27 ก.พ. เวลา 11:01 • การเมือง

มาครง “ผลักดัน” ให้ส่งกองทหารประเทศในยุโรปเข้าไปช่วยยูเครน

26 กุมภาพันธ์ 2024: ประธานาธิบดีฝรั่งเศส “เอ็มมานูเอล มาครง” เป็นเจ้าภาพเปิดประชุมกลุ่มผู้นำ 20 ประเทศของยุโรปในกรุงปารีส เขาไม่ปฏิเสธความเป็นไปได้ที่ว่าประเทศต่างๆ ในยุโรปจะสามารถส่งทหารเข้าไปยังยูเครน มาครงกล่าวหลังการประชุมหารือกับกลุ่มผู้นำยุโรปเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือแก่ยูเครน
มาครงเป็นเจ้าภาพการประชุมกลุ่มผู้นำยุโรปที่ปารีส วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2024 เครดิตภาพ: Gonzalo Fuentes / AP
มาครงเน้นย้ำว่าในภาพรวมของประเทศต่างๆ ในยุโรป “สถานะตอนนี้” ยังไม่มีความเห็นพ้องต้องกันทั้งหมดในการส่งทหารเข้าไปยูเครน อย่างไรก็ตามเขากล่าวเสริมว่า “ยังไม่ขอตัดความเป็นไปได้ และเราจะทำทุกอย่างที่ต้องทำเพื่อป้องกันไม่ให้รัสเซียชนะ”
กลับมาอีกฝั่งหนึ่ง แหล่งข่าวของรอยเตอร์สในฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระบุว่าสหรัฐฯ ยังไม่มีแผนการที่จะส่งทหารอเมริกันเข้าไปยังยูเครนในตอนนี้ และรวมถึงกลุ่มนาโตก็ยังไม่มีแผนดังกล่าวเช่นกัน
1
“โรเบิร์ต ฟิโก” นายกรัฐมนตรีของสโลวาเกีย แสดงความคิดเห็นต่อแถลงการณ์ของมาครงว่า “ผมขอยืนยันเลยว่ามีหลายประเทศในยุโรปที่พร้อมจะส่งกองทหารของตนเข้าไปยังยูเครน แต่ก็มีบางประเทศที่ขอพูดเลยว่า “ไม่เคยคิดในหัว” ซึ่งรวมถึงสโลวาเกียด้วย และมีหลายประเทศที่กำลังชั่งใจอยู่ในเรื่องนี้”
1
โรเบิร์ต ฟิโก นายกรัฐมนตรีของสโลวาเกีย เครดิตภาพ: TASR / The Slovak Spectator
ในทางกลับกัน “มาครง” ตั้งข้อสังเกตว่าบางคนที่ในปัจจุบันพูดว่า “ไม่เคยคิดในหัว” เกี่ยวกับการส่งกองทหารในยุโรปเข้าไปยังยูเครน เป็นคนกลุ่มเดียวกับที่เมื่อสองปีที่แล้วปฏิเสธความเป็นไปได้ในการถ่ายโอนรถถัง เครื่องบิน หรือขีปนาวุธพิสัยไกลไปยังฝั่งยูเครน (‘มาครง’ กำลังพาดพิงย้อนถึง ‘ฟิโก’ นั่นเอง)
1
“ต้องยอมรับเลยว่าพวกเรามักจะช้าไป 6-12 เดือน นั่นคือจุดประสงค์ของการประชุม (ที่ปารีส) ในวันนี้ ทุกสิ่งเป็นไปได้หากมีประโยชน์ในการบรรลุเป้าหมายร่วมกันของเรา” มาครงกล่าว
ประเด็นหลักที่หารือในการประชุมกลุ่มผู้นำสหภาพยุโรปในปารีส ซึ่งมีตัวแทนของ “อังกฤษ” และ “สหรัฐอเมริกา” ซึ่งเป็นคนนอกเข้าร่วมด้วยคือ การหาวิธีจัดหากระสุนให้ยูเครน ประเทศในสหภาพยุโรปยังไม่สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีในการจัดหาและจัดซื้อกระสุนในประเทศที่สาม
สาธารณรัฐเช็กซึ่งริเริ่มโครงการดังกล่าวรายงานว่า 15 ประเทศ ได้ร่วมลงนามข้อตกลงในการจัดซื้อกระสุนภายใต้โครงการดังกล่าว นายกรัฐมนตรีเช็ก “ปีเตอร์ ฟิอาลา” กล่าวว่า แนวร่วมเดียวกันนี้จะถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อจัดหาขีปนาวุธพิสัยไกลให้กับยูเครนด้วยเช่นกัน
ดูเหมือนว่า “มาครง” กำลังทำตามสัญญาที่ทำไว้กับ “เซเลนสกี” ในเรื่องรับประกันความมั่นคงให้กับยูเครน โดยดูแล้วเขาพยายามดึงคนอื่นในยุโรปมาร่วมแบ่งเบาภาระช่วยยูเครนด้วยกันในฐานะ “ผู้กอบกู้วิกฤต” เพราะด้านการเมืองภายในประเทศของฝรั่งเศสเองก็กำลังตึงเครียดหนัก ตัวเขากำลังมีปัญหารุมเร้าโดนเพ่งเล็งจากฝ่ายค้าน อย่างเช่นที่เห็นเด่นตอนนี้คือ ปัญหาเกษตรกรในประเทศที่ไม่พอใจท่าทีและนโยบายของรัฐบาลที่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อพวกเขา อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบทความที่ทางเพจได้เคยลงไว้ตามลิงก์ด้านล่างนี้
2
เรียบเรียงโดย Right Style
27th Feb 2024
  • แหล่งข่าวอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: The Economist>
โฆษณา