23 มี.ค. เวลา 05:00 • ไลฟ์สไตล์

หลีกหนี "เศรษฐีฟ้าแลบ"

ความร่ำรวยที่เกิดขึ้นอย่างทันด่วนจากการถูกหวย หรือได้รับมรดก เป็นเรื่องของโชคที่น่ายินดี แต่อีกมุมหนึ่งก็สร้างปัญหาให้แก่ผู้รับและครอบครัวอย่างมาก
[เรื่อง: ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ | อาหารสมอง]
2
งานวิจัยของสหรัฐ พบว่า 70% ของผู้ที่ร่ำรวยอย่างทันด่วนนั้นเป็น “เศรษฐีฟ้าแลบ” เพราะภายใน 2-3 ปี ก็กลับมาอยู่ในสภาพเดิม ทำอย่างไรให้ “เศรษฐีใหม่” อย่างน้อย 2,400 คนต่อปีของสังคมไทย เป็น “เศรษฐีฟ้าแลบ” น้อยคนที่สุด ข้อแนะนำมีดังนี้
💸 อย่าบอกใครเมื่อเป็น “เศรษฐีใหม่” เพราะจะทำให้เกิดความวุ่นวายในชีวิตอย่างตั้งตัวไม่ติด โชคครั้งนี้ต้องการเวลาเพื่อตั้งสติ เพื่อไตร่ตรองอย่างรอบคอบ
3
💸 ใช้หนี้เก่าให้หมด ถ้าหากจะเป็น “เศรษฐีฟ้าแลบ” กันในที่สุดอย่างน้อยก็ใช้หนี้เก่าให้หมด เมื่อกลับมาเหมือนเดิมก็จะมีภาระน้อยลง
💸 ลงทุนในตนเองอย่างรวดเร็วด้วยการเรียนรู้เรื่องเงินทอง การลงทุน การใช้จ่ายเงิน การทำมาหากิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรู้จักหลักการสำคัญคืออย่าลงทุนกับเพื่อนที่มาชวน อย่าให้เพื่อนยืมเงิน (ให้ไปเลยเท่าที่ให้ได้อาจได้ความรักกลับมาแทนสัมพันธภาพที่จะหายไปเพราะเปลี่ยนจากเพื่อนเป็นลูกหนี้)
1
💸 มีเป้าหมายของการใช้เงิน ข้อคิดสำคัญก็คือโชคครั้งนี้เปรียบเสมือนได้ต้นไม้ใหญ่มาครอบครอง วัตถุประสงค์ที่ควรจะเป็นก็คือการดูแลต้นไม้นี้ให้เติบโตแข็งแรง ให้ความร่มเย็น มีผลไม้ให้เก็บกิน และตัดเวียนเอาไม้ไปขาย โดยดูแลให้มันอยู่ยั่งยืนไปตลอด
1
💸 ศึกษาประวัติศาสตร์ดูกรณีศึกษาของนักกีฬาและดาราดัง ผู้เคยโชคดีมีเงินมากแบบเดียวกันว่าจบลงแบบใดด้วยสาเหตุใด
💸 หาประโยชน์จากโชคให้มากที่สุด ต้องใช้เงินจากโชคนี้ให้เป็นการลงทุนที่สร้างความยั่งยืน เช่น ให้ลูกเรียนหนังสือ ลงทุนในตัวเองและครอบครัวในการเรียนรู้ทักษะและความรู้ใหม่ๆ ลงทุนโดยใช้บริการธนาคารที่ฝากเงินไว้ที่มีหน่วยให้คำแนะนำในการลงทุนเพื่อได้รับดอกผลที่มั่นคง
💸 จงให้เท่าที่สามารถจะให้ได้ โดยไม่ทำลายวัตถุประสงค์หลักของการใช้เงินก้อนนี้การให้ที่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านบวกต่อไปไกลควรใคร่ครวญ
เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมพบว่ามนุษย์จะใช้เงินที่ได้มาง่ายๆ เช่นนี้อย่างไม่ระมัดระวัง เสมือนเก็บเงินไว้ในลิ้นชักของซีกสมองด้านหนึ่ง ส่วนเงินที่ได้มาจากหยาดเหงื่อนั้นจะอยู่ในลิ้นชักอีกด้านที่จะคิดอย่างรอบคอบในการใช้ ดังนั้น แท้จริงแล้วคนเหล่านี้จึงต้องต่อสู้กับความเป็นจริงตามธรรมชาติของการใช้เงินของมนุษย์ ผู้ชนะจึงมีจำนวนน้อย
1
โฆษณา