7 มี.ค. เวลา 23:05 • สุขภาพ

ปฐมพยาบาล "โรคลมแดด (Heatstroke)" ทำอย่างไรในช่วงอากาศร้อนจัด

สารภาพตามตรงเลยว่า ช่วงนี้ไม่อยากจะเดินไปทำงานเลยครับ ร้อนจนไม่รู้จะร้อนอย่างไร แทบไม่อยากจะอยู่กล้างแจ้งเลย ซึ่งเรื่องนี้ผมไม่ได้คิดไปเองแนะนอน เพราะที่โรงพยาบาลก็เริ่มมีเคสฮีสโตรคบ้างแล้ว เลยคิดว่าอยากให้ทุกคนคอยระวัง สังเกตตนเอง และรู้วิธีการที่เหมาะสมในการปฐมพยาบาลหากต้องเจอกับโรคลมแดดหรือฮีสโตรค
ว่าแต่ลมแดด "ฮีสโตรค(Heatstroke)" คืออะไร
โรคลมแดดเกิดจากความพยายามของร่างกายที่พยายามจะทำให้อุณหภูมิภายนอกและภายในร่างกายอยู่ในสมดุลให้ได้มากที่สุด ปกติอุณหภูมิร่างกายเราจะอยู่ที่ 36-37.5 องศาเซลเซียส แต่พอเจอกับสภาพอากาศร้อนๆ ร่างกายก็จะพยายามหาทางจัดการกับความร้อน ร่างกายจะปรับตัว
โดยมีการสูบฉีดโลหิตเพิ่มขึ้น หัวใจเต้นแรงขึ้น เลือดจะไปเลี้ยงที่ผิวหนังมากขึ้น เส้นเลือดที่ผิวหนังขยายตัว ต่อมเหงื่อทำงานมากขึ้น ทำให้มีเหงื่อออกมากร่างกายก็จะเสียน้ำ พอร่างกายขาดน้ำมากๆ ร่างกายจะนำเลือดไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญแทน พอถึงจุดนึงเลือดก็จะไปเลี้ยงไม่พอ จากนั้นไต ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่มีหน้าที่กรองของเสีย และกำจัดเกลือแร่ ก็จะทำงานหนักของเสียในร่างกายก็คั่งค้าง ทำให้การทำงานของไตผิดปกติเฉียบพลัน
โดยผู้ป่วยจะมีภาวะผิดปกติของเหงื่อ อาจจะไหลมากกว่าปกติ หรือแทบไม่ไหลเลย ทั้งที่อากาศร้อนมาก วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด คล้ายเป็นลม แต่ไม่ใช่ เนื่องจากคนที่เป็นโรคลมแดดตัวจะแห้ง เนื่องจากเหงื่อออกไปเยอะจนไม่มีจะออกแล้ว และตัวจะร้อนมากอุณหภูมิร่างกายพุ่งสูงมาก อาจสูงขึ้นมากกว่า 40 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว เมื่อตัวร้อนมากๆจะทำให้เกิดอาการชัก และอาจเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการปฐมพยาบาลและรับการรักษาอย่างทันท่วงที
หากมีอาการหรือพบผู้มีอาการเสี่ยงที่จะมีภาวะลมแดด ให้รีบนำตัวเข้าที่ร่ม กันคนที่ห้อมล้อมผู้ป่วยออก เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกขึ้น นอนศีรษะราบ ยกขาสูงทั้งสองข้าง โดยหาของมารองปลายเท้า เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้ดีขึ้น
คลายเสื้อผ้าที่รัดแน่น ปลดเข็มขัด ถอดรองเท้า ถุงเท้า ถอดเครื่องประดับที่ไม่จำเป็นออก
1
จากนั้นใช้ผ้าชุบน้ำเย็น หรือน้ำอุณหภูมิห้อง เช็ดใบหน้า ลำตัว ท้ายทอย และข้อพับ โดยการเช็ดทวนรูขุมขนขึ้นไป เช็ดแบบทางเดียว หรือใช้น้ำแข็งประคบที่ซอกคอ ขาหนีบ รักแร้ จากนั้นรีบนำตัวส่งโรคพยาบาลโดยด่วน
แล้วจะป้องกันตัวเองไม่ให้เสี่ยงมีภาวะลมแดดได้อย่างไร
  • 1.
    หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดนานๆ หรือห้องปิดที่มีความร้อนสูงอากาศไม่ถ่ายเท โดยเฉพาะเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่างๆ
  • 2.
    ดื่มน้ำและพักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • 3.
    ไม่สวมเสื้อผ้าแน่น รัด ระบายอากาศได้ไม่ดี
  • 4.
    หากจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง แล้วมีอาการที่คล้ายกับลมแดด ควรหยุดพักเป็นระย และสังเกตความผิดปกติของร่างกาย
อ้างอิง
โฆษณา