14 มี.ค. เวลา 13:11 • ความคิดเห็น

Management Model

คุณบุญคลี ปลั่งศิริ อดีตซุปเปอร์ซีอีโอของไทยและปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทใหญ่หลายแห่ง เคยสอนในหลักสูตร Base ให้ผู้ประกอบการได้ทบทวนอยู่เสมอว่าตัวเองได้คิดได้วิเคราะห์ถ่องแท้ถึง 3 model หลักในการทำธุรกิจหรือไม่
3 model หลักๆในการทำธุรกิจนั้นประกอบด้วย business model, financial model และ management model
1
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คงจะเคยได้ฟังและคิดเรื่อง business model ที่ต้องเข้าใจว่าธุรกิจเรานั้นทำเงิน (make money) จากอะไร และต้องเข้าใจเรื่อง financial model ทั้งงบดุล งบกำไรขาดทุนและการบริหารจัดการเงินสด เป็นพื้นฐานสำคัญของการทำธุรกิจทั่วไปอยู่แล้ว แต่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะไม่ค่อยคิดถึง management model ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการทำให้การทำธุรกิจไปถึงเป้าหมายได้
2
คุณบุญคลีตั้งคำถามตั้งแต่เรื่องง่ายๆในชีวิตประจำวันว่า วันทำงานทั่วไปนั้นเราได้มีหลักในการเริ่มแต่ละวันหรือไม่ หรือว่าเราไปถึงที่ทำงานก็ประชุมเลย ดูว่าใครใส่ตารางอะไรก็ประชุมไปเรื่อยๆ หรือนึกอะไรออกก็เรียกคนที่เกี่ยวข้องมา จดอะไรไว้ก็ตามๆเท่าที่นึกได้ในตอนนั้น ประชุมไปใครกำหนดเวลาเท่าไหร่ก็นั่งกันจนครบเวลาแล้วก็ไปประชุมอันถัดไป อย่างนั้นไม่เรียกว่ามี management model ใดๆเลย
1
Management model ของคุณบุญคลีหมายถึงหลักและวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการขององค์กรในแต่ละวัน เราอาจจะมี business model มียุทธศาสตร์ มีการวางแผนการเงินที่ชัดเจน แต่จะทำให้แผนต่างๆนั้นมีประสิทธิภาพ การมี model ในการทำงานในแต่ละเรื่องนั้นจำเป็นมากๆ
1
คุณบุญคลีมีลิสต์ให้คิดถึงแต่ละเรื่องตั้งแต่ organization chart ขั้นตอนลำดับ command การประชุม หลักในการมอบอำนาจ กฎระเบียบบริษัทในด้านต่างๆ การสื่อสารภายใน ระบบ merit แม้แต่ routine ประจำวันว่าวันไหน เวลาไหนต้องเน้นอะไรทำอะไรเพื่ออะไร ไม่ใช่ปล่อยทุกอย่างตามอารมณ์ในแต่ละวัน
คุณบุญคลีเคยยกตัวอย่างเรื่อง organization chart ไว้ว่า organization chart ควรจะดูแล้วตอบสนองยุทธศาสตร์องค์กร ไม่ใช่เรียงแค่เหมือนกับบริษัทอื่นๆ มีฝ่ายการตลาด ฝ่ายขาย ฝ่ายบุคคล เท่านั้น คุณบุญคลีเคยถามผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจที่เปลี่ยนเครื่องยนต์ของรถจากน้ำมันเป็นแก๊สว่า จุดแข็งและสิ่งที่สำคัญที่สุดของธุรกิจของน้องคนนั้นคืออะไร น้องเขาตอบว่า safety หรือความปลอดภัย ซึ่งก็สมเหตุสมผล แต่พอดู organization chart กลับเห็นฝ่าย safety เป็นหน่วยงานเล็กๆอยู่ใต้ฝ่ายขาย
ซึ่งในความเป็นจริงแล้วก็ไม่ตรงกับ business model ที่เราพยายามทำเงินจากการเปลี่ยนเครื่องยนต์ให้ปลอดภัยที่สุด ไม่ได้ให้ความสำคัญอะไรกับสิ่งที่คิดว่าสำคัญที่สุดของธุรกิจเลย ถ้าเห็นว่าสำคัญจริง ฝ่าย safety ฝ่าย QC ต้องไม่อยู่ใต้ฝ่ายขายเพราะถ้าเอาขายเป็นหลัก อาจจะทำให้ความปลอดภัยถูกละเลยได้ ฝ่าย safety ควรจะขึ้นตรงกับ CEO เพราะเป็นยุทธศาสตร์ของบริษัทเป็นต้น
1
ในองค์ประกอบที่คุณบุญคลีให้ตัวอย่างของ management นั้นน่าคิดตามว่าเรามีหลักการในทุกประเด็นนั้นหรือไม่ แม้แต่เรื่องที่ชอบถูกมองข้ามอย่างการประชุม ซึ่งเอาจริงๆแล้ว การประชุมนั้นคือเวลาส่วนใหญ่ของการทำงานของผู้บริหารเลยด้วยซ้ำ
ในเรื่องนี้ พี่เจี๊ยบ ปฐมา จันทรักษ์ เบอร์หนึ่งของ accenture เมืองไทย เคยให้หลักของการประชุมที่ดีที่หัวหน้านำประชุมต้องทบทวนว่าการประชุมสำคัญในแต่ละครั้งมีองค์ประกอบสี่อย่างนี้หรือไม่
อย่างแรกที่พี่เจี๊ยบบอกก็คือการประชุมต้องมีการพูดคุยกันทุกคน (discuss) ไม่ใช่หัวโต๊ะมาถึงก็พูดคนเดียว ไม่รู้ว่าคนอื่นคิดอย่างไร และต้องมีการถกเถียงกันได้ถึงประเด็นต่างๆ (debate)
รวมไปถึงสามารถที่ไม่เห็นพ้องต้องกันได้ (disagree) เพื่อให้ได้ฟังความเห็นรอบด้าน และทำให้ผู้เข้าประชุมสามารถแสดงความเห็นได้เต็มที่ และสุดท้ายพอได้คุย ได้เถียง ได้เห็นด้วยไม่เห็นด้วยแล้ว หัวหน้าก็ต้องตัดสินใจ (decide) เพื่อให้มีข้อสรุปที่ชัดเจนและทุกคนก็แยกย้ายไปดำเนินการต่อได้ องค์ประกอบเหล่านี้จึงจะทำให้การประชุมแต่ละครั้งได้อะไรออกจากที่ประชุมโดยไม่เสียเวลาซึ่งเป็นทรัพยากรอย่างหนึ่งของบริษัท
2
เนลสัน แมนเดลา ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของโลกเคยตอบคำถามถึงเคล็ดลับของผู้นำที่เขายึดถือว่าเขาเรียนจากพ่อผู้ที่เคยเป็นหัวหน้าเผ่ากลางๆในประเทศแอฟริกาใต้ว่าในการประชุมสำคัญทุกครั้ง พ่อเขาจะพูดคนสุดท้ายเสมอ
1
ซึ่งในการที่ผู้มีอำนาจสูงสุดพูดเป็นคนสุดท้ายนั้นนอกจากจะช่วยให้เกิด discuss debate และ disagree โดยที่ไม่ต้องเกรงใจหัวโต๊ะแล้ว ยังเป็นการฝึกภาวะผู้นำในการ “ฟัง” อย่างรอบด้านเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีกว่าได้ ซึ่งพูดง่ายทำยากมากสำหรับผู้มีอำนาจในห้องเสมอ
Management model ของคุณบุญคลีจึงน่าเอาไปทบทวนเป็นอย่างยิ่งว่าเราได้คิด ได้มีหลักในแต่ละเรื่องครบถ้วนหรือไม่ แม้แต่ข้อสุดท้ายคือ daily routine ที่หลายคนไม่ได้มีแผนอะไรชัดเจน มาถึง office ก็ค่อยคิดเอา เจอตารางประชุมที่เลขาใส่มาก็ว่าตามนั้น daily routine ของเรานั้นควรจะพยายามทำอะไรที่สำคัญก่อน เอาเวลาไปใช้ในเรื่องที่จำเป็นและซีเรียสต่อเป้าหมายก่อน แล้วค่อยไล่ตามสิ่งที่สำคัญในลำดับถัดมา
1
พี่กบ อภิพรรณ แห่งเงินไชโยจะใช้เวลาทุกเช้าสองชั่วโมงในการซูมกับพนักงานสาขาเพื่อเทรนพนักงานหน้างานแล้วค่อยทำอย่างอื่น คุณซิกเว่ เบรกเก้ สมัยทำงานดีแทคจะมีช่วงเวลาหนึ่งชั่วโมงว่างตอนบ่ายเพื่อนั่งคิดโน่นนี่ และใช้เวลาสองวันต่ออาทิตย์ในการเดินเยี่ยมร้านค้าสร้างสัมพันธ์และเพื่อหาไอเดียใหม่ๆ
1
จิ๊บ สมยศแห่ง JIB จะใช้เวลาช่วงบ่ายโทรหาผู้จัดการร้านที่เขาดูจากรายงาน realtime ว่ายอดไม่ค่อยดีเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้ทันช่วงเย็น หรือผมเคยเจอเจ้านายฮ่องกงโหดๆที่ประชุมแรกคือการไล่ยอดขายแต่ละร้านเมื่อวานพร้อมสาเหตุว่าทำไมถึงขายดีหรือไม่ดี เหล่านี้เป็น daily routine ที่เราควรจะวางแผนในธุรกิจตัวเองว่าอะไรสำคัญเช่นกัน
1
คิด business model แล้ว financial model แล้ว อย่าลืมทบทวน management model กันด้วยนะครับ….
โฆษณา