28 ก.พ. เวลา 03:00 • การตลาด

ทำไม ข้าวกล่อง 7-Eleven ในภาคใต้ มีข้าวสะตอผัด แต่ในกรุงเทพฯ ไม่มี

เชื่อไหมว่าถ้าเราเดินไปซื้อข้าวกล่อง 7-Eleven ในสาขาภาคใต้
เราจะเจอเมนูข้าวกล่องแปลก ๆ ที่สาขาในกรุงเทพฯ ไม่มี
ยกตัวอย่างเช่น “ข้าวสะตอผัดไก่และกุ้ง” ตามภาพประกอบของบทความนี้
และไม่ใช่แค่ 7-Eleven ในภาคใต้เท่านั้น..
เพราะใน 7-Eleven ที่อยู่ภาคเหนือ ก็จะมีเมนูข้าวกล่องแปลก ๆ ที่สาขาในกรุงเทพฯ ไม่มีเหมือนกัน
เช่น “ขนมจีนน้ำเงี้ยว” และ “ข้าวซอยไก่”
คำถามคือ ทำไม 7-Eleven ถึงต้องทำเมนูพิเศษแบบนี้มาขายเฉพาะพื้นที่ด้วย
ทั้ง ๆ ที่ในเมื่อพัฒนาเมนูมาแล้ว.. ก็น่าจะทำขายให้เหมือนกันทั่วประเทศไปเลย ? เรามาดูเหตุผลกัน
ด้วยความที่ 7-Eleven เป็นร้านสะดวกซื้อที่มีสาขามากกว่า 14,000 สาขา กระจายอยู่ทุกภาคในประเทศไทย
มันจึงยากมากที่ 7-Eleven จะขายสินค้าแบบเดียวกัน แล้วตอบโจทย์ผู้บริโภคในทุกพื้นที่ได้หมด
7-Eleven เลยมีการใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า “Product Assortment” หรือก็คือการปรับสินค้าให้เข้ากับพฤติกรรมของลูกค้าในแต่ละพื้นที่
ยกตัวอย่างเช่น
- 7-Eleven สาขาในโรงพยาบาล ก็จะมีสินค้าที่เหมาะกับคนป่วยหรือผู้สูงอายุ
- 7-Eleven สาขาที่ใกล้ทะเล ก็จะมีผลิตภัณฑ์บำรุงผิว หรือครีมกันแดดเยอะหน่อย
พอเป็นแบบนี้ “อาหารแช่แข็ง” ที่จะนำเข้ามาขายใน 7-Eleven เลยจะแตกต่างกัน
ตามพื้นที่ต่าง ๆ ที่ 7-Eleven เห็นว่าเหมาะกับคนในแต่ละพื้นที่ด้วยเช่นกัน
ทำให้ 7-Eleven ที่ภาคเหนือ ก็จะมีอาหารเหนือ ที่ 7-Eleven คิดว่าเหมาะกับคนภาคเหนือ อย่าง ข้าวซอย หรือน้ำเงี้ยว วางจำหน่าย
ส่วน 7-Eleven ที่ภาคใต้ ก็จะมีอาหารใต้ ที่ 7-Eleven คิดว่าเหมาะกับคนภาคใต้ อย่าง ผัดสะตอ วางจำหน่ายด้วยนั่นเอง
2
ทีนี้ในเมื่ออุตส่าห์พัฒนาเมนูพวกนี้มาแล้ว ทำไม 7-Eleven ถึงไม่นำเมนูเหล่านี้มาวางจำหน่ายทั่วประเทศไปเลย ?
คำตอบคือ เรื่องของ “การผลิต”
เพราะข้าวกล่องแช่แข็งที่ขายอยู่ใน 7-Eleven จะถูกผลิตโดย
บริษัท ซีพีแรม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ CPALL เจ้าของ 7-Eleven อีกที
ซึ่งซีพีแรม จะมีโรงงานอยู่ 7 แห่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย คือ
ลาดหลุมแก้ว, บ่อเงิน, ลาดกระบัง, ชลบุรี, ขอนแก่น, ลำพูน และสุราษฎร์ธานี
2
โดยโรงงานแต่ละแห่งจะมีหน้าที่ผลิตอาหารแช่แข็งและเบเกอรี
คอยป้อน 7-Eleven ในสาขาใกล้เคียง รวมไปถึงคิดค้นเมนูใหม่ ๆ ที่เหมาะกับคนในแต่ละพื้นที่ด้วย
 
ซึ่งคุณวิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด ก็ได้เคยให้สัมภาษณ์กับสื่อเอาไว้ว่า
3
70% ของเมนูอาหารที่ ซีพีแรม ผลิตจะเหมือนกันทั่วประเทศ ซึ่งเรียกว่า “เมนู Nationwide” หรือ เมนูทั่วไป
เช่น ข้าวกะเพราหมูสับ, ข้าวผัดไก่เกาหลี หรือข้าวไข่เจียวกุ้ง
ส่วนอีก 30% ที่เหลือจะเป็น “Local Menu” หรือ เมนูเฉพาะคนในท้องถิ่น
1
ดังนั้นโรงงานที่ภาคเหนือ จะผลิต ข้าวซอย และน้ำเงี้ยว สำหรับส่ง 7-Eleven ในภาคเหนือ
5
ส่วนโรงงานที่ภาคใต้ จะผลิต ข้าวสะตอผัดไก่และกุ้ง สำหรับส่ง 7-Eleven ในภาคใต้
4
เรื่องนี้จึงอธิบายได้ว่า ทำไม 7-Eleven ที่กรุงเทพฯ ถึงไม่มี ข้าวสะตอผัดไก่และกุ้ง
เพราะการจะส่งสินค้าที่ผลิตจากภาคใต้มาที่กรุงเทพฯ นั้น ก็อาจจะเป็นระยะทางที่ไม่คุ้มกับค่าขนส่ง
แถม 7-Eleven ก็อาจจะมองว่าคนกรุงเทพฯ ไม่ได้ชอบเมนูที่มีส่วนประกอบของสะตอขนาดนั้น
เป็นการ Customize สินค้าให้เหมาะกับคนในแต่ละพื้นที่ให้ได้มากที่สุดนั่นเอง..
อ่านมาถึงตรงนี้ ก็น่าสนใจว่ากลยุทธ์ดังกล่าว น่าจะช่วยเพิ่มสีสันให้ 7-Eleven
แต่ละสาขาได้ไม่มากก็น้อย
2
อย่างในเชิงการท่องเที่ยว ก็เหมาะกับนักท่องเที่ยวที่อยากลองกินอาหารท้องถิ่น ในรูปแบบแช่แข็งที่หากินแถว 7-Eleven ที่บ้านไม่ได้ง่าย ๆ
นอกจากนี้ในแง่ของคนท้องถิ่นเอง
เมนูพิเศษเหล่านี้ ก็จะมาช่วยแก้ปัญหาของคนที่อยากกินอาหารท้องถิ่น แต่ร้านปิดตอนดึก ๆ ได้เหมือนกัน..
1
โฆษณา