16 มี.ค. เวลา 02:55 • ประวัติศาสตร์

🙏🥰🙏❤️💛💜ไขปริศนาพระที่นั่งเบญจรัตน์มหาปราสาท ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยาครับ🙏🥰🙏❤️💛💜

🙏🥰🙏ก่อนอื่นต้องขอแจ้งก่อนว่าเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลนะครับ🙏🥰🙏
💕💕💕ไขปริศนาพระที่นั่งเบญจรัตน์มหาปราสาท (หรือเปล่า)💕💕💕
=💛เรื่องเดิม💛= ในบันทึกต่าง ๆ จะกล่าวถึงพระที่นั่งเบญจรัตน์มหาปราสาท มีนามเดิมเมื่อแรกสร้างว่า "พระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาทสุริโยภาษวรา" สร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
=💛ข้อเท็จจริง💛= ไม่ทราบตำแหน่งที่ตั้งแน่ชัด และยังคงอยู่ต่อมาถึงหลังปรากฎพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์หรือไม่ (ถ้ามีช่วยแจ้งด้วยครับ ค้นไม่เจอ)
=💛ข้อพิจารณา💛=
💜💜💜เหตุเกิดเพราะความขี้เกียจเมื่ออยากจะจำลองพระที่นั่งเบญจรัตน์มหาปราสาท พออ่านรายละเอียดแล้วรูปทรงคล้าย ๆ พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ เลยนำพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์มาเป็นโมเดลเริ่มต้น ผลออกมาตามแบบจำลองครับ💜💜💜
❤️❤️❤️พอค้นหาข้อมูลตำแหน่งที่ตั้ง ก็พบว่ามีข้อสันนิษฐานว่า ตำแหน่งอาจจะตั้งในตำแหน่งพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ หรือตำแหน่งพระมหามณเฑียร(ตรงพระที่นั่งตรีมุข) หรือตรงสวนไพชยนต์เบญจรัตน์(บริเวณหน้าตำหนักคูหาสวรรค์) พอทดลองวางตำแหน่งต่าง ๆ แล้ว สองแห่งแรกพื้นที่ไม่พอผังทั้งหมดครับ ส่วนบริเวณสวนไพชยนต์เบญจรัตน์ไม่มีฐานรากเหลือปรากฎ เพราะ จากคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม กล่าวว่า
"...พระมหาปราสาทแลฝามุขใหญ่นั้นเป็นผนังปูนทารัก ประดับกระจกปิดทองคำเปลว..." ตัวมหาปราสาทต้องมีฐานรากใหญ่โตพอสมควรสำหรับรองรับผนังปูนได้ แต่ยังไม่ปรากฎฐานรากในบริเวณดังกล่าวครับ❤️❤️❤️
💛แล้วจากแผนผังวังหลวง ในหนังสือสถาปัตยกรรมในสถาบันพระมหากษัตริย์ เรียบเรียงโดย นายประทีป เพ็งตะโก แบ่งพระราชวังหลวงแห่งกรุงศรีอยุธยามีพัฒนาการการใช้พื้นที่เป็น ๓ ระยะ คือ
๑. ระยะแรก ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ถึงรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ รวม ๙๘ ปี โดยเป็นช่วงที่พระราชวังหลวงตั้งอยู่บริเวณวัดพระศรีสรรเพชญ์ ช่วงแรกพระราชวังหลวงน่าจะประกอบด้วยพระที่นั่งอย่างน้อย ๕ องค์ ที่ล้วนสร้างด้วยไม้ คือ
- พระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาท
- พระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาท
- พระที่นั่งไอศวรรย์มหาปราสาท
และ - พระที่นั่งตรีมุข
๒. ระยะที่สอง ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลก ถึงรัชกาลสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ รวม ๑๘๒ ปี สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงยกเขตพระราชวังเดิมให้เป็นเขตพุทธาวาส และสร้างพระราชวังใหม่ชิดไปทางด้านเหนือริมแม่น้ำลพบุรี ในช่วงนี้จะประกอบไปด้วยพระที่นั่งองค์สำคัญได้แก่
- พระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาท
- พระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาท
- พระที่นั่งวิหารสมเด็จ ทั้งนี้ ส่วนพระราชวังมีกำแพงกั้นกับวัดพระศรีสรรเพชญ์
๓. ระยะที่สาม ตั้งแต่รัชกาลของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ถึงสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ รวม ๑๓๗ ปี เป็นช่วงที่บ้านเมืองรุ่งเรืองอย่างมาก มีการขยายพระราชวังออกไปทุกทิศทุกทาง ด้านเหนือจรดกำแพงเมือง ด้านตะวันออกจรดท้ายวัดธรรมิกราช ด้านใต้จรดวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระราชวังมีกำแพงสูง ๔ เมตร มีป้อม ๘ ป้อม ประตูบก ๒๐ ประตู ประตูน้ำ ๒ ประตู และช่องกุด ๑ ช่อง ภายในพระราชวังประกอบด้วย
- พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ตั้งอยู่ด้านเหนือสุด
- พระคลังมหาสมบัติ (ด้านใต้ลงมา)
- พระที่นี่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์ตั้งอยู่พระราชฐานชั้นนอกเป็นที่ประทับทอดพระเนตรฝึกพลสวนสนาม
- พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์เป็นที่ประทับท้ายพระราชวัง
- พระตำหนักตึกเป็นที่ประทับของพระมเหสี
- พระที่นั่งทรงปืน
- ตำหนักสวนกระต่าย
- ตำหนักสระแก้ว
- ตำหนักศาลาลวด
- ถังประปา
❤️❤️❤️ตามแผนผังวังหลวง ในระยะที่สอง บริเณสระน้ำ (ตรงพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์) มีพื้นที่พอเหมาะพอเจาะ ตัวโมเดลมหาปราสาทของพระที่นั่งเบญรัตนมหาปราสาท ก็ตรงกับพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์เสียด้วย หากจินตนาการว่า ตรงสระน้ำเดิมไม่ใช่สระน้ำ แต่เป็นพื้นดินทั้งหมด (ตามคลิป) ภายหลังมีการรื้ออาคารโดยรอบ เหลือไว้แต่มหาปราสาท แล้วขุดคูโดยรอบแบบที่เห็นปัจจุบัน ก็จะกลายเป็น พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ นั่นเองครับ ❤️❤️❤️
💜จากคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม กล่าวเกี่ยวกับพระที่นั่งเบญรัตนมหาปราสาทว่า
" อนึ่งพระที่นั่งเบญรัตนมหาปราสาทนั้นมียอดมณฑปห้ายอด มีมุขศรสี่ชั้นเสมอกันทั้งสี่ด้าน มีมุขยาวออกมาจากมุขใหญ่ทั้งสี่ด้าน แต่มุขยาวทั้งสี่ด้านนั้น หน้ามุขทั้งสี่ด้านเป็นจตุรมุขมียอดมณฑปทุกมุขเป็นสี่ยอด แต่พื้นมุขทั้งสี่ด้านต่ำเป็นท้องพระโรงทั้งสี่ด้าน สำหรับเสด็จออกว่าราชการตามระดูทั้งสามระดูสามมุข แต่มุขด้านหลังเป็นมุขฝ่ายในสำหรับเสด็จออกว่าราชการฝ่ายใน ฝ่ายพระมหาปราสาทแลฝามุขใหญ่นั้นเป็นผนังปูนทารัก
ประดับกระจกปิดทองคำเปลวเป็นลายทรงเข้าบิณฑ์ ใต้พระบัณชรเป็นรูปสิงห์ทุกช่อง ซุ้มจระนำพระบัญชรเปนรูปพรหมภักตร์ทุกช่อง ถานปัตพระมหาปราสาทเป็นรูปปั้น ชั้นต้นเป็นกุมภัณฑ์ ชั้นสองเปนรูปครุธจับนาค ชั้นสามเปนรูปเทพนมถวายกร จึงถึงชั้นรูปสิงหรับพระบัญชร บางพระบัญชรจำลักเป็นรูปเทพบุตรแลเทพธิดาเป็นคู่กันกันทุกช่อง บานพระทวารเป็นรูปนายน์สิบปาง บานละปาง มีทิมคตล้อมรอบพระมหาปราสาท มีประตูด้น ๑ พระมหาปราสาทองค์นี้เปนที่ทรงพิภาคษาตราสินคดี แลกิจการพระนครสำคัญเป็นที่ประชุมใหญ่ฝ่ายมหามาตยาธิบดี "
❤️❤️❤️หากเราอ่านคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ที่คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์และจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จัดพิมพ์ “เอกสารจากหอหลวง” เรื่อง คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เป็นเอกสารที่เกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในช่วงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ น่าจะได้รับการคัดลอกและเรียบเรียงมาจากต้นฉบับในหอหลวง นั้น ก็บรรยายพระที่นั่งต่าง ๆ ผสมกัน โดยบางครั้งไม่ได้ลำดับเรื่องเวลาที่ก่อสร้าง ❤️❤️❤️
❤️❤️❤️เบื้องต้นสรุปว่าขอ จินตนาการ สันนิษฐาน เป็นอีกข้อสังเกตหนึ่งของตำแหน่งที่ตั้งของพระที่นั่งเบญรัตนมหาปราสาท นอกจากที่มีผู้สันนิษฐานไปแล้ว อาจจะอยู่ในตำแหน่งเดียวกับพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ โดยมหาปราสาทหลักยังคงอยู่ต่อมาเป็นพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ อาคารโดยรอบถูกรื้อถอนแล้วขุดคูโดยรอบเป็นแบบที่เห็นในปัจจุบันในภายหลังครับ❤️❤️❤️
โฆษณา