนจบกิจกรรมลากยาวไปจนกิจกรรม 10 ปีเลยนะครับ
ถ้าหากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี่ด้วยนะครับ หวังว่าจะ hero never dies กันนะครับ555 ไว้เจอกันใหม่โพสต์หน้าครับ
สำหรับวันนี้ก็ขอขอบคุณมากครับผม
โฆษณา